ข้ามไปเนื้อหา

บอลติกเวย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บอลติกเวย์
โซ่มนุษย์กำลังเชื่อมกันในสามเมืองหลวงของรัฐบอลติก คือกรุงทาลลินน์ กรุงริกา และกรุงวิลนีอุส
วันที่23 สิงหาคม ค.ศ. 1989 (1989-08-23)
ที่ตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย, สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย
ชื่ออื่นโซ่มนุษย์แห่งเสรีภาพของบอลติก (Baltic Chain of Freedom)
ผู้เข้าร่วมประมาณ 2 ล้านคน
เว็บไซต์balticway.net
ผู้เข้าร่วมเหตุการณ์ต่างนำวิทยุพกพาติดตัวไปด้วย เพื่อให้ทราบเวลาที่แน่ชัดในการเรียงแถวโซ่มนุษย์จากกรุงทาลลินน์ผ่านกรุงรีกาไปยังกรุงวิลนีอุส นอกจากนี้ยังได้ติดเข็มตราสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความสามัคคีของคนทั้งสามรัฐในการเรียกร้องเอกราชจากสหภาพโซเวียตอีกด้วย

บอลติกเวย์ (อังกฤษ: Baltic Way[1]; เอสโตเนีย: Balti kett; ลัตเวีย: Baltijas ceļš; ลิทัวเนีย: Baltijos kelias; รัสเซีย: Балтийский путь) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ่นในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2532 ซึ่งมีผู้คนร่วมออกมาเรียงแถวเป็นโซ่มนุษย์ยาวมากกว่า 600 กิโลเมตร (370 ไมล์) ผ่านรัฐบอลติก 3 รัฐ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 50 ของกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ ภายหลังการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์แถบบอลติก เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2532 ก็ได้ถือเอาวันที่ 23 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันริบบิ้นสีดำ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wolchik, Sharon L.; Jane Leftwich Curry (2007). Central and East European Politics: From Communism to Democracy. Rowman & Littlefield. p. 238. ISBN 0-7425-4068-5.