บี. วี. โทศี
พาลกฤษณะ วิฏฐัลทาส โทศี | |
---|---|
โทศีเมื่อปี 2013 | |
เกิด | 26 สิงหาคม ค.ศ. 1927 ปูเณ รัฐบอมเบย์ บริติชอินเดีย |
เสียชีวิต | 24 มกราคม ค.ศ. 2023 อะห์มดาบาด รัฐคุชราต อินเดีย | (95 ปี)
สัญชาติ | อินเดีย |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์ เจ. เจ. มุมไบ |
คู่สมรส | Kamala Parikh (สมรส 1955) |
บุตร | 3 |
รางวัล | ปัทมภูษาณ ปัทมศรี Ordre des Arts et des Lettres พริตซ์เกอร์ อะกา ข่าน รอยัลโกลด์เมดดัล |
ผลงานสำคัญ | ไอไอเอ็ม บังกาลอร์, ไอไอเอ็ม อุทัยปุระ, สถาบันเทคโนโลยีแฟชั่นแห่งชาติ นิวเดลี |
พาลกฤษณะ วิฏฐัลทาส โทศี (อักษรโรมัน: Balkrishna Vithaldas Doshi OAL, 26 สิงหาคม 1927 - 24 มกราคม 2023) เป็นสถาปนิกชาวอินเดีย[1] ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่สุดของวงการสถาปัตยกรรมในอินเดีย และเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวาทกรรมกด้านสถาปัตยกรรมในประเทศอินเดีย[2] เขาเคยทำงานภายใต้การดูแลของทั้งเลอกอร์บูซีเยร์ และ ลุยส์ คาน และถือเป็นผู้ริเริ่มขบวนการสถาปัตยกรรมมอเดิร์น และ บรูทัลลิสต์ ในประเทศอินเดีย
ผลงานชิ้นสำคัญของเขาได้แก่ไอไอเอ็ม บังกาลอร์, ไอไอเอ็ม อุทัยปุระ, เอ็นไอเอฟที นิวเดลี, อามทวาท นี กูฟา, มหาวิทยาลัยซีอีพีที, และโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยราคาถูกอรัญญา (Aranya Low Cost Housing) ในอินเทาร์ ซึ่งได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมอากา ข่าน[3]
ในปี 2018 เขาเป็นสถาปนิกชาวอินเดียคนแรกที่ได้รับรางัวลพริตซ์เกอร์ ซึ่งเป็นรางวัลที่ทรงคุณค่าที่สุดรางวัลหนึ่งของโลกสถาปัตยกรรม[4][5] รางวัลอื่น ๆ เช่น เครื่องราชย์อิศริยาภร ปัทมศรี และ ปัทมภูษาณ จากรัฐบาลอินเดีย รวมถึงรอยัลโกลด์เมดัลจากราชวิทยาลัยสถาปนิกบริเตนในปี 2022[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Balkrishna Vithaldas Doshi. เก็บถาวร 2011-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ArchNet 2011. Retrieved 26 July 2011.
- ↑ Ashish Nangia: "Post Colonial India and its Architecture – II" เก็บถาวร 10 พฤษภาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, in Boloji, 12-02-2006
- ↑ "Balkrishna Doshi Named 2018 Pritzker Prize Laureate". ArchDaily. 7 March 2018. สืบค้นเมื่อ 7 March 2018.
- ↑ Pogrebin, Robin (2018-03-07). "Top Architecture Prize Goes to Low-Cost Housing Pioneer From India". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
- ↑ Rajghatta, Chidanand (8 March 2018). "B V Doshi 1st Indian to win 'Nobel' for architecture". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 7 May 2018.
- ↑ "Royal Gold Medal 2022 recipient: Balkrishna Doshi" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-11.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Curtis, William J. R., Balikrishna Doshi: An Architecture for India, Rizzoli, New York 1988, ISBN 0-8478-0937-4
- James Steel, The Complete Architecture of Balikrishna Doshi, Rethinking Modernism for the Developing World, Thames and Hudson, London 1998, ISBN 0-500-28082-7
- Bruno Melotto ed., Balkrishna Doshi. Sangath. Indian architecture between tradition and modernity, Maggioli Editore, Santarcangelo di Romagna 2012, ISBN 88-387-6126-4
- Bruno Melotto ed., Balkrishna Doshi. The Masters in India. Le Corbusier, Louis Kahn and the Indian Context, Maggioli Editore, Santarcangelo di Romagna 2014, ISBN 978-88-387-6295-6
- Doshi, Balkrishna V; Kries, Mateo; Kugler, Jolanthe; Hoof, Kushnu Panthaki; Wolfschalg, Meike; Obrist, Hans Ulrich; Subramanian, Samanth; Thorne, Martha; Pallasmaa, Juhani (2019). Balkrishna Doshi: architecture for the people. ISBN 978-3-945852-31-6. OCLC 1089207649.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Vāstu Shilpā Consultants
- Talk at TEDxNirmaUniversity ที่ยูทูบ
- Interview with DD Bharati on YouTube: Part-1 and Part-2
- Texts, Interviews and Projects by B. V. Doshi on Architexturez South Asia
- 27th Annual Architecture Lecture at the Royal Academy of Arts on YouTube