บูกิตเซอกุนตัง


บูกิตเซอกุนตัง (อินโดนีเซีย: Bukit Seguntang; เขาเซอกุนตัง) หรือ บูกิตซีกุนตัง (อินโดนีเซีย: Bukit Siguntang) เป็นเนินเขาความสูง 30 เมตร ตั้งอยู่บนฝั่งตอนเหนือของแม่น้ำมูซี ในพื้นที่ของปาเล็มบัง เมืองหลวงของจังหวัดสุมาตราใต้ ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ห่างไป 3 กิโลเมตรทางเหนือของแม่น้ำมูซี และประมาณสี่กิโลเมตรจากตัวเมืองปาเล็มบัง คนท้องถิ่นถือว่าสถานที่นี้ศักดิ์สิทธิ์และมีการขุดค้นโลราณวัตถุมากมายจากสมัยศรีวิชัยซึ่งเรืองอำนาจในบ่องแคบมะละการะหว่างศตวรรษที่ 6-13 ปัจจุบันแปรสภาพเนินเขานี้เป็นอุทยานโบราณคดี
ในทศวรรษ 1920 มีการขุดค้นพบพระพุทธรูปประทับยืนหลายชิ้นส่วนในระยะเวลาหลายเดือนยกเว้นส่วนขายังคงไม่พบ พระพุทธรูปความสูง 277 เซนติเมตรสร้างมาจากหินแกรนิต เช้าใจว่ามาจากเกาะบังกาซึ่งอยู่ไม่ไกล นอกจากนี้ยังมีการค้นพบพระพุทธรูปปางประทับนั่งที่ยังแกะสลักไม่เสร็จ (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ปาเล็มบัง) ทำให้เกิดข้อเสนอว่าจริง ๆ รูปสลักเหล่านี้น่าจะสร้างขึ้นในท้องที่ ประติมากรรมเหล่านี้เข้าใจว่ามาจากสมัยปาละ (ปลายศตวรรษที่ 7 - ต้นศตวรรษที่ 8)[1] โบราณวัตถุอื่น ๆ ที่ขุดพบยังมีรูปพระโพธิสัตว์, ซากของสถูป, จารึก และรูปพระไวโรจนพุทธเจ้าประทับนั่งซึ่งมีประภา (รังสี) และฉัตร
ทางฝั่งใต้ของเขาเป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดีการาญันยาร์ (Karanganyar site) ซึ่งมีการค้นพบโบราณวัตถุของราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่ง และจารึกจากสมัยศตวรรษที่ 7 เรียกวาาจารึกตาลังตูโว[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Shuhaimi, Nik Hassan (1979). "The Bukit Seguntang Buddha: A Reconsideration of its Date". Journal of the Malaysian Branch of the Royal Asiatic Society. 52 (2 (236)): 33–40.
- ↑ Wolters, O.W. 1986. Restudying Some Chinese Writings on Sriwijaya. Indonesia 42:1-41.