ข้ามไปเนื้อหา

บิตวอร์เดน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บิตวอร์เดน
(Bitwarden)
ผู้ออกแบบไคล์ สเปียร์ริน
นักพัฒนาBitwarden Inc.
วันที่เปิดตัว10 สิงหาคม ค.ศ. 2016 (2016-08-10)
ที่เก็บข้อมูลgithub.com/bitwarden
ภาษาที่เขียนTypeScript, C# และ รัสต์
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์, แมคโอเอส, ลินุกซ์, แอนดรอยด์, ไอโอเอส, ไอแพดโอเอส, วอตช์โอเอส
ภาษาหลายภาษา
ประเภทโปรแกรมจัดการรหัสผ่าน
สัญญาอนุญาตเซิร์ฟเวอร์: AGPL-3.0-only[1]
ไคลเอนต์: GPL-3.0-only[1]
มอดูลบางตัว: จำกัดสิทธิ์[1][2]
เว็บไซต์bitwarden.com

บิตวอร์เดน (อังกฤษ: Bitwarden) เป็นบริการจัดการรหัสผ่านแบบฟรีเมียมและโอเพนซอร์สซึ่งเก็บข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่นข้อมูลบันทึกเข้าบัญชี โดยเก็บไว้ในที่เก็บข้อมูล/คลังข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ มีแอปไคลเอนต์หลากหลายรวมถึงแอปหน้าเว็บ แอปเดสก์ท็อป ส่วนขยายเบราว์เซอร์ แอปมือถือ และส่วนต่อประสานรายคำสั่ง[3] มีบริการคลาวด์ฟรีที่โฮสต์ในสหรัฐอเมริกาหรือยุโรปโดยสามารถใช้บริการได้ทั่วโลก มีทางเลือกให้โฮสต์เซิร์ฟเวอร์ได้ด้วยตนเอง[4][5][6]

แอปเดสก์ท็อปมีสำหรับวินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์[7] ส่วนขยายเบราว์เซอร์รองรับโครม ไฟร์ฟอกซ์ ซาฟารี เอดจ์ โอเปร่า วีวัลดี อารก์ เบรฟ และทอร์[7] มีแอปมือถือสำหรับแอนดรอยด์ ไอโอเอส และไอแพดโอเอส[7] ฟังก์ชันของไคลเอนต์รวมถึงการลงบันทึกเข้าบัญชีแบบสองปัจจัย การลงบันทึกเข้าแบบไร้รหัสผ่าน การปลดล็อกทางชีวมิติ การจัดการพาสคีย์ ตัวสร้างรหัสผ่านแบบสุ่ม เครื่องมือทดสอบความแข็งแกร่งของรหัสผ่าน การกรอกข้อมูลอัตโนมัติสำหรับการลงบันทึกเข้าบัญชี/แบบฟอร์ม/แอป การซิงค์ข้อมูลของแพลตฟอร์มและอุปกรณ์โดยไม่จำกัด การจัดเก็บรายการโดยไม่จำกัดจำนวน การแชร์ข้อมูลรับรองบุคคล และการจัดเก็บข้อมูลประเภทอื่น ๆ รวมถึงบัตรเครดิต

ฟีเจอร์

[แก้]

บิตวอร์เดนใช้การเข้ารหัสลับด้วยวิธีซีโร่โนว์เลดจ์ (zero-knowledge) ซึ่งหมายความว่าบริษัทไม่สามารถเปิดดูข้อมูลของผู้ใช้ได้ นี้ทำด้วยการเข้ารหัสข้อมูลในที่เก็บแบบเอนด์ทูเอนด์ (end-to-end) ด้วย AES-CBC 256 บิต และใช้ฟังก์ชันแปลงให้เป็นกุญแจ PBKDF2 SHA-256/Argon2id เพื่อสร้างกุญแจเข้ารหัส[8][9] โค้ดเบสของไคลเอนต์พีซีและเซิร์ฟเวอร์เปิดเผยเป็นแบบโอเพนซอร์ส[10] มีการตรวจสอบความปลอดภัยโดยบุคคลที่สามเป็นประจำทุกปี และมีโปรแกรมให้รางวัลเพื่อเปิดเผยช่องโหว่[11][12] บิตวอร์เดนทำตามมาตรฐาน HIPAA, GDPR, CCPA, SOC 2, SOC 3 และเฟรมเวิร์กคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวบุคคล EU-US และ Swiss-US[12] บิตวอร์เดนจะซิงค์ข้อมูลผ่านคลาวด์กับเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกาหรือสหภาพยุโรป[6] นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ของตนเองได้ด้วย[13]

มีไคลเอนต์เป็นแอปหน้าเว็บ แอปเดสก์ท็อป (สำหรับวินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์) ส่วนขยายเบราวเซอร์ (โครม ไฟร์ฟอกซ์ ซาฟารี เอดจ์ โอเปร่า วีวัลดี อารก์ เบรฟ และทอร์) แอปมือถือ (แอนดรอยด์ ไอโอเอส ไอแพดโอเอส และวอตช์โอเอส)[7] รองรับภาษาต่าง ๆ ได้ 50 ภาษาและภาษาถิ่น แต่ก็ไม่ใช่สำหรับไคลเอนต์ทุกอย่าง[14]

ในที่เก็บข้อมูล ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลการเข้าสู่ระบบ คือ ชื่อผู้ใช้กับรหัสผ่าน พาสคีย์ และซี๊ด TOTP, ข้อมูลบัตรเดบิตและเครดิต, ข้อมูลประจำตัว เช่น ข้อมูลบิลและอื่น ๆ เกี่ยวกับบุคคล และบันทึกข้อความ อนึ่ง รายการแต่ละประเภทสามารถมีฟิลด์ที่กำหนดเอง ผู้ใช้ที่สมัครสมาชิกสามารถมีไฟล์แนบโดยขนาดจะขึ้นอยู่กับแพ็กเกจ[7][15]

บิตวอร์เดนรองรับการนำเข้าข้อมูลจากโปรแกรมจัดการรหัสผ่านมากกว่า 50 ตัวรวมถึง LastPass, 1Password และ Keeper สามารถส่งออกข้อมูลในรูปแบบ JSON, JSON ที่เข้ารหัส และ CSV[16]

เพื่อลงบัญชีเข้าสู่ระบบ นอกจากจะใช้อีเมล รหัสผ่าน และการพิสูจน์ตัวจริงด้วยปัจจัยหลายอย่างแล้ว ยังเข้าระบบได้ด้วย SSO หรือโดยไร้รหัสผ่านผ่านการอนุมัติการแจ้งเตือนบนอุปกรณ์มือถือ/เดสก์ทอป หรือผ่านพาสคีย์ เพื่อปลดล็อกแอป สามารถใช้รหัสผ่าน การรับรองตัวตนทางชีวมิติ (เช่น ลายนิ้วมือ ใบหน้า) หรือรหัสพิน[7][17][18][19]

นอกจากการจัดการรหัสผ่าน บิตวอร์เดนยังมีเครื่องมืออื่น ๆ เช่น ตัวทดสอบความแข็งแกร่งของรหัสผ่าน, ตัวสร้างรหัสผ่าน/ชื่อผู้ใช้, บูรณาการกับบริการที่อยู่อีเมลแฝงหรือบริการส่งต่ออีเมลรวมทั้ง SimpleLogin, AnonAddy, Firefox Relay, Fastmail, Forward Email และ DuckDuckGo และลูกเล่นที่เรียกว่า "Send"[20][21][22] ซึ่งช่วยให้สามารถแชร์ข้อความ (เวอร์ชันฟรี) และไฟล์ (เวอร์ชันจ่ายเงิน) ที่เข้ารหัสแบบเอนด์ทูเอนด์กับผู้อื่น โดยแต่ละรายการจะระบุวันหมดอายุ จำนวนการเข้าถึงสูงสุด และรหัสผ่านตามความต้องการได้[23]

การตอบรับ

[แก้]

ในเดือนมกราคม 2021 เมื่อเปรียบเทียบการจัดการรหัสผ่านเป็นครั้งแรก ยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต ได้เลือกบิตวอร์เดนเป็น "โปรแกรมจัดการรหัสผ่านที่ดีที่สุด"[24] ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อคู่แข่งคือ LastPass กำลังลบฟีเจอร์ออกจากเวอร์ชันฟรี เว็บไซต์ CNET จึงได้แนะนำบิตวอร์เดนว่าเป็นแอปฟรีซึ่งดีที่สุดเมื่อต้องใช้แอปบนอุปกรณ์หลายตัว[25] ในขณะที่ Lifehacker แนะนำว่าเป็น "โปรแกรมจัดการรหัสผ่านที่ดีที่สุดสำหรับคนส่วนใหญ่"[26]

นักวิจารณ์ชื่นชมฟีเจอร์ที่มีในเวอร์ชันฟรีของซอฟต์แวร์ และราคาต่ำของเวอร์ชันพรีเมียมเมื่อเทียบกับโปรแกรมจัดการอื่น [25][27][28][29] ผลิตภัณฑ์นี้ได้จัดเป็น "ตัวเลือกซึ่งคุ้มค่าที่สุด" ในการเปรียบเทียบโปรแกรมจัดการรหัสผ่านของ Wirecutter[30] การทำให้เกิดผลอย่างปลอดภัยแบบโอเพนซอร์สก็ได้รับคำชมด้วย[27][31]

Tom's guide พบว่าฟีเจอร์บางอย่างใช้งานได้ไม่สะดวกเท่าที่ควร[27] ในขณะที่ PC Magazine วิจารณ์ว่าราคาที่คิดกับองค์กรธุรกิจนั้นสูงเกินไป[32] ส่วน Mobilesyrup รู้สึกผิดหวังกับกราฟิกที่เรียบง่ายเกินไปของอินเตอร์เฟซผู้ใช้ และรู้สึกว่ายังขาดฟีเจอร์บางอย่างที่พบในผลิตภัณฑ์คู่แข่ง[28]

ประวัติ

[แก้]
2016–2017

บิตวอร์เดนเปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2016 ด้วยแอปมือถือสำหรับไอโอเอสและแอนดรอยด์, ส่วนขยายเบราว์เซอร์สำหรับโครมและโอเปร่า และแอปเว็บ ต่อมาเดือนกุมภาพันธ์ 2017 จึงเปิดตัวส่วนขยายไฟร์ฟอกซ์[33] ในเดือนเดียวกัน เบราว์เซอร์เบรฟก็เริ่มรวมส่วนขยายของบิตวอร์เดนเป็นตัวจัดการรหัสผ่านทางเลือก[34]

ในเดือนกันยายน 2017 บริษัทได้ตั้งโปรแกรมให้รางวัลสำหรับการค้นพบช่องโหว่ ณ HackerOne[11][12]

2018

ในเดือนมกราคม 2018 ส่วนขยายเบราวเซอร์ของบิตวอร์เดนได้เปิดตัวในแกลเลอรีส่วนขยายของซาฟารี[35]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 บริษัทเปิดตัวแอปเดสก์ท็อปสำหรับแมคโอเอส ลินุกซ์ และวินโดวส์ เป็นแอปเว็บที่ใช้เฟรมเวิร์กอิเล็กตรอน (Electron) เป็นพื้นฐาน[36] ต่อมาในเดือนมีนาคม จึงเปิดตัวส่วนขยายเบราว์เซอร์สำหรับเอดจ์ และแอปวินโดวส์ที่ติดตั้งจากไมโครซอฟท์สโตร์[37][38]

ในเดือนมีนาคม 2018 บริษัทถูกวิจารณ์ว่าฝังสคริปต์ของนักพัฒนาที่สามอย่างไม่จำกัดรวมทั้งของ BootstrapCDN, Braintree, Google และ Stripe สคริปต์ที่ฝังจึงอาจเป็นช่องทางการโจมตีเพื่อเข้าถึงรหัสผ่านของผู้ใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต[39] ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2018 อัปเดต 2.0 ของโปรแกรมจึงไม่ใช้สคริปต์เหล่านี้อีกต่อไป[40]

ในเดือนพฤษภาคม 2018 บริษัทได้เปิดตัวแอปรายคำสั่ง ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเขียนสคริปต์โดยใช้ข้อมูลจากที่เก็บไว้ในบิตวอร์เดน[3][41][42]

ในเดือนตุลาคม 2018 Bitwarden ได้ผ่านการประเมินความปลอดภัย การตรวจสอบรหัสต้นทาง (code audit) และการวิเคราะห์การเข้ารหัสลับจากบริษัทตรวจสอบความปลอดภัย Cure53[43][44][45][46]

2020

ในเดือนกรกฎาคม  2020 บิตวอร์เดนได้ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยอีกครั้งจากบริษัทความปลอดภัย Insight Risk Consulting เพื่อประเมินความปลอดภัยของขอบเขตเครือข่าย รวมถึงการทดสอบเจาะระบบและการประเมินช่องโหว่ของบริการเว็บและแอป ในเดือนสิงหาคม 2020 บิตวอร์เดนได้รับการรับรองแบบ System and Organization Controls (SOC) Type 2 และ SOC 3[47][48]

ในเดือนธันวาคม 2020 บิตวอร์เดนประกาศว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐาน HIPAA[49] นอกเหนือจากการปฏิบัติตามมาตรฐาน GDPR, CCPA และ Privacy Shield ที่ทำอยู่แล้ว[50][51]

2021

ในเดือนสิงหาคม 2021 บริษัทประกาศว่าการประเมินเครือข่าย (การประเมินความปลอดภัยและการทดสอบเจาะระบบ) สำหรับปี 2021 ได้เสร็จสิ้นแล้วโดยบริษัท Insight Risk Consulting[16][52]

2022

ในเดือนกันยายน 2022 บริษัทประกาศการระดมทุนซีรีส์บีมีมูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3,500 ล้านบาท) บริษัทลงทุนหลักคือ PSG โดยมี Battery Ventures ซึ่งเป็นนักลงทุนเดิมเข้าร่วมด้วย[53][54] เงินทุนจะใช้เร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และขยายบริษัท เพื่อสนับสนุนผู้ใช้และลูกค้าทั่วโลก[53][54]

2023

ในเดือนมกราคม 2023 บริษัทประกาศการเข้าซื้อกิจการบริษัทสตาร์ตอัปสวีเดน Passwordless.dev โดยไม่เปิดเผยมูลค่า[55] Passwordless.dev ให้บริการเป็นโซลูชันโอเพนซอร์สที่ช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานการยืนยันตัวตนแบบไม่ใช้รหัสผ่านได้อย่างง่ายดาย โดยอิงตามมาตรฐานเว็บออเทนและ FIDO2[55][56] บริษัทยังได้เปิดตัวบริการซอฟต์แวร์เบต้า ที่ทำให้นักพัฒนาสามารถใช้เทคโนโลยีการลงชื่อเข้าใช้ด้วยลักษณะทางชีวมิติในแอปของตน เทคโนโลยีรวมถึง Touch ID (ลายนิ้วมือ), Face ID (ใบหน้า) และ Windows Hello (ลายนิ้วมือ ใบหน้า และอื่น ๆ)[55]

ในเดือนกุมภาพันธ์ บริษัทได้เผยแพร่รายงานการประเมินความปลอดภัยของเครือข่ายและรายงานประเมินความปลอดภัยที่ดำเนินการโดย Cure53 ในเดือนพฤษภาคมและตุลาคม 2022 ตามลำดับ[57] รายงานแรกเกี่ยวกับการทดสอบการเจาะระบบและการประเมินความปลอดภัยของที่อยู่ไอพี เซิร์ฟเวอร์ และแอปเว็บของบริษัท[58] รายงานที่สองเกี่ยวกับการทดสอบการเจาะระบบและการตรวจสอบรหัสต้นฉบับของส่วนประกอบซอฟต์แวร์จัดการรหัสผ่านทั้งหมด รวมถึงแอปหลัก, ส่วนขยายเบราว์เซอร์, แอปเดสก์ท็อป, แอปเว็บ และคลังโปรแกรมคือ TypeScript[59] บล็อกเทคโนโลยี Ghacks รายงานในเรื่องนี้ว่า "ไม่พบปัญหาสำคัญในการตรวจสอบทั้งสองครั้ง ส่วนปัญหาความปลอดภัยสองข้อที่ Cure53 ให้คะแนนสูงได้ค้นพบเมื่อตรวจสอบรหัสต้นฉบับและทดสอบการเจาะระบบ ซึ่งบิตวอร์เดนและ HubSpot ซึ่งเป็นบริษัทที่ 3 ได้แก้ไขอย่างรวดเร็ว โดยปัญหาอื่น ๆ ทั้งหมดได้คะแนนต่ำหรือให้เป็นข้อมูลเท่านั้น"[60]

2024

ในวันที่ 1 พฤษภาคม บริษัทได้เปิดตัวแอปออเทนทิเคเตอร์ของตนเองคือ Bitwarden Authenticator[61]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "LICENSE_FAQ.md". GitHub. 2021-11-22.
  2. "Bitwarden License Agreement". GitHub. 2021-11-22.
  3. 3.0 3.1 Wallen, Jack (2018-05-31). "How to install and use the Bitwarden command line password manager". TechRepublic.
  4. "Bitwarden password manager review". TechRadar. 2022-11-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-08.
  5. "How to migrate your Bitwarden vaults from US to EU storage". ghacks.net. 2023-07-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-27.
  6. 6.0 6.1 "Server Geographies". Bitwarden. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-26. สืบค้นเมื่อ 2023-07-28.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 "Bitwarden Review: The Best Free Password Manager for 2022". CNet. 2022-05-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-07.
  8. "Encryption | Bitwarden Help & Support". Bitwarden. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-22. สืบค้นเมื่อ 2023-02-22.
  9. "How End-to-End Encryption Paves the Way for Zero Knowledge". Bitwarden (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-06-07.
  10. "Bitwarden on GitHub". GitHub. สืบค้นเมื่อ 2018-06-28.
  11. 11.0 11.1 "Bitwarden". hackerone.com. สืบค้นเมื่อ 2022-09-14.
  12. 12.0 12.1 12.2 "Compliance, Audits, and Certifications". Bitwarden. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-22. สืบค้นเมื่อ 2022-09-09.
  13. "Self-hosting Bitwarden on DigitalOcean". The Bitwarden Blog. 2022-04-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-17.
  14. "Localization". Bitwarden. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-10. สืบค้นเมื่อ 2022-09-10.
  15. "Store Secure Notes, Credit Cards, & Identities In Your Bitwarden Vault| Bitwarden". Bitwarden Blog (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
  16. 16.0 16.1 "Bitwarden Review". PCMag. 2022-03-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-18.
  17. "Bitwarden and the Passwordless Revolution". Bitwarden. 2022-07-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-06.
  18. "Bitwarden launches SSO authentication to integrate password security with identity providers". Bitwarden Blog. 2020-09-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-27.
  19. "Access Your Bitwarden Vault Without a Password". The Bitwarden Blog. 2023-02-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-31.
  20. "Password Strength Testing Tool". Bitwarden.
  21. "Username & Password Generator | Bitwarden Help & Support". Bitwarden.
  22. "Add Privacy and Security Using Email Aliases With Bitwarden". The Bitwarden Blog. 2022-10-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-26.
  23. "About Send". Bitwarden. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-27. สืบค้นเมื่อ 2022-09-10.
  24. Kinney, Jeff (2021-01-12). "Best Password Managers of 2021". U.S. News & World Report. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-15.
  25. 25.0 25.1 Broida, Rick. "This is the best free password manager alternative to LastPass". CNET (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-17.
  26. Murphy, David (2021-02-18). "Bitwarden Is Now the Best Free Alternative to LastPass". Lifehacker. สืบค้นเมื่อ 2021-02-19.
  27. 27.0 27.1 27.2 Long, Emily (2021-04-22). "Bitwarden password manager review". Tom's Guide (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-24. สืบค้นเมื่อ 2021-05-06.
  28. 28.0 28.1 Lamont, Jonathan (2020-08-02). "Bitwarden offers excellent password management tools with great value". MobileSyrup (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-06.
  29. Pathak, Khamosh (2021-02-27). "Bitwarden Is the Best Free Alternative to LastPass". How-To Geek (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-06.
  30. "The Best Password Managers". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-02-05. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-05-06.
  31. Pathak, Khamosh (2021-02-27). "Bitwarden Is the Best Free Alternative to LastPass". How-To Geek (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-06.
  32. Rubenking, Neil J. (2019-06-19). "Bitwarden Review". PCMAG (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-07. สืบค้นเมื่อ 2021-05-06.
  33. "Bitwarden: Add-ons for Firefox". Mozilla. สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
  34. "Brave Features". Brave Software. สืบค้นเมื่อ 2018-07-27.
  35. Brinkmann, Martin (2018-03-01). "Bitwarden Desktop App released". Ghacks Technology News. gHacks Tech News. สืบค้นเมื่อ 2018-07-29.
  36. Stephenson, Brad (2018-04-26). "Password manager Bitwarden launches in the Microsoft Store". OnMsft. สืบค้นเมื่อ 2018-07-29.
  37. Thorp-Lancaster, Dan (2017-09-11). "Bitwarden password manager extension comes to Microsoft Edge". Windows Central. สืบค้นเมื่อ 2018-07-29.
  38. Daniel, Aleksandersen (2018-03-13). "Why I migrated from LastPass to Bitwarden". Ctrl blog. สืบค้นเมื่อ 2019-08-26.
  39. Daniel, Aleksandersen (2018-03-13). "Update after 3 months with Bitwarden". Ctrl blog. สืบค้นเมื่อ 2019-08-26.
  40. "Bitwarden/cli v1.0.0". GitHub. 2013-05-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-11.
  41. "The Bitwarden Command-line Tool". Bitwarden Blog. 2018-11-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-24. สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
  42. "Bitwarden Completes Third-party Security Audit". Bitwarden Blog. 2018-11-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-12. สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
  43. "Results of Bitwarden security audit published". Ghacks Technology News. gHacks Tech News. 2018-11-13. สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
  44. "Bitwarden Passes Third Party Security Audit". the Mac Observer. 2018-11-12. สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
  45. Cure53; Heiderich, Mario; Inführ, Alex; Kobeissi, Nadim; Hippert, Norman; Kinugawa, Masato (2018-11-08). "Pentest-Report Bitwarden Password Manager 11.2018" (PDF). Cure53. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-26. สืบค้นเมื่อ 2021-03-02.
  46. AuditOne LLP. (2020-08-21). "System and Organization Controls 3 (SOC 3) Report on the Bitwarden Inc. Password Management System Relevant to Security and Confidentiality For the Period January 1, 2020 - June 30, 2020" (PDF) (Audit Report). AuditOne LLP. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-19. สืบค้นเมื่อ 2021-03-02 – โดยทาง BitWarden LLC.
  47. "Bitwarden achieves SOC 2 certification". Bitwarden Blog (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-25. สืบค้นเมื่อ 2020-08-25.
  48. "Why use a HIPAA-compliant password manager". Bitwarden Blog (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-19. สืบค้นเมื่อ 2020-12-30.
  49. "Privacy Shield: Bitwarden Inc". Privacy Shield Network. International Trade Administration. 2020-12-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-11. สืบค้นเมื่อ 2021-03-02.
  50. "Privacy Policy". Bitwarden (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-03.
  51. "Bitwarden 2020 and 2021 Security Audits are Complete". The Bitwarden Blog. 2021-08-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-18.
  52. 53.0 53.1 "Bitwarden Announces $100 Million Growth Investment Led by PSG to Further its Mission to Empower Businesses and Individuals to Stay Safe Online". Business Wire. 2022-09-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-08.
  53. 54.0 54.1 Crandell, Michael (2022-09-06). "Bitwarden announces $100 million financing". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-07.
  54. 55.0 55.1 55.2 "Bitwarden acquires Passwordless.dev to help companies authenticate users without passwords". Techcrunch. 2023-01-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-18.
  55. "Bitwarden extends passwordless leadership with acquisition". Bitwarden. 2023-01-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-19.
  56. Spearrin, Kyle (2023-02-28). "Bitwarden Upholds High Security Standards with Annual Third-Party Audits". The Bitwarden Blog. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-01.
  57. "Bitwarden Network Security Assessment Report" (PDF). Bitwarden. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-02.
  58. "Bitwarden Security Assessment Report" (PDF). Bitwarden. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-02.
  59. "Bitwarden passes annual security audit with flying colors". ghacks.net. 2023-03-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-02.
  60. "Bitwarden launches its own free and open-source Authenticator app". Android Authority (ภาษาอังกฤษ). 2024-05-02. สืบค้นเมื่อ 2024-05-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]