บาเกะดานูกิ
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/7c/SekienTanuki.jpg/220px-SekienTanuki.jpg)
บาเกะดานูกิ (ญี่ปุ่น: 化け狸; โรมาจิ: Bake-danuki) เป็นหนึ่งในโยไกที่พบในคติชนและตำนานญี่ปุ่น ซึ่งมักเชื่อมโยงกับจิ้งจอกแรคคูนญี่ปุ่นหรือ ทานูกิ
ถึงแม้ว่า ทานูกิ เป็ยสัตว์ที่มีตัวตนจริง แต่ บาเกะดานูกิ ที่ปรากฏในวรรณกรรมเป็นสัตว์ที่ประหลาด และแม้แต่เหนือธรรมชาติ โดยปรากฏในวรรณกรรมแรกสุดในบทเกี่ยวกับจักรพรรดินีซูอิโกะใน นิฮงโชกิ ดังตัวอย่างในข้อความนี้ "ในฤดูใบไม้ผลิสองเดือน มีทานูกิในแถบชนบทของมุตสึ (春二月陸奥有狢)[1] พวกมันจะแปลงร่างเป็นมนุษย์และร้องเพลง (化人以歌)"[2][3][4] บาเกะดานูกิยังปรากฏในวรรณกรรมคลาสสิกต่าง ๆ เช่น นิฮงเรียวอิกิ[3][5][6] และอูจิชูอิโมโนงาตาริ[3] ในบางภูมิภาคของญี่ปุ่น บาเกะดานูกิ มีชื่อเสียงจากการมีทักษะคล้ายกับ คิตสึเนะ (สุนัขจิ้งจอก): พวกมันสามารถแปลงร่างเป็นวัตถุหรือมนุษย์[3][6] และสามารถเข้าสิงมนุษย์ได้[3][7]
ลักษณะ
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/1e/Hokusai_tea-kettle_raccoon.jpg/220px-Hokusai_tea-kettle_raccoon.jpg)
ทานูกิ เป็นสัตว์ที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า เป็นปีศาจที่สามารถแปลงร่างได้ โดยใช้ใบไม้แปะไว้ที่หน้าผาก โดยความเชื่อนี้ปรากฏให้เห็นบ่อย ๆ ตามสื่อในวัฒนธรรมร่วมสมัยต่าง ๆ อย่างการ์ตูนญี่ปุ่น เช่น ปอมโปโกะ ทานูกิป่วนโลก ใน ค.ศ. 1994 เป็นต้น[8] โดยเชื่อว่าเป็นสัตว์ที่ชอบดื่มเหล้าสาเก แต่จะไม่ซื้อเหล้าสาเกให้เปลืองเงินแต่จะใช้วิธีการแปลงร่างหลอกเอาเหล้ามาดื่ม รักสนุก และจะชอบหลอกมนุษย์ด้วยการแปลงลูกอัณฑะให้มีขนาดใหญ่ด้วย[9]
ความเชื่อของมนุษย์ต่อทานูกิ
[แก้]เชื่อว่าความเชื่อเรื่องทานูกิของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากจีนพร้อมกับความเชื่อเรื่องปีศาจจิ้งจอก ซึ่งในจีนแทบไม่มีความเชื่อเรื่องทานูกิอยู่เลย แต่มีการสับสนในชนิดของสัตว์เมื่อถึงญี่ปุ่น[9]
โดยคำว่า "狸" เป็นคำคุณศัพท์ในภาษาจีนกลางสมัยใหม่ (ออกเสียง "หลี่") เดิมมีความหมายถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลาง เช่น แมว เป็นหลัก แต่เมื่อคำนี้ได้ถูกนำมาใช้ในญี่ปุ่น ปัญญาชนชาวญี่ปุ่นไม่อาจหาสัตว์ที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ได้ จึงใช้ไปในความหมายทั่วไปเช่น ทานูกิ, แมวดาว, แบดเจอร์ยุโรป, เพียงพอน และกระรอกบินยักษ์ญี่ปุ่น[10][11]
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/1f/Shigaraki_Tanuki.jpg/220px-Shigaraki_Tanuki.jpg)
ปัจจุบันในญี่ปุ่น มักปรากฏเครื่องปั้นดินเผารูปทานูกิยืนสองขา พุงป่อง สวมหมวกฟาง มือข้างนึงถือขวดเหล้าสาเก และอีกข้างถือถุงเงินที่ยังไม่ได้ใช้ประดับอยู่ตามหน้าร้านเหล้า ร้านอาหาร หน้าวัดหรือศาลเจ้า บ้านเรือนทั่วไป หรือกระทั่งข้างทางถนน นัยว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีเหมือนมาเนกิเนโกะ ซึ่งรูปปั้นดินเผานี้ชื่อ "ชิงารากิยากิ" (信楽焼き) มีแหล่งผลิตเพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือ เมืองชิงารากิ อำเภอโคกะ จังหวัดชิงะ[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dōbutsu Yōkaitan. p. 106.
- ↑ The translation of this into modern Japanese can be found on page 13 of ญี่ปุ่น: 『DISCOVER妖怪 日本妖怪大百科 VOL.07』; โรมาจิ: Discover Yōkai Nihon Yōkai Daihyakka. Furthermore, the 「狢」 in the document here are not mujina, but rather, signify tanuki
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Dōbutsu Yōkaitan. Vol. 2. pp. 105–139.
- ↑ Murakami, Kenji (2008). "ญี่ปุ่น: 妖怪となった狐と狸; โรมาจิ: Yōkai to natta kitsune to tanuki". ใน 講談社コミッククリエイト (บ.ก.). Discover Yōkai Nihon Yōkai Daihyakka 妖怪 日本妖怪大百科. KODANSHA Official File Magazine. Vol. 07. Kōdansha. p. 15. ISBN 978-4-06-370037-4.
- ↑ Tanuki to sono sekai. pp. 209–212.
- ↑ 6.0 6.1 Gensō sekai no jūnintachi. pp. 235–240.
- ↑ Sano, Kenji; และคณะ. Minkan shinkō jiten. p. 184.
- ↑ Clements, Jonathan; McCarthy, Helen (2006). The Anime Encyclopedia. California: Stone Bridge Press. ISBN 1-933330-10-4.
- ↑ 9.0 9.1 Tanuki – Japanese God of Restaurateurs, Japanese Buddhism & Shintoism Photo Dictionary (อังกฤษ)
- ↑ Dōbutsu Yōkaitan. p. 106.
- ↑ The translation of this into modern Japanese can be found on page 13 of ญี่ปุ่น: 『DISCOVER妖怪 日本妖怪大百科 VOL.07』; โรมาจิ: Discover Yōkai Nihon Yōkai Daihyakka. Furthermore, the 「狢」 in the document here are not mujina but rather, signify tanuki
- ↑ Gordenker, Alice (25 July 2008). "Tanuki genitals". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 3 March 2013.