เว็บออเทนทิเคชัน
ออเทนทิเคเทอร์แบบฮาร์ดแวร์และเคลื่อนที่ได้ มีตัวเชื่อมต่อแบบยูเอสบี (เช่น ยูบิคีย์) | |
คำย่อ | WebAuthn |
---|---|
สถานะ | W3C Recommendation (REC) |
ปีที่เริ่ม | 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 |
เผยแพร่ครั้งแรก | 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 |
รุ่นล่าสุด | Level 2 Recommendation 21 เมษายน ค.ศ. 2021 |
รุ่นตัวอย่าง | Level 3 (FPWD) 15 ธันวาคม ค.ศ. 2021 |
องค์กร | FIDO2 Project (FIDO Alliance and W3C) |
คณะกรรมการ | Web Authentication Working Group |
บรรณาธิการ | Current editors
Previous editors
|
มาตรฐานพื้นฐาน |
|
ขอบเขต | Authentication |
เว็บออเทนทิเคชัน (อังกฤษ: Web Authentication) หรือ เว็บออเทน (อังกฤษ: WebAuthn) เป็นมาตรฐานเว็บที่เผยแพร่โดยเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C)[1][2][3] เป็นส่วนประกอบหลักของโปรเจ็กต์ไฟโด 2 (FIDO2 Project) ซึ่งสมาคมไฟโดอัลไลแอนซ์ (FIDO Alliance) เป็นผู้ดูแล[4] เป้าหมายของโปรเจ็กต์ก็คือสร้างมาตรฐานส่วนประสาน (interface) ที่ใช้พิสูจน์ตัวผู้ใช้แอปหรือผู้ใช้บริการเว็บด้วยการเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร (public-key cryptography)
ในระบบรับบริการ (client) มาตรฐานสามารถทำให้เกิดผลได้ด้วยวิธีหลายอย่าง ซึ่งการเข้ารหัสจะทำโดยหน่วย ออเทนทิเคเทอร์ (อังกฤษ: authenticator) อันเป็นโมเดลปฏิการแบบนามธรรมที่โดยมากไม่พิถีพิถันว่าตัวกุญแจรหัสจะต้องจัดการอย่างไร จึงทำให้สามารถสนับสนุนเว็บออเทนได้ด้วยซอฟต์แวร์ล้วนๆ โดยยังสามารถใช้หน่วย trusted execution environment (TEE) และ Trusted Platform Module (TPM) ของหน่วยประมวลผลกลางช่วยได้ ปฏิบัตการเข้ารหัสลับและถอดรหัสลับที่ต้องเก็บความลับไว้ให้ได้ อาจใช้ออเทนทิเคเทอร์แบบฮาร์ดแวร์และเคลื่อนที่ได้ (roaming hardware authenticator) ต่างหากๆ โดยต่อกับระบบผ่านยูเอสบี บลูทูธ หรือการสื่อสารสนามใกล้ (NFC) ออเทนทิเคเทอร์แบบฮาร์ดแวร์จะต้องสนับสนุนโพรโทคอล CTAP (Client to Authenticator Protocol) ที่เป็นส่วนของมาตรฐานไฟโด[5] จึงทำให้เว็บออเทนใช้กับมาตรฐาน U2F (Universal 2nd Factor) ดั้งเดิมของไฟโดได้[6]
เหมือนกับมาตรฐาน U2F ดั้งเดิม เว็บออเทนสามารถป้องกันการหลอกว่าเป็นผู้ใช้ได้ นั่นก็คือ สามารถป้องกันฟิชชิงได้[7] แต่ไม่เหมือนกับ U2F เว็บออเทนไม่ต้องใช้รหัสผ่าน[ต้องการอ้างอิง] อนึ่ง ออเทนทิเคเทอร์แบบฮาร์ดแวร์และเคลื่อนที่ได้ยังป้องกันมัลแวร์ได้ เพราะคอมหรือสมาร์ทโฟนจะไม่สามารถเข้าถึงกุญแจส่วนตัว (private key)
W3C ได้เผยแพร่เว็บออเทนรุ่นที่ 1 และ 2 (level 1 and 2) ในวันที่ 4 มีนาคม 2019 และ 8 เมษายน 2021 ตามลำดับ[8][9][10] ส่วนรุ่นที่ 3 ยังอยู่ในสถานะ First Public Working Draft (FPWD)[11]
พื้นเพ
[แก้]FIDO2 เป็นมาตรฐานรุ่นสืบทอดจาก U2F ซึ่งก็เป็นของสมาคมไฟโดเช่นกัน โดยต่างกับ U2F ซึ่งสนับสนุนการพิสูจน์ตัวผู้ใช้ด้วยปัจจัยหลายอย่าง (MFA) เท่านั้น เพราะ U2F ได้ออกแบบเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของการลงชื่อเข้าบัญชีแบบใช้ชื่อผู้ใช้บวกกับรหัสผ่าน ต่างกับ FIDO2 ที่สามารถพิสูจน์ตัวผู้ใช้ด้วยปัจจัยเดียวเท่านั้น ในโหมดปัจจัยเดียว ออเทนทิเคเทอร์จะเริ่มปฏิบัติการโดยตรวจสอบว่าผู้ใช้อยู่ตรงนั้น ซึ่งปกติเป็นการให้กดปุ่ม โดยไม่ต้องลงบันทึกรหัสผ่าน ส่วนในโหมดปัจจัยหลายอย่าง ออเทนทิเคเทอร์เอง (เป็นสิ่งที่ผู้ใช้มี) จะเป็นตัวตรวจสอบผู้ใช้ (verification) โดยวิธีตรวจสอบจะขึ้นอยู่กับลูกเล่นที่ออเทนทิเคเทอร์สนับสนุน นี่อาจจะเป็น[12]
- สิ่งที่ผู้ใช้รู้ เช่น รหัส PIN หรือรหัสผ่าน หรือรูปแบบการลากนิ้ว
- สิ่งที่ผู้ใช้เป็น คือ ลักษณะทางชีวมิติ เช่น ลายนิ้วมือ ม่านตา หรือเสียงพูด
ไม่ว่าจะเป็นโหมดไหน ออเทนทิเคเทอร์จะไม่เปิดเผยความลับหรือลักษณะทางชีวมิติที่มีแก่เว็บไซต์[13] อนึ่ง ความลับของผู้ใช้อันเดียวกันหรือลักษณะทางชีวมิติอันเดียวกันก็สามารถใช้กับเว็บไซต์ได้ทั้งหมด เพราะตัวออเทนทิเคเทอร์เองจะเป็นตัวเลือกกุญแจลับที่ใช้เซ็นการพิสูจน์ผู้ใช้สำหรับเว็บไซต์นั้นๆ โดยทำหลังจากที่ผู้ใช้พิสูจน์ตนแล้ว (ด้วยความลับหรือลักษณะทางชีวมิติ)
อนึ่ง ความลับกับลักษณะทางชีวมิติก็ยังสามารถใช้ร่วมกันได้ คล้ายกับที่พบในสมาร์ทโฟน เช่น ผู้ใช้สามารถเปิดใช้สมาร์ทโฟนได้ด้วยลายนิ้วมือเป็นปกติอย่างสะดวก แต่บางครั้งที่ลายนิ้วมือใช้ไม่ได้ ก็จะต้องใช้รหัส PIN แทน
คำอธิบายทั่วไป
[แก้]เหมือนกับมาตรฐานไฟโดดั้งเดิมคือ U2F การยืนยันผู้ใช้ด้วยระบบเว็บออเทนทิเคชัน (เว็บออเทน) จะมีฝ่ายต่างๆ คือ เว็บไซต์, เว็บเบราว์เซอร์/ระบบรับบริการ (client) และออเทนทิเคเทอร์[1]
- เว็บไซต์เป็นฝ่ายที่เรียกว่า WebAuthn Relying Party
- เว็บเบราว์เซอร์/ระบบรับบริการเรียกว่า WebAuthn Client
- ออเทนทิเคเทอร์จะเป็นแบบ FIDO2 ซึ่งทำงานร่วมกับระบบรับบริการได้
มาตรฐานเว็บออเทนระบุว่า ผู้อ้างว่าคือผู้ใช้ควรยืนยันแก่ผู้ตรวจสอบผู้ใช้คือ WebAuthn Relying Party อย่างไรว่าตนมีออเทนทิเคเทอร์แบบ FIDO2 ในการควบคุม ส่วนผู้อำนวยกระบวนการพิสูจน์ผู้ใช้ก็คือ WebAuthn Client ซึ่งปกติก็คือเว็บเบราว์เซอร์
การพิสูจน์ตัวจริง (authentication)
[แก้]เพื่อแสดงเป็นตัวอย่าง ออเทนทิเคเทอร์จะสมมุติว่าเป็นแบบฮาร์ดแวร์และเคลื่อนที่ได้ (เช่น ยูบิคีย์) เป็นออเทนทิเคเทอร์แบบหลายปัจจัยที่ใช้การเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตรเพื่อเซ็นการยืนยันว่าได้พิสูจน์บุคคล (authentication assertion) แล้วสำหรับ WebAuthn Relying Party ถ้าออเทนทิเคเทอร์ใช้รหัส PIN เพื่อพิสูจน์ผู้ใช้ ตัวออเทนทิเคเทอร์เองจะเป็น "สิ่งที่ผู้ใช้มี" และรหัส PIN จะเป็น "สิ่งที่ผู้ใช้รู้"
เพื่อเริ่มกระบวนการพิสูจน์ผู้ใช้ของเว็บออเทน[14] WebAuthn Relying Party จะระบุความต้องการกับระบบรับบริการเว็บออเทน (คือ เว็บบราวเซอร์) ผ่านจาวาสคริปต์ แล้วระบบรับบริการเว็บออเทนก็จะสื่อสารกับออเทนทิเคเทอร์ด้วยเอพีไอจาวาสคริปต์ที่เว็บบราวเซอร์ทำให้เกิดผล โดยตัวออเทนทิเคเทอร์จะใช้โพรโทคอล Client to Authenticator Protocol ของไฟโด
อย่างไรก็ดี มาตรฐานเว็บออเทนไม่ได้กำหนดให้ต้องใช้ออเทนทิเคเทอร์แบบฮาร์ดแวร์และเคลื่อนที่ได้ เพราะสามารถใช้ออเทนทิเคเทอร์แบบซอฟต์แวร์ (เช่น ที่ทำให้เกิดผลในสมาร์ทโฟน) หรือออเทนทิเคเทอร์แบบแพลต์ฟอร์ม (คือ ที่ทำให้เกิดผลโดยตรงบนอุปกรณ์ที่มีระบบรับบริการเว็บออเทน เช่น ระบบปฏิบัติการที่มีเว็บบราวเซอร์) ตัวอย่างออเทนทิเคเทอร์แบบแพลต์ฟอร์มก็เช่น วินโดวส์ฮัลโหล[15] และระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์[16]
กระบวนการที่เป็นตัวอย่างนั้นพิสูจน์ผู้ใช้ด้วยรหัส PIN ซึ่งในมุมมองของการใช้ง่าย ก็ดีกว่าการพิสูจน์ด้วยรหัสผ่านไม่มากนัก เพราะการพิสูจน์ทางชีวมิติ (biometric) จะทำให้ผู้ใช้พิสูจน์ตัวตนด้วยเว็บออเทนได้ง่ายกว่า[ต้องการอ้างอิง] แม้ผู้ใช้ปกติจะไม่เข้าใจการพิสูจน์ทางชีวมิติ เพราะมักเข้าใจผิดว่า ข้อมูลทางชีวมิติจะส่งไปที่เครือข่ายคล้ายกับที่ส่งรหัสผ่าน ซึ่งจริงๆ ไม่เป็นอย่างนั้น[17][18]
การลงทะเบียน
[แก้]เมื่อ WebAuthn Relying Party ได้รับการยืนยันพิสูจน์ตัวตนที่ได้เซ็นด้วยรหัสลับ (signed authentication assertion) แล้วจากเว็บบราวเซอร์ ก็จะตรวจสอบการยืนยันนั้นด้วยกุญแจสาธารณะที่เชื่อถือได้ของผู้ใช้ คำถามก็คือ แล้วจะได้กุญแจนั้นมาจากไหนในเบื้องต้น
ในเบื้องต้น เพื่อจะได้กุญแจสาธารณะจากผู้ใช้ WebAuthn Relying Party จะลงทะเบียนผู้ใช้[19] ซึ่งคล้ายกับกระบวนการพิสูจน์ผู้ใช้ดังที่กล่าวไปแล้ว แต่แทนที่จะเซ็นรองรับการยืนยันพิสูจน์ตัวตน (assertation) ออเทนทิเคเทอร์จะเซ็นรายงานที่เรียกว่า attestation statement ด้วยกุญแจส่วนตัวของออเทนทิเคเทอร์เองที่ใช้ในกิจนี้ โดยรายงาน attestation ที่เซ็นนี้แล้วส่งไปให้แก่ WebAuthn Relying Party ก็จะแนบเอารหัสสาธารณะของผู้ใช้ที่ WebAuthn Relying Party จะใช้ตรวจสอบการยืนยันพิสูจน์ตัวตนของผู้ใช้ (assertion) ต่อๆ ไป
รายงาน attestation จะมีข้อมูลอภิพันธุ์ที่ระบุตัวออเทนทิเคเทอร์เอง[ต้องการอ้างอิง] ส่วนลายเซ็นดิจิทัลที่ใช้เซ็นรายงาน attestation จะต้องตรวจสอบด้วยกุญแจสาธารณะสำหรับรายงาน attestation ที่เชื่อถือได้สำหรับตัวออเทนทิเคเทอร์รุ่นนั้นๆ แต่ WebAuthn Relying Party จะได้คลังกุญแจสาธารณะที่เชื่อถือได้มาได้อย่างไร มาตรฐานเองก็ไม่ได้ระบุไว้ วิธีหนึ่งก็คือให้ใช้บริการข้อมูลอภิพันธุ์ของไฟโดเอง[20]
ชนิดของ attestation ที่ระบุไว้ในจาวาสคริปต์จะเป็นตัวกำหนดโมเดลความเชื่อใจ (trust model) เช่น สำหรับชนิดที่เรียกว่า self-attestation โมเดลความเชื่อใจก็คือ เชื่อใจเมื่อใช้เป็นครั้งแรก (trust on first use)
การรองรับ
[แก้]เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียมได้แนะนำให้กลุ่ม Web Authentication Working Group ตีพิมพ์เว็บออเทนรุ่นที่ 1 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2019[8][9][21] เว็บบราวเซอร์ต่างๆ รวมทั้งกูเกิล โครม, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, ไมโครซอฟท์ เอดจ์, ซาฟารี[9] และโอเปร่า[22] ล้วนสนับสนุนมาตรฐานนี้
โครมรุ่นบนคอมได้สนับสนุนมาตรฐานนี้ตั้งแต่รุ่นที่ 67[23] ส่วนไฟร์ฟอกซ์ที่ไม่เคยสนับสนุนมาตรฐาน U2F ของไฟโดอย่างเต็มรูปแบบ ก็ได้สนับสนุนมาตรฐานนี้มาตั้งแต่รุ่นที่ 60 ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2018[24] ส่วนเอดจ์สนับสนุนมาตรฐานนี้ให้ใช้ได้ทั้งด้วยวินโดวส์ฮัลโหลและกุญแจความปลอดภัยต่างหาก (external security key) ตั้งแต่ Build 17682[25]
กุญแจความปลอดภัยแบบ U2F ของไฟโดที่มีมาก่อนสามารถเข้ากับมาตรฐานนี้ได้ แต่เว็บออเทนจริงๆ จะสามารถใช้ข้อมูล "user handle" ที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับบัญชีหนึ่งๆ ที่ออเทนทิเคเทอร์แบบ U2F จะไม่เก็บ[1] ออเทนทิเคเทอร์อันแรกๆ ที่สนับสนุนไฟโด 2 ก็คือ ยูบิคีย์ของยูบิโกะ ซึ่งประกาศขายในวันที่ 10 เมษายน 2518[26] ส่วนออเทนทิเคเทอร์ไฟโด 2 ที่มีหน้าจออันแรกก็คือ Trezor Model T ของซาโตชิแหล็บส์ ซึ่งประกาศขายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2019[27] โดยยังเป็นออเทนทิเคเทอร์รุ่นแรกที่ให้ผู้ใช้เลือก resident credential ที่อุปกรณ์ควรจะใช้โดยตรง
บริการเก็บไฟล์ในกลุ่มเมฆ (cloud) คือ Dropbox ได้ประกาศให้ใช้เว็บออเทนเป็นปัจจัยที่ 2 เพื่อลงชื่อเข้าบัญชีตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2018[28]
ส่วนแอปเปิลได้ประกาศว่า Face ID และ Touch ID จะใช้เป็นออเทนทิเคเทอร์ของเว็บออเทนได้เริ่มตั้งแต่ซาฟารีรุ่น 14 ในวันที่ 24 มิถุนายน 2020[29]
เอพีไอ
[แก้]มาตรฐานนี้เป็นการขยายเอพีไอ Credential Management ของ W3C ซึ่งเป็นเอพีไอที่ระบุปฏิสัมพันธ์ระหว่างเว็บไซต์กับเว็บบราวเซอร์เมื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลยืนยันผู้ใช้
คือ เอพีไอของเว็บออเทนทิเคชัน[30][31]
จะขยายเมทอดจาวาสคริปต์ คือ navigator.credentials.create()
และ navigator.credentials.get()
ให้รับพารามิเตอร์เพิ่มคือ publicKey
โดยเมทอด create()
จะเอาไว้ลงบันทึกออเทนทิเคเทอร์ให้สัมพันธ์กับบัญชีผู้ใช้ โดยอาจทำเมื่อสร้างบัญชีใหม่ก็ได้ แต่มักทำเมื่อเพิ่มอุปกรณ์ความปลอดภัยใหม่ในบัญชี
และเมทอด get()
เอาไว้ยืนยันการพิสูจน์ผู้ใช้ (เช่นเมื่อลงชื่อเข้าบัญชี)
สามารถตรวจสอบว่าเว็บบราวเซอร์รับรองเว็บออเทนได้หรือไม่โดยตรวจดูว่าส่วนประสาน window.PublicKeyCredential
นั้นมีกำหนดไว้หรือไม่
มาตรฐานยังกำหนดส่วนประสานอื่นๆ อีกรวมทั้ง AuthenticatorResponse
, AuthenticatorAttestationResponse
และ AuthenticatorAssertionResponse
เอพีไอไม่อนุญาตให้เข้าถึงหรือจัดการกุญแจส่วนตัวได้โดยตรงนอกเหนือไปจากการสร้างกุญแจขึ้นใหม่ในเบื้องต้น
การตอบรับ
[แก้]ในเดือนสิงหาคม 2018 บริษัทที่ชำนาญด้านความปลอดภัยของเว็บ คือ Paragon Initiative Enterprises ได้ตรวจสอบความปลอดภัย (security audit) ของมาตรฐานนี้ แม้จะไม่พบวิธีการแฮ็กระบบอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ก็พบความบกพร่องของวิธีการเข้ารหัสที่มาตรฐานระบุ[32]
ปัญหาหลักมีอยู่ 2 อย่างซึ่งเคยเป็นปัญหากับระบบการเข้ารหัสที่ใช้มาแล้วในอดีต ดังนั้น จริงๆ จึงไม่ควรใช้เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของวิธีการแฮ็กเช่นเดียวกันอีก
- เพราะการกำหนดให้ใช้มาตรฐาน COSE (RFC 8152) เว็บออเทนจึงสนับสนุน RSA ในรูปแบบ PKCS1v1.5 padding ซึ่งรู้แล้วเป็นอย่างน้อย 20 ปีว่าอ่อนแอต่อวิธีการทำลายล้ายบางอย่าง โดยระบบอื่นๆ ที่สนับสนุน RSA ก็เคยถูกแฮ็กมาแล้ว จริงอยู่ว่า จุดอ่อนแอนี้ทำได้ไม่ได้ง่ายในบริบทของเว็บออเทน แต่เพราะมีวิธีทางวิทยาการรหัสลับอื่นๆ ที่ปลอดภัยกว่า จึงถือเป็นทางเลือกที่แย่ และไม่เป็นวิธีปฏิบัติดีที่สุดทางวิทยาการเข้ารหัสลับ
- ไฟโดอัลไลอานซ์ใช้วิธีการเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตรชนิด ECDAA เป็นมาตรฐาน[33] นี่เป็นรูปแบบหนึ่งของ direct anonymous attestation ที่อาศัย elliptic curve ซึ่งเว็บออเทนเอาไว้ใช้พิสูจน์บูรณภาพของออเทนทิเคเทอร์เอง โดยรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ไว้ได้เพราะไม่สามารถเทียบสัมพันธ์ handle ได้ทั่วไป แต่ ECDAA ไม่ได้ใช้บทเรียนที่ได้ทางงานวิจัยในทศวรรษที่ผ่านๆ มาในเรื่องการเข้ารหัสลับด้วย elliptic curve เพราะเส้นโค้งที่เลือกใช้ก็มีข้อบกพร่องด้านความปลอดภัย จึงเท่ากับลดระดับความปลอดภัยอย่างสำคัญ อนึ่ง มาตรฐาน ECDAA ยังใช้ลายเซ็นแบบสุ่มและกำหนดไม่ได้ (non-deterministic) ซึ่งพบในอดีตแล้วว่าเป็นปัญหา
บริษัทยังได้วิจารณ์ถึงกระบวนการที่มาตรฐานนี้ได้พัฒนาขึ้นในเบื้องต้น เพราะมาตรฐานที่เสนอไม่ได้เปิดเผยอย่างเป็นสาธารณะโดยล่วงหน้า และก็ไม่ได้ปรึกษานักวิทยาการรหัสลับที่ชำนาญ ดังนั้น มาตรฐานจึงไม่ได้ผ่านการวิจัยทางวิทยาการรหัสลับอย่างถี่ถ้วน
แม้จะมีปัญหาเช่นนี้ บริษัทก็ยังสนับสนุนให้ผู้ใช้ใช้มาตรฐานนี้ต่อไป บริษัทมีข้อแนะนำสำหรับผู้ทำให้เกิดผลและนักพัฒนามาตรฐานโดยหวังว่าข้อแนะนำจะทำให้เกิดผลก่อนที่มาตรฐานจะได้ออกอย่างเป็นทางการ การหลีกเลี่ยงปัญหาเช่นนี้ตั้งแต่ต้นๆ จะทำให้ไม่ต้องประสบปัญหากับมาตรฐานที่บกพร่องและปัญหาในด้านพัฒนาการที่ต้องทำให้เข้ากับมาตรฐานก่อนๆ ได้
ดูเพิ่ม
[แก้]- พาสคีย์ เป็นการใช้มาตรฐานนี้เพื่อการลงชื่อเข้าบัญชีโดยไร้รหัสผ่าน
- การพิสูจน์ตัวจริงโดยไร้รหัสผ่าน
- การพิสูจน์ตัวจริงด้วยปัจจัยหลายอย่าง สามารถใช้มาตรฐานนี้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยเมื่อใช้ปัจจัยอื่นๆ ในการพิสูจน์ตัวจริง
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Balfanz, Dirk; Czeskis, Alexei; Hodges, Jeff; Jones, J.C.; Jones, Michael B.; Kumar, Akshay; Liao, Angelo; Lindemann, Rolf; Lundberg, Emil, บ.ก. (2019-03-04). "Web Authentication: An API for accessing Public Key Credentials Level 1" (Recommendation ed.). World Wide Web Consortium (W3C). สืบค้นเมื่อ 2019-03-04.
- ↑ "Web Authentication Working Group". World Wide Web Consortium (W3C). สืบค้นเมื่อ 2018-05-11.
- ↑ Strickland, Jonathan (2019-03-18). "What is WebAuthn". TechStuff. iHeartMedia. 20:35 นาที. สืบค้นเมื่อ 2019-03-20.
- ↑ "FIDO2 Project". FIDO Alliance. สืบค้นเมื่อ 2018-05-11.
- ↑ Brand, Christiaan; Czeskis, Alexei; Ehrensvärd, Jakob; Jones, Michael B.; Kumar, Akshay; Lindemann, Rolf; Powers, Adam; Verrept, Johan, บ.ก. (2019-01-30). "Client to Authenticator Protocol (CTAP)". FIDO Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-08. สืบค้นเมื่อ 2019-03-07.
- ↑ "WebAuthn / CTAP: Modern Authentication" (PDF). World Wide Web Consortium (W3C). 2018-12-10. สืบค้นเมื่อ 2019-03-11.
- ↑ Kan, Michael (2019-03-07). "Google: Phishing Attacks That Can Beat Two-Factor Are on the Rise". PC Magazine. สืบค้นเมื่อ 2019-03-08.
- ↑ 8.0 8.1 Balfanz, Dirk; Czeskis, Alexei; Hodges, Jeff; Jones, J.C.; Jones, Michael B.; Kumar, Akshay; Liao, Angelo; Lindemann, Rolf; Lundberg, Emil (บ.ก.). "Web Authentication: An API for accessing Public Key Credentials Level 1 (latest)". World Wide Web Consortium (W3C). สืบค้นเมื่อ 2019-03-04.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "W3C and FIDO Alliance Finalize Web Standard for Secure, Passwordless Logins". World Wide Web Consortium (W3C). 2019-03-04. สืบค้นเมื่อ 2019-03-04.
- ↑
Balfanz, Dirk; Czeskis, Alexei; Hodges, Jeff; Jones, J.C.; Jones, Michael B.; Kumar, Akshay; Lindemann, Rolf; Lundberg, Emil, บ.ก. (2021-04-08). "Web Authentication: An API for accessing Public Key Credentials Level 2" (Latest ed.). World Wide Web Consortium (W3C). สืบค้นเมื่อ 2022-11-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Balfanz, Dirk; Czeskis, Alexei; Hodges, Jeff; Jones, J.C.; Jones, Michael B.; Kumar, Akshay; Lindemann, Rolf; Lundberg, Emil, บ.ก. (2021-04-04). "Web Authentication: An API for accessing Public Key Credentials Level 3" (First Public Working Draft ed.). World Wide Web Consortium (W3C). สืบค้นเมื่อ 2021-12-24.
- ↑ Baghdasaryan, Davit; Hill, Brad (2018-07-02). "FIDO Registry of Predefined Values". fidoalliance.org. FIDO Alliance. สืบค้นเมื่อ 2019-06-16.
- ↑ "Web Authentication: An API for accessing Public Key Credentials Level 1 § Terminology: User Verification". www.w3.org. W3C. 2019-03-04. สืบค้นเมื่อ 2019-06-16.
- ↑ "Web Authentication API". Mozilla. Section Authentication. สืบค้นเมื่อ 2019-03-18.
- ↑ Simons, Alex (2018-11-20). "Secure password-less sign-in for your Microsoft account using a security key or Windows Hello". Microsoft. สืบค้นเมื่อ 2019-03-06.
- ↑ "Android Now FIDO2 Certified, Accelerating Global Migration Beyond Passwords". BARCELONA: FIDO Alliance. 2019-02-25. สืบค้นเมื่อ 2019-03-06.
- ↑ "Touch ID and Beyond: Duo's Plans for WebAuthn". Duo Security. 2019-03-05. สืบค้นเมื่อ 2019-03-08.
- ↑ Steele, Nick (2019-02-27). "How WebAuthn aims to solve the password problem". Help Net Security. สืบค้นเมื่อ 2019-03-08.
- ↑ "Web Authentication API". Mozilla. Section Registration. สืบค้นเมื่อ 2019-03-18.
- ↑ "Metadata Service". FIDO Alliance. สืบค้นเมื่อ 2019-03-18.
- ↑ Protalinski, Emil (2019-03-04). "W3C Approves WebAuthn as the Web Standard for Password-Free Logins".
- ↑ "Can I use Web Authentication API?". สืบค้นเมื่อ 2019-03-07.
- ↑ Brand, Christiaan (2018-06-03). "Enabling Strong Authentication with WebAuthn". Google Developers. สืบค้นเมื่อ 2018-06-25.
- ↑ Shankland, Stephen (2018-05-09). "Firefox moves browsers into post-password future with WebAuthn tech". CNET. สืบค้นเมื่อ 2018-05-11.
- ↑ Sarkar; และคณะ (2018-05-23). "Announcing Windows 10 Insider Preview Build 17682". Microsoft. สืบค้นเมื่อ 2018-06-25.
- ↑ "Yubico Launches New Developer Program and Security Key for FIDO2 and WebAuthn W3C Specifications" (Press release). 2018-04-10. สืบค้นเมื่อ 2018-05-11.
- ↑ "Make Passwords a Thing of the Past, FIDO2 Is Now Available on Trezor Model T". 2019-11-06. สืบค้นเมื่อ 2019-11-06.
- ↑ Girardeau, Brad (2018-05-08). "Introducing WebAuthn support for secure Dropbox sign in". Dropbox Tech Blog. Dropbox. สืบค้นเมื่อ 2018-05-11.
- ↑ "Safari 14 Release Notes". Apple Developer Documentation. 2022-12-16. สืบค้นเมื่อ 2022-12-16.
- ↑ "Web Authentication API". Mozilla. สืบค้นเมื่อ 2019-03-16.
- ↑ Ackermann, Yuriy (2019-01-15). "Introduction to WebAuthn API". Medium. สืบค้นเมื่อ 2019-03-08.
- ↑ "Security Concerns Surrounding WebAuthn: Don't Implement ECDAA (Yet)". Paragon Initiative Enterprises Blog. 2018-08-23. สืบค้นเมื่อ 2018-10-09.
- ↑ "FIDO ECDAA Algorithm". FIDO Alliance. 2018-02-27. สืบค้นเมื่อ 2018-10-09.