บันด์
หน้าตา
บันด์ (เทวนาครี: बंद ทับศัพท์เป็น Bandh; แปลตรงตัว: ปิด, มาจากเปอร์เซีย: بند[2]) เป็นรูปแบบการประท้วงทางการเมืองในเอเชียใต้โดยเฉพาะอินเดียกับเนปาล คล้ายคลึงกับการนัดประท้วงหยุดงาน โดยประกาศและกระทำโดยพรรคการเมือง ชุมชน หรือกลุ่มคน[3] หนึ่งในคำที่ปรากฏใช้มากในอินเดียคือ "ภารตบันด์" (Bharat bandh) ซึ่งหมายถึงการเรียกร้องให้กระทำบันด์ทั้งประเทศ
ชุมชนหรือพรรคการเมืองที่ประกาศบันด์จะคาดหวังให้สาธารณชนผู้เข้าร่วมโดยทั่วไปอยู่ที่บ้านและไม่เดินทางมาทำงาน, ร้านค้าปิดบริการ และการชนส่งสาธารณะ รถโดยสารประจำทาง รถแท็กซี่ ไม่ลงขับตามถนนหรือไม่รับผู้โดยสาร และเคยสำเร็จในระดับนครมาแล้ว เช่นครั้งหนึ่งที่เบงกาลูรุในปี 2012[4] บันด์อาจเรียกได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการดื้อแพ่ง และส่วนใหญ่มีเป้าหมายเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเฉพาะต่าง ๆ [5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.newindianexpress.com/cities/hyderabad/2012/aug/20/bank-strike-on-august-22-23-398653.html
- ↑ Berntsen, Maxine, “बंद”, in A Basic Marathi-English Dictionary, New Delhi: American Institute of Indian Studies, 1982-1983.
- ↑ "Will Bharat Bandh shut Mumbai down on Thursday?". NDTV. 28 May 2012. สืบค้นเมื่อ 30 May 2012.
- ↑ "Bengaluru to shut on Bharat Bandh". Deccan Chronicle. สืบค้นเมื่อ 30 May 2012.
- ↑ "Bharat Bandh on May 31 against UPA's petrol bomb". Yahoo News. สืบค้นเมื่อ 30 May 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Johari, J. C. (1982). Comparative Politics. Sterling Publishers Pvt. Ltd, New Delhi. ISBN 8120704681. Chapter 20: Techniques of Pressure Politics. pp. 393–410.