บาตัม
ภูมิศาสตร์ | |
---|---|
ที่ตั้ง | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
กลุ่มเกาะ | หมู่เกาะรีเยา |
การปกครอง | |
อินโดนีเซีย | |
ประชากรศาสตร์ | |
ประชากร | 915,882 คน |
ข้อมูลอื่น ๆ | |
เว็บไซต์ทางการ | http://www.batamkota.go.id/ |
บาตัม (Batam) เป็นเกาะและเป็นเมืองหนึ่งในจังหวัดเกอปูเลาวันรีเยา ของประเทศอินโดนีเซีย เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะพื้นที่เขตการค้าเสรีของสามเหลี่ยมเศรษฐกิจซิโจรี (SIJORI Growth Triangle) อยู่ห่างจากชายฝั่งทางใต้ของสิงคโปร์ 20 กิโลเมตร เกาะนี้มีขนาด 715 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 791,605 คน (พ.ศ. 2551) [1]
ภาษาทางการบนเกาะนี้คือ ภาษาอินโดนีเซีย แต่เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีน จึงมีการใช้ภาษาจีนหลายถิ่น เช่น แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน และภาษาจีนกลางด้วย
ภูมิศาสตร์
[แก้]บาตัมอยู่ทางตะวันออกของการีมุน (Karimun) และเกาะบูลัน (Bulan Island) ทางตะวันตกของบินตัน (Bintan) ทางเหนือของเริมปัง (Rempang) และทางใต้ของสิงคโปร์ โดยมีช่องแคบรีเยา (Riau Strait หรือ Selat Riau) แยกระหว่างบาตัม และบินตัน
ชุมชนหลักบนเกาะบาตัมได้แก่ เซกูปัง, โจโดะฮ์, นาโกยา, ซูไงปานัซ, บาตัมเซ็นเตอร์, บาตูอัมปาร์ และเบิงกง
ภูมิอากาศ
[แก้]ข้อมูลภูมิอากาศของบาตัม (1991-2020) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 30.4 (86.7) |
30.9 (87.6) |
31.4 (88.5) |
32.0 (89.6) |
32.0 (89.6) |
31.5 (88.7) |
31.3 (88.3) |
31.3 (88.3) |
31.3 (88.3) |
31.5 (88.7) |
30.8 (87.4) |
30.4 (86.7) |
31.2 (88.2) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 27.4 (81.3) |
27.8 (82) |
28.0 (82.4) |
28.4 (83.1) |
28.4 (83.1) |
28.1 (82.6) |
27.9 (82.2) |
27.9 (82.2) |
27.7 (81.9) |
27.8 (82) |
27.5 (81.5) |
27.3 (81.1) |
27.9 (82.2) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 24.3 (75.7) |
24.6 (76.3) |
24.6 (76.3) |
24.7 (76.5) |
24.8 (76.6) |
24.6 (76.3) |
24.4 (75.9) |
24.4 (75.9) |
24.1 (75.4) |
24.1 (75.4) |
24.1 (75.4) |
24.2 (75.6) |
24.4 (75.9) |
แหล่งที่มา: https://cuacalab.id/cuaca_batam/ |
เศรษฐกิจ
[แก้]ในราว พ.ศ. 2510 (ต้นคริสต์ทศวรรษ 1970) เกาะแห่งนี้อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากพื้นที่ทำป่าไม้ขนาดใหญ่ เป็นเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือหลัก ประชากรเพิ่มขึ้นจากไม่กี่พันคนในราว พ.ศ. 2500 จนเป็นแสนคน ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของเกาะนี้มาจากการอยู่ติดกับสิงคโปร์ และต้นทุนแรงงานต่ำ กับได้แรงจูงใจพิเศษจากรัฐบาล จึงเป็นแหล่งโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากที่ดำเนินการโดยบริษัทของสิงคโปร์ การต่อเรือและการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมหลักของเกาะนี้ นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวและรีสอร์ตจำนวนมาก [2]
จากกรอบแนวคิดที่ลงนามไปเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 ทำให้บาตัมพร้อมกับพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ บินตัน และการีมุน กลายเป็นส่วนหนึ่งของเขตเศรษฐกิจพิเศษกับสิงคโปร์ โดยในเขตนี้จะไม่จัดเก็บภาษีศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าที่ขนส่งระหว่างบาตัมและสิงคโปร์[3]
การคมนาคม
[แก้]การเดินทางระหว่างเกาะนี้กับเมืองอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงได้โดยมีบริการเรือเฟอร์รีจำนวนมาก เช่น เดินทางไปยังบินตัน, การีมุน, สิงคโปร์ และโจโฮร์บะฮ์รู (ประเทศมาเลเซีย) ส่วนการเดินทางไปสิงคโปร์นั้นใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง
สนามบินฮังนาดิม (Hang Nadim Airport) เป็นสนามบินแห่งเดียวของเกาะนี้ โดยมีรันเวย์ยาวที่สุดในอินโดนีเซีย และจาการ์ตาเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุด
สะพาน "บาเรลัง" เป็นจุดเด่นที่สำคัญอย่างหนึ่งบนเกาะบาตัม ซึ่งเป็นชื่อที่ย่อมาจาก บาตัม-เริมปัง-กาลัง (Batam-Rempang-Galang) อันเป็นชื่อของเกาะใหญ่สามเกาะที่สะพานนี้เชื่อมถึง สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยที่ฮาบิบีเป็นรัฐมนตรีกระทรวงวิจัยและเทคโนโลยี โดยได้ทุนจากรัฐบาลเยอรมัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Batam Industrial Development Authority". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-02. สืบค้นเมื่อ 2009-05-13.
- ↑ "Indonesia President inaugurates Batam free trade zone". Xinhua General News Service. January 19, 2009.
- ↑ Teo, Laurel (May 19, 2007), "Indon SEZ rules ready by end-May; Setting of a deadline likely to please potential investors", The Business Times Singapore
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการของเมืองบาตัม
- http://www.batam.go.id/ BIDA/Otorita