ข้ามไปเนื้อหา

บ่อหาน

พิกัด: 21°12′25″N 101°42′10″E / 21.20694°N 101.70278°E / 21.20694; 101.70278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บ่อหาน

磨憨 ᨷᩳ᩵ᩉᩣ᩠ᩁ
ด่านบ่อหาน (Mohan Checkpoint)
ด่านบ่อหาน (Mohan Checkpoint)
บ่อหานตั้งอยู่ในมณฑลยูนนาน
บ่อหาน
บ่อหาน
ที่ตั้งในประเทศจีน
บ่อหานตั้งอยู่ในประเทศจีน
บ่อหาน
บ่อหาน
บ่อหาน (ประเทศจีน)
พิกัด: 21°12′25″N 101°42′10″E / 21.20694°N 101.70278°E / 21.20694; 101.70278
ประเทศ จีน
มณฑลยูนนาน
จังหวัดสิบสองปันนา
อำเภอเมืองล้า
พื้นที่
 • ทั้งหมด803 ตร.กม. (310 ตร.ไมล์)
ความสูง850 เมตร (2,790 ฟุต)
ประชากร
 • ทั้งหมด18,500 คน
 • ความหนาแน่น23 คน/ตร.กม. (60 คน/ตร.ไมล์)
ทางรถไฟสายคุนหมิง-สิงคโปร์ เส้นสีแดงแสดงทางรถไฟสายอฺวี้ซี-บ่อหานซึ่งต่อไปถึงปักกิ่งเชื่อมกับทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น ที่ชายแดนบ่อหาน (ในมณฑลยูนนานของจีน) – บ่อเต็น (ลาว)

บ่อหาน หรือ หมัวฮาน (จีน: 磨憨镇; พินอิน: Móhān zhèn หมัวฮานเจิ้น; ไทลื้อ: ᨷᩳ᩵ᩉᩣ᩠ᨶ; ลาว: ບໍ່ຫານ อ่านว่า บ่อหาน) เป็นเมืองชายแดนทางตอนใต้ของอำเภอเมืองล้า เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ติดชายแดนลาว-จีน และอยู่ฝั่งตรงข้ามกับหมู่บ้านบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา ประเทศลาว[2] มีความสำคัญในการเป็นหนึ่งในเมืองหน้าด่านการคมนาคมทางบกของภูมิภาคจีนตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนสู่เอเชียอาคเนย์ภาคพื้นทวีป โดยเฉพาะประเทศกลุ่ม CMLV พื้นที่บางส่วนของเมืองบ่อหานเป็นส่วนหนึ่งของเขตความร่วมมือเศรษฐกิจข้ามพรมแดนบ่อหาน (ยูนนาน) – บ่อเต็น (ลาว)[3] ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจพิเศษลาว-จีน ทั้ง 12 แห่ง[4] ในอดีตพื้นที่ชายแดนจีน - ลาว ช่วงบ่อหาน - บ่อเต็น ยังเคยเป็นบ่อเกลือที่สำคัญในบริเวณสิบสองพันนา

ระยะทางจากเมืองเชียงรุ่ง (景洪市 Jinghong) ไปยังด่านบ่อหาน ประมาณ 181 กิโลเมตร [5] และอยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ประมาณ 390 กิโลเมตร[6]

เขตการปกครอง

[แก้]

เขตการปกครองของเมืองบ่อหาน ประกอบไปด้วย [7]

  • บ้านส่างยอง (尚勇村)
  • บ้านส่างกลาง (尚冈村)
  • บ้านจอม (曼庄村)
  • บ้านบ่อหลวง (磨龙村)
  • บ้านลวงมอน (龙门村)
  • เขตกสิกรรมเมืองล้า ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจดำเนินการปลูกสวนยางพารา (国营勐腊农场一分场生活区 - State-owned Mengla Farm)[8]

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ

[แก้]

แหล่งเกลือใต้ดิน

[แก้]

ในอดีตพื้นที่ชายแดนลาว - จีน ช่วงเมืองบ่อหานและใกล้เคียง เป็นแหล่งเกลือใต้ดินขนาดใหญ่ ชาวบ้านแถบนี้มีอาชีพต้มเกลือสินเธาว์มาแต่โบราณ[9][10] เนื่องจากมีชั้นหินเกลือใต้ดินที่หนาและมีความหนาแน่นของความเค็มสูง[11][12] เอกสารราชวงศ์ถังระบุว่าพื้นที่แถบนี้เป็นแหล่งเกลือร้อยบ่อและ "บ่อหาน" (磨憨) หมายถึง "บ่อเกลือที่อุดมสมบูรณ์"[13] แต่ลดความสำคัญลงในภายหลังเมื่อการพัฒนาสร้างเขตเศรษฐกิจข้ามพรมแดน จีน - ลาว

ในการสร้างทางรถไฟสายอฺวี้ซี-บ่อหาน ต่อกับ ทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น ในระหว่างการก่อสร้างโดยการเจาะภูเขาเพื่อทำเป็นอุโมงค์รถไฟเชื่อม 2 ประเทศ ในโครงการเส้นทางรถไฟลาว-จีน งานก่อสร้างต้องสะดุดเป็นระยะ เมื่อบริษัทผู้รับเหมาเจาะเข้าไปเจอกับชั้นเกลือใต้ดิน ซึ่งการเจาะผ่านมีผลกระทบสู่ชุมชนโดยเฉพาะทางฝั่งบ่อเต็นของลาว น้ำเกลือจากอุโมงค์รถไฟไหลลงไปปนเปื้อนในแหล่งน้ำที่ใช้เป็นน้ำดิบสำหรับทำประปา[14]

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดน จีน - ลาว

[แก้]

สภาแห่งรัฐได้อนุมัติเขตนำร่องการพัฒนาของ บ่อหาน เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 นอกจากนี้จีนและลาวได้ลงนามในแผนโดยรวมทั่วไปสำหรับการก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วมข้ามพรมแดนจีน - ลาว (บ่อหาน - บ่อเต็น) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ปีเดียวกัน มีพื้นที่ประมาณ 24 ตร.กม. (ประมาณ 15,000 ไร่) โดยลงทุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ขยายระบบคมนาคมทางถนน และทางราง รวมทั้งศูนย์จัดเก็บและกระจายสินค้า[15]

ปัจจุบันบ่อหานกลายเป็นหน้าด่านสำคัญของการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจซึ่งรวมอยู่ในความริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative) ในส่วนของระเบียงเศรษฐกิจจีน - อินโดจีน และอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

การคมนาคม

[แก้]

ทางบก

[แก้]

บ่อหาน อยู่ทางใต้สุด (กม. ที่ 2,827) ของ ทางหลวงจีนหมายเลข 213 (China National Highway 213) [16] และเป็นจุดสถานีปลายทางทางใต้อยู่ที่ชายแดน จีน - ลาว ของทางด่วนจีนหมายเลข 8511 (ทางด่วนคุนหมิง - บ่อหาน) เมืองชายแดนแห่งนี้มีความสำคัญทางการขนส่งนอกจากเส้นทางทางรถยนต์ผ่านด่านบ่อหานแล้ว[17] ยังเป็นจุดสำคัญของการขนส่งทางรถไฟโดยเป็นจุดเชื่อมบรรจบของเส้นทางรถไฟ 2 สายคือ ทางรถไฟสายอฺวี้ซี-บ่อหาน ทางฝั่งประเทศจีน และ ทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น ทางฝั่งประเทศลาว ซึ่งเป็นเส้นทางที่เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายคุนหมิง-สิงคโปร์ คาดว่าโครงการเส้นทางรถไฟอฺวี้ซี-บ่อหาน และเวียงจันทน์–บ่อเต็น จะเปิดให้ใช้ได้ภายในสิ้นปีพ.ศ. 2564

มีรถประจำทางวิ่งระยะไกลภายในประเทศ จากคุนหมิง เชียงรุ่ง เมืองล้า และรถประจำทางวิ่งระยะไกลระหว่างประเทศ จากเวียงจันทน์ และหลวงพระบางของลาว[18][19]

เส้นทาง สถานีเดินรถ เวลาออกรถ
คุนหมิง - บ่อหาน (668 กม.) สถานีรถประจำทางระยะไกลคุนหมิงใต้ (昆明南部客运站) 12:20, 20:00
คุนหมิง - บ่อหาน (668 กม.)[20] สถานีรถไฟความเร็วสูงคุนหมิงใต้ (昆明高铁南客运中心) 18:00, 20:30, 21:30, 22:00, 22:40
เชียงรุ่ง - บ่อหาน (190 กม.) สถานีรถประจำทางระยะไกลเชียงรุ่ง (景洪客运站) 06:50, 10:40
เมืองล้า - บ่อหาน (52 กม.) สถานีรถประจำทางเมืองล้า (勐腊客运站) ทุก 20-30 นาทีตั้งแต่ 07:00 - 19:00 (07:00, 07:30, 08:00, 08:30,09:20, 09:40, 10:00, 10:20, 10:40, 11:10, 11:30, 11:50, 12:20, 12:40, 13:00, 13:20, 13:50, 14:10, 14:30, 14:50, 15:10, 15:30, 16:00, 16:20, 16:50, 17:20, 17:50, 18:10, 18:30, 19:00)

ทางอากาศ

[แก้]

การคมนาคมทางอากาศ ท่าอากาศยานที่ใกล้บ่อหานที่สุด คือ ท่าอากาศยานกาดทรายสิบสองปันนา ซึ่งมีเส้นทางการบินโดยตรงสู่ คุนหมิง, ต้าหลี่, ลี่เจียง, เซี่ยงไฮ้, เซินเจิ้น และเทียนจิน ตลอดจนเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังกรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ของไทย นครเวียงจันทน์ และหลวงพระบางของลาว[21]

สภาพภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของบ่อหาน (อ้างอิงจากเมืองล้า) (1971−2000)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 30.0
(86)
33.8
(92.8)
35.6
(96.1)
37.5
(99.5)
38.4
(101.1)
36.7
(98.1)
34.5
(94.1)
34.3
(93.7)
33.7
(92.7)
33.2
(91.8)
31.9
(89.4)
30.0
(86)
38.4
(101.1)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 25.0
(77)
27.5
(81.5)
30.3
(86.5)
31.9
(89.4)
31.5
(88.7)
30.6
(87.1)
29.7
(85.5)
29.8
(85.6)
30.0
(86)
28.6
(83.5)
26.1
(79)
23.7
(74.7)
28.7
(83.7)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 18.3
(64.9)
19.6
(67.3)
22.1
(71.8)
24.8
(76.6)
26.1
(79)
26.4
(79.5)
25.9
(78.6)
25.9
(78.6)
25.5
(77.9)
23.8
(74.8)
20.9
(69.6)
17.9
(64.2)
23.1
(73.6)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 11.6
(52.9)
11.8
(53.2)
14.0
(57.2)
17.7
(63.9)
20.7
(69.3)
22.3
(72.1)
22.2
(72)
22.0
(71.6)
21.1
(70)
19.1
(66.4)
15.7
(60.3)
12.2
(54)
17.5
(63.6)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 0.5
(32.9)
5.9
(42.6)
6.1
(43)
11.2
(52.2)
15.7
(60.3)
18.4
(65.1)
18.2
(64.8)
18.8
(65.8)
15.3
(59.5)
9.4
(48.9)
6.1
(43)
1.1
(34)
0.5
(32.9)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 17.8
(0.701)
21.4
(0.843)
40.5
(1.594)
98.5
(3.878)
169.9
(6.689)
211.6
(8.331)
317.2
(12.488)
307.1
(12.091)
165.4
(6.512)
91.8
(3.614)
52.8
(2.079)
26.7
(1.051)
1,520.7
(59.87)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 5.5 4.2 6.0 12.9 18.5 22.1 25.5 23.6 16.5 12.0 7.3 5.7 159.8
แหล่งที่มา: Weather China

วัฒนธรรม

[แก้]

บ่อหาน เป็นพื้นที่ที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายอาศัยอยู่รวมกันทั้งชาวไทลื้อ, ม้ง - เมี่ยน (เย้า),ฮานิ วัฒนธรรมและเทศกาลที่แตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ได้แก่

  • เทศกาลสงกรานต์ ในสิบสองปันนาเทศกาลสงกรานต์เป็นเทศกาลที่สำคัญของชุมชนชาติพันธุ์ไทลื้อ เป็นพิธีกรรมของชาวไทในการให้พรแก่ผู้อื่น ในโอกาสการฉลองขึ้นปีใหม่ ในเดือนเมษายน
  • เทศกาลกาตังปา (嘎汤帕节) จัดขึ้นในช่วงวันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 4 มกราคมตามจันทรคติ เป็นเทศกาลของชาวฮานิที่ใช้ในโอกาสฉลองเช่น การเฉลิมฉลองปีใหม่ การแต่งงานและวันเกิด และระลึกถึงญญาณของผู้เสียชีวิต โดยการทำแซมปา

ความหลากหลายทางชีวภาพ

[แก้]

บริเวณโดยรอบมีพันธุ์พืช 3890 ชนิดและพันธุ์สัตว์ 756 ชนิด

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://www.yunnanexploration.com/destinations/xishuangbanna/mohan
  2. http://www.yunnanadventure.com/city_list/Mohan-Border-Overview_152_940.html
  3. https://thaibizchina.com/เขตความร่วมมือเศรษฐกิจ/
  4. http://news.ch3thailand.com/economy/11095
  5. https://mgronline.com/china/detail/9590000000266
  6. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/859744
  7. http://www.stats.gov.cn/tjsj/tjbz/tjyqhdmhcxhfdm/2019/53/28/23/532823105.html
  8. https://www.nsecbiz.com/provincial-profile/yunnan-province/puer/mengla-mohan/
  9. 澎湃新闻 边疆故事︱一位老人的跨国“迁徙史” สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2564.
  10. 掌中寮 盐市、堵场、楼市…磨丁300年命运沉浮 เก็บถาวร 2021-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 看点快报, 15-11-2019. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2564.
  11. China Daily. Cross-border rail tunnel links China with Laos. 15 กันยายน 2563. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2564.
  12. XinhuaNet. China-Laos railway tunnel's border drilling finished เก็บถาวร 2021-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 20 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2564.
  13. 掌中寮 盐市、堵场、楼市…磨丁300年命运沉浮 เก็บถาวร 2021-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 看点快报, 15-11-2019. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2564.
  14. https://www.facebook.com/LandLink.AEC/posts/3074725162541653/
  15. https://www.thansettakij.com/content/headline/74340
  16. https://baike.baidu.com/item/213%E5%9B%BD%E9%81%93?fromtitle=G213&fromid=11174791
  17. https://kunming.thaiembassy.org/th/content/65548-บทความบีไอซีคุนหมิง-ปี-2557-ตอนที่-3-สะพานข้ามโขงแห่งใหม่:-ความหวังที่จะเป็นประตูเชื่อมการค้าอาเซียน-จีนตอนใต้
  18. https://www.yunnanexploration.com/destination/mohan/transportation
  19. https://wikitravel.org/en/Mohan
  20. https://www.google.com/maps/dir/Kunming+South+railway+station,+%E5%8D%97%E6%98%86%E8%B4%A7%E8%BF%90%E7%AB%99%E6%94%AF%E7%BA%BF%E6%AE%B5+Chenggong+District,+Kunming,+Yunnan,+China/Mohan,+Yunnan,+Mengla+County,+Xishuangbanna+Dai+Autonomous+Prefecture,+Yunnan,+China/@23.6102667,97.6188352,6.25z/data = !4m13!4m12!1m5!1m1!1s0x36d07d4b05416d89:0x7a8352c9daa7d648!2m2!1d102.824955!2d24.918066!1m5!1m1!1s0x312b97e899122dd3:0x663db1cd0fbccf45!2m2!1d101.718696!2d21.235818
  21. https://www.yunnanexploration.com/destinations/xishuangbanna/mohan