บรอดแบนด์
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
คำว่า บรอดแบนด์ (อังกฤษ: Broadband) หมายถึงลักษณะสมบัติแบนด์วิดท์ที่กว้างของความถี่แม่เหล็กไฟฟ้าบนสื่อกลางการส่งและความสามารถในการขนส่งหลายสัญญาณและหลายประเภทของการจราจรได้พร้อมๆกัน สื่อกลางอาจเป็น สายเคเบิลแกนร่วม (coax), ใยแก้วนำแสง, สายเคเบิลตีเกรียว (twisted pair) หรือไร้สาย ตรงกันข้ามกับ baseband ที่เป็นระบบการสื่อสารที่ข้อมูลถูกส่งผ่านไปในความถี่เดียว.
ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์ของบรอดแบนด์ที่บ้าน, การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทำได้เพียงวิธีการเดียวด้วยการใช้โทรศัพท์เรียกเข้าไป (dial-up) ซึ่งจะใช้เวลาราว 10-30 นาทีในการดาวน์โหลด เพลงหนึ่ง (3.5 MB) และกว่า 28 ชั่วโมงเพื่อดาวน์โหลดภาพยนตร์ (700 MB) อินเทอร์เน็ตแบบ Dial-Up ก็ถือว่าสะดวกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยหมดสิทธิ์การใช้สายโทรศัพท์บ้านและผู้ใช้จะต้องพิจารณาว่าจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีสายโทรศัพท์สายที่สองและหากจำเป็นต้องมีก็ต้องพิจารณาว่าคุ้มค่าใช้จ่ายหรือไม่
ในปี 1997, เคเบิลโมเด็มเริ่มเปิดให้บริการ ถึงแม้ว่าการใช้งานทั่วไปของบรอดแบนด์ยังไม่เริ่มขึ้นจนกว่า 2001. การเชื่อมต่อบรอดแบนด์ทำให้การดาวน์โหลดทำได้เร็วกว่า dial-up อย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะจ่ายค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่เร็วกว่าได้ อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายที่สูงไม่ได้เป็นปัจจัยอีกต่อไปในปี 2004 ครัวเรือนอเมริกันโดยเฉลี่ยถือว่าค่าบริการบรอดแบนด์พอจะจ่ายได้ นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นบรอดแบนด์มีความเข้มแข็งมากขึ้นและความเร็วการเชื่อมต่อยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เกณฑ์ที่แตกต่างกันสำหรับ "ความกว้าง" ได้ถูกนำมาใช้ในบริบทที่แตกต่างกันและเวลาที่ต่างกัน ต้นกำเนิดของมันคือในวิชาฟิสิกส์, วิศวกรรมระบบอะคูสติกและวิทยุ ที่มันได้ถูกนำมาใช้มีความหมายคล้ายกับ wideband. อย่างไรก็ตาม คำๆนี้กลายเป็นที่นิยมตลอดช่วงปี 1990 ว่าเป็นคำการตลาดที่คลุมเครือสำหรับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
ความหมายในการสื่อสารโทรคมนาคม
[แก้]บรอดแบนด์หมายถึงแบนด์วิดธ์การสื่อสารอย่างน้อย 256 kbit/วินาที แต่ละช่องกว้าง 6 MHz และใช้ช่วงกว้างของความถี่ในการถ่ายทอดและรับข้อมูลระหว่างเครือข่ายได้อย่างง่ายดาย. วิธีการส่งสัญญาณแบบบรอดแบนด์เป็นการจัดการกับแถบที่กว้างของความถี่ บรอดแบนด์เป็นคำคุณศัพท์และให้ความหมายตามตัวอักษร แบนด์วิดท์ของช่องสัญญาณยิ่งกว้างเท่าไร ความจุของข้อมูลที่ขนส่งมายิ่งมากเท่านั้น ถ้าช่องสัญญาณมีคุณภาพเท่ากัน
ตัวอย่างเช่นในวิทยุ แถบที่แคบมากๆจะใช้ส่งรหัสมอร์ส; แถบที่กว้างกว่าจะใช้ส่งคำพูดหรือเสียงดนตรีโดยไม่สูญเสียความถี่เสียงสูงที่จำเป็นสำหรับการสร้างเสียงที่สมจริง แถบที่กว้างนี้มักถูกแบ่งออกเป็นช่องหรือความถี่ที่ใช้เทคนิค passband เพื่อทำ frequency-division multiplexing แทนที่จะส่งสัญญาณมีคุณภาพสูงความถี่เดียว
เสาอากาศโทรทัศน์อาจจะอธิบายได้ว่าเป็น "บรอดแบนด์" เพราะมันมีความสามารถในการรับได้หลายช่องสัญญาณ ในขณะที่เสาอากาศความถี่เดียวหรือ Lo-VHF เป็น "narrowband" เนื่องจากที่มันรับได้เพียง 1-5 ช่องเท่านั้น มาตรฐาน FS-1037C ของรัฐบาลกลางสหรัฐ กำหนด "บรอดแบนด์" เป็นคำพ้องกับ wideband.
ในการสื่อสารข้อมูล โมเด็ม 56k จะส่งข้อมูลอัตราความเร็ว 56 กิโลบิตต่อวินาที บนสายโทรศัพท์แถบความถี่กว้าง 4 กิโลเฮิรตซ์ (narrowband หรือ voiceband) รูปแบบต่างๆของบริการ digital subscriber line (DSL) จะเป็นบรอดแบนด์ในแง่ที่ว่าข้อมูลดิจิตอลจะถูกส่งผ่านช่องทางที่มีแบนด์วิธสูง ที่อยู่ในย่านความถี่สูงพร้อมกับช่องสัญญาณเสียงเบสแบนด์ความถี่ต่ำในคู่สายเดียว ดังนั้นมันจึงสามารถให้บริการโทรศัพท์ธรรมดาในเวลาเดียวกับบริการ DSL
อย่างไรก็ตาม เมื่อคู่สายนั้นถูกแปลงให้เป็นสายตีเกรียวไม่มีโหลด (ไม่มีตัวกรองโทรศัพท์) มันจะกลายเป็นสายเคเบิลที่สามารถส่งข้อมูลที่มีแถบกว้างหลายร้อยกิโลเฮิร์ตซ์ (บรอดแบนด์) และสามารถส่งข้อมูลได้ถึง 60 เมกะบิตต่อวินาทีโดยใช้เทคนิค very-high-bitrate digital subscriber line (VDSL หรือ VHDSL)
ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 Broadband Integrated Services Digital Network (B-ISDN) เป็นคำที่ใช้เพื่ออ้างถึงช่วงกว้างของอัตราบิตที่เป็นอิสระจากรายละเอียดการ modulation ทางกายภาพ.
ความหมายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
[แก้]เครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมากใช้รหัสเส้นที่เรียบง่ายในการส่งหนึ่งประเภทของสัญญาณโดยการใช้แบนด์วิดธ์เต็มรูปแบบของสื่อกลางโดยใช้ baseband ของมัน (จากความถี่ศูนย์จนถึงความถี่สูงสุดที่ต้องการ) รุ่นส่วนใหญ่ของครอบครัวอีเธอร์เน็ตที่นิยมจะได้รับชื่ออย่างเช่น 10BASE5 เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นของเดิมปี 1980 เครือข่ายที่ใช้เคเบิลโมเด็มบนโครงสร้างพื้นฐานเคเบิลทีวีมาตรฐานจะเรียกว่าบรอดแบนด์เพื่อระบุช่วงกว้างของความถี่ที่สามารถรวมข้อมูลผู้ใช้หลายคนเช่นเดียวกับโทรทัศน์แบบดั้งเดิมในสายเส้นเดียวกัน ระบบบรอดแบนด์มักจะใช้คลื่นความถี่วิทยุที่แตกต่างกันที่ถูก modulate โดยสัญญาณข้อมูลสำหรับแต่ละกลุ่ม. แบนด์วิดธ์รวมของสื่อกลางมีขนาดใหญ่กว่าแบนด์วิดท์ของช่องใด ๆ .
10BROAD36 ตัวแปรบรอดแบนด์ของอีเธอร์เน็ตเป็นมาตรฐานในปี 1985 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์. มาตรฐาน DOCSIS ให้บริการกับผู้บริโภคในช่วงปลายทศวรรษ 1990 เพื่อให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสำหรับลูกค้าที่อยู่อาศัยที่ใช้โทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกด้วยเคเบิลโมเด็ม เรื่องสับสนมากขึ้นโดยข้อเท็จจริงที่ว่ามาตรฐานอีเธอร์เน็ต 10PASS-TS ที่ให้สัตยาบันในปี 2008 และใช้เทคโนโลยี DSL นั้น ทั้งเคเบิลโมเด็มและ DSL โมเด็มมักจะมีหัวต่ออีเธอร์เน็ตบนตัวมันเองทั้งคู่
สายไฟฟ้าก็ยังคงถูกนำมาใช้สำหรับประเภทต่างๆของการสื่อสารข้อมูล แม้ว่าระบบบางอย่างสำหรับการควบคุมระยะไกลจะขึ้นอยู่กับการส่งสัญญาณ narrowband, ระบบความเร็วสูงที่ทันสมัยใช้การส่งสัญญาณแบบบรอดแบนด์เพื่อให้บรรลุอัตราการส่งข้อมูลที่สูงมาก ตัวอย่างหนึ่งคือ ITU-T G.hn มาตรฐานซึ่งมีวิธีการสร้างเครือข่ายแลนความเร็วสูง (ถึง 1 Gb/s) โดยใช้สายไฟที่มีอยู่ในบ้าน (รวมถึงสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์และสาย coaxial)
ความหมายในวิดีโอ
[แก้]บรอดแบนด์ในการจัดจำหน่ายวิดีโอแอนะล็อกถูกใช้เป็นประเพณีในการอ้างถึงระบบเช่นเคเบิลทีวีที่แต่ละช่องถูก modulated บนคลื่นพาหะที่ความถี่คงที่. ในบริบทนี้ baseband เป็นคำตรงกันข้าม หมายถึงช่องเดียวของวิดีโอแบบแอนะล็อก ซึ่งโดยปกติจะอยู่ในรูปแบบคลื่นผสมแต่มีเสียงพื้นฐานที่แยกต่างหาก. การ demodulating จะแปรรูปวิดีโอบรอดแบนด์ให้เป็น baseband วิดีโอ
อย่างไรก็ตาม วิดีโอบรอดแบนด์ในบริบทของวิดีโออินเทอร์เน็ตสตรีมมิ่งจะหมายถึงไฟล์วิดีโอที่มีอัตราบิตสูงพอที่จะต้องเข้าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับการดู
วิดีโอบรอดแบนด์บางครั้งยังใช้ในการอธิบายถึงวิดีโอ IPTV ตามสั่ง.
ความหมายในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
[แก้]บทความหลัก: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
มาตรฐานกลุ่ม CCITT ในปี 1988 กำหนดไว้ว่า "บริการบรอดแบนด์" ต้องการช่องทางส่งผ่านที่มีความสามารถในการสนับสนุนอัตราบิตที่สูงกว่าอัตราการขั้นต้นที่แตกต่างกันตั้งแต่ประมาณ 1.5-2 Mbit/s. โครงการโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลแห่งชาติของสหรัฐในช่วงทศวรรษที่ 1990 ได้นำนิยามนี้เข้าสู่การอภิปรายนโยบายสาธารณะ.
นิยามของ broadband โดย สวทช [1] คือ
"เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่สามารถรับส่งข้อมูลจำนวนมากผ่านสื่อใช้สาย เช่น เคเบิลใยแก้วนำแสง สายเคเบิลทีวี สายโทรศัพท์ (DSL) หรือสื่อไร้สายเช่น 3G, 4G/LTE และ WiMAX โดยความเร็วของการรับส่งข้อมูลตามที่กรอบนโยบาย ICT 2020 กำหนดนั้นจะอยู่ที่ 768 กิโลบิตต่อวินาทีซึ่งเป็นความเร็วขั้นต่ำ ไปจนถึง 100 ล้านบิตต่อวินาทีขึ้นไป ซึ่งเป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาก หรือ Ultra Broadbandอนึ่ง กรอบนโยบาย ICT 2020 นี้อ้างอิง ชั้นความเร็วของการรับส่งข้อมูล (Broadband Speed Tiers) ตามที่ Feral Communications Commission แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งหมด 7 กลุ่ม (Tiers) ได้แก่
1st Generation Data - 200 kbps to 768 kbps
Basic Broadband Tiers 1 - 768 kbps to 1.5 Mbps
Broadband Tiers 2 - 1.5 Mbps to 3 Mbps
Broadband Tiers 3 - 3 Mbps to 6 Mbps
Broadband Tiers 4 - 6 Mbps to 10 Mbps
Broadband Tiers 5 - 10 Mbps to 25 Mbps
Broadband Tiers 6 - 25 Mbps to 3 Mbps
Broadband Tiers 7 - Greater to 100 Mbps
[เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ]"
บรอดแบนด์กลายเป็นวลีทางการตลาดที่นิยมกันมากสำหรับบริษัทโทรศัพท์และเคเบิลทีวีที่จะขายผลิตภัณฑ์รับส่งข้อมูลอัตราควาเร็วสูงในราคาแพงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ในแผนบรอดแบนด์แห่งชาติ ปี 2009 ของสหรัฐอเมริกา มันถูกกำหนดให้เป็น "การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตตลอดเวลาและเร็วกว่าการเข้าถึงทั่วไปแบบ Dial-Up". หน่วยงานเดียวกันได้กำหนดนิยามนี้แตกต่างกันไปตลอดทั้งปี.
ในปี 2000, 3% ของประชากรผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกามีการเข้าถึงการเชื่อมต่อบรอดแบนด์ที่บ้าน และเพิ่มขึ้นเป็น 66% ในปี 2010 ในทางตรงกันข้ามการเชื่อมต่อ dial-up ลดลงจาก 34% ในปี 2000 เป็น 5% ในปี 2010.
แม้ว่าสัญญาณข้อมูลจะเดินทางโดยทั่วไปเกือบเท่าความเร็วของแสงในสื่อกลางไม่ว่าอัตราการรับส่งบิตจะเป็นเท่าไร การบริการที่มีอัตราสูงกว่ามักจะออกวางตลาดในฐานะ "เร็วกว่า" หรือ "ความเร็วสูงกว่า" (คำว่า "ความเร็ว" นี้อาจเหมาะสม หรืออาจจะไม่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับบริบท. มันจะชัดเจนถ้าจะพูดว่า ไฟล์ในขนาดเดียวกันโดยปกติจะใช้เวลาการถ่ายโอนจนเสร็จสิ้นน้อยกว่า ถ้ามันถูกส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเมื่อเทียบกับ dial-up.) ผู้บริโภคยังถูกกำหนดเป้าหมายโดยการโฆษณาให้ใช้อัตราการส่งสูงสุด ในขณะที่อัตราการรับส่งแบบ end-to-end ที่เกิดขึ้นจริงจากการสังเกตในทางปฏิบัติอาจจะลดลงเนื่องจากปัจจัยอื่น ๆ .
การสื่อสารบรอดแบนด์ (Broadband Communications)
หรือการสื่อสารแบบแถบความถี่กว้าง เป็นคำที่ใช้ทั้งในระบบสื่อสารโทรคมนาคม และระบบสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ เพื่อเรียกกลุ่มของเทคโนโลยี ที่ใช้แถบความถี่กว้าง ในการสื่อสารหรือใช้ช่องสัญญาณสื่อสารข้อมูล ที่มีความสามารถในการส่งข้อมูลปริมาณมาก มีลักษณะการใช้งานช่องสัญญาณสื่อสารเพียงหนึ่งช่องหรือหลายช่องสัญญาณได้พร้อมกัน โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีบรอดแบนด์มีความสามารถในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัลด้วยอัตราการส่งข้อมูลความเร็วสูง และสามารถให้บริการสื่อสารข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่นทั้งภาพและเสียงพร้อมกัน
เทคโนโลยีการเชื่อมต่อ Internet ความเร็วสูง (Hi-speed Internet) โดยมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบใช้สาย (Cable,DSL) และไม่ใช้สาย (Wireless)โดยส่วนใหญ่จะหมายถึง Internet แบบ Leased Line ซึ่งมีใช้งานเฉพาะในองค์กรใหญ่ๆ เนื่องจากมีราคาแพง โดยมีลักษณะแบบเช่าคู่สายเดี่ยวจาก ISP (Internet service Provider) วิ่งเข้าหาบริษัทโดยตรง ไม่ต้อง Share Bandwidth กับใคร ซึ่งจะทำให้การเข้าถึงเครือข่ายเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและ Internet มีเสถียรภาพซึ่งมีลักษณะการเชื่อมต่อแบ่งเป็น 3 รูปแบบได้แก่ 1.เชื่อมต่อผ่านสาย Cable modem 2.เชื่อมต่อผ่านสาย DSL 3.เชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless)
1) การเชื่อมต่อแบบใช้สาย Cable Cable modems เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกับสายเคเบิลทีวี และรับข้อมูลที่ 1.5 Mbps อัตราข้อมูลสูงกว่าโมเด็มโทรศัพท์ขนาด 28.8 และ 56 kbps หรือระบบ Integrated Services Digital Network (ISDN ) ขนาด 128 kbps และอัตราข้อมูลรองรับกับระบบ Digital Subscriber Line (DSL) นอกจากนี้ cable modem สามารถเพิ่มหรือรวมกับ set-top-box ที่ให้โทรทัศน์ใช้ช่องสัญญาณของอินเทอร์เน็ต ในกรณีส่วนใหญ่ cable modem สามารถทำเป็น ส่วนการเข้าถึงทางสายเคเบิล ซึ่งไม่ต้องซื้อโดยตรงและติดตั้งโดยผู้ให้บริการ cable modem มีการติดต่อ 2 ด้าน คือ ด้านหนึ่งเข้าสู่จุดเชื่องของสายเคเบิล และอีกด้านต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ set-top-box ของโทรทัศน์ ถึงแม้ว่า cable modem สามารถแปลงสัญญาณระหว่างสัญญาณอนาล็อกกับดิจิตอล แต่มีความซับซ้อนมากกว่าโมเด็มของโทรศัพท์ ซึ่งสามารถต่อภายนอกหรือรวมเป็นอุปกรณ์ภายใน คอมพิวเตอร์ หรือ set-top-box
ประโยชน์ของ Cable Modem สามารถเชื่อมต่อ Internet ได้เร็วกว่า Analog Modem มากกว่า 100 เท่า วงจรการเชื่อมต่อ สื่อสารข้อมูล ( Internet) คงค้างตลอดเวลา ความเร็วในการรับและส่งข้อมูลของผู้เช่าแต่ละรายเป็นอิสระต่อกัน สามารถใช้งานโทรศัพท์ ได้พร้อมกับการรับและส่งข้อมูล สำหรับบริการประเภท ADSL และใช้ พร้อมกับการชมโทรทัศน์สำหรับบริการ Cable Modem วงจรการเชื่อมต่อมีประสิทธิภาพสูง และมีความปลอดภัยของข้อมูลสูง สามารถใช้งานระบบโทรศัพท์ได้ ขณะไฟฟ้าดับมาตรฐาน cable modem ต่อกับคอมพิวเตอร์ที่การ์ด Ethernet แบบ 10 BASE-T cable modem ทั้งหมดต่อกับสายเคเบิลของบริษัทเคเบิลทีวีด้วยสาย coaxial cable ติดต่อกับระบบ cable modem termination systme (CMTS) ที่สถานีของบริษัทเคเบิลทีวี calbe modem ทั้งหมดสามารถรับและส่งสัญญาณไปที่ CMTS มีการบริการบางแบบที่การส่งกลับด้าน upstream ใช้สายโทรศัพท์ ไม่ใช้สายเคเบิล ในกรณีนี้ cable modem ได้รับการเรียกว่า telco-return cable modem bandwidth จริงของการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายเคเบิลทีวีสูงถึง 27 Mbps ในเส้นทางการ ดาวน์โหลดไปให้ผู้รับบริการ และ bandwidth ในการติดต่อในอีกทิศทางหนึ่งมีขนาด 2.5 Mbps อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการโดยทั่วไปจะไม่สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้เร็วกว่าของระบบ T-carrier ที่ 1.5 Mbps ดังนั้น การติดต่อจึงมีอัตราข้อมูลใกล้เคียงกับ 1.5 Mbps
2) การเชื่อมต่อแบบใช้สาย DSL การติดต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Digital Subscriber Line (DSL) แตกต่างจากการติดต่อแบบเคเบิลโมเด็ม โดยผู้ใช้แต่ละคนที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายจะได้รับ bandwidth คงที่อย่างไรก็ตามค่า bandwidth สูงสุดที่ผู้ใช้ได้รับจากการใช้งานสายชนิด DSL ต่ำกว่าค่า bandwidth สูงสุดที่ผู้ใช้ได้รับจากการใช้งานสายเคเบิลโมเด็ม เนื่องจากเทคโนโลยีที่นำมาใช้ต่างกันนอกจากนั้น ค่า bandwidth ที่ผู้ใช้แต่ละคนได้รับเป็นค่าการใช้งานระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านกับศูนย์ของผู้ให้บริการ DSL เท่านั้น ผู้ให้บริการจะไม่ให้การรับรองหรืออาจจะให้การรับรองน้อยมากสำหรับ bandwidth ที่ใช้ในการติดต่อออกไปยังอินเทอร์เน็ต
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ 1. ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่ 2. บัญชีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในแบบ DSL 3. การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ 4. ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย
1. HDSL : High bit rate Digital Subscriber Line |
2. SDSL : Symmetric Digital Subscriber Line |
3. IDSL : ISDN Digital Subscriber Line |
4. ADSL : Asymmetric Digital Subscriber Line |
5. RADSL: Rate Adaptive Digital Subscriber Line |
6. VDSL : Very high bit rate Digital Subscriber Line |
ลักษณะเฉพาะของสาย DSL แต่ละประเภท | |
---|---|
ประเภท | ข้อดีและข้อเสีย |
HDSL | + สามารถกระจายอัตราการรับส่งข้อมูลใน 2 ทิศทาง - ไม่สามารถใช้ร่วมกับสายโทรศัพท์ระบบอนาลอกได้ |
SDSL | + เป็น HDSL แบบหนึ่งที่ใช้คู่สายเคเบิลเดียว - ไม่สามารถใช้ร่วมกับสายโทรศัพท์ระบบอนาลอกได้ |
IDSL | + ใช้ได้ในระยะไกลกว่า 26000 ฟุต - ไม่รองรับโทรศัพท์ระบบอนาลอก และสัญญาณไม่ได้ใช้ร่วมกับเครือข่ายโทรศัพท์ |
ADSL | +สามารถคุยโทรศัพท์พร้อมกันกับการ Access ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกัน ด้วยสายโทรศัพท์เส้นเดียวกัน โดยไม่หยุดชะงัก |
RADSL | + คล้าย ADSL ที่ถูกปรับระดับความเร็วตามคุณภาพของช่องสัญญาณ |
VDSL | + ใช้จุดเชื่อมต่อใยแก้วนำแสงที่อยู่ใกล้ลูกค้ามากที่สุด ซึ่งจะมีอัตราการรับส่งข้อมูลสูงถึง 52
Mbps โดยผ่านคู่สายทองแดง |
3) การเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless)
ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีรูปแบบในการสื่อสารแบบไม่ใช้สาย โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สายที่สำคัญก็คือ การที่ไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย
1. mobility improves productivity & service มีความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหน
หรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใด ก็ยังมีการเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ใน
ระยะการส่งข้อมูล
2. installation speed and simplicity สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล และไม่รกรุงรัง
3. installation flexibility สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี พีซีการ์ดมาต่อเข้ากับโน้ตบุ๊ค หรือพีซี ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที
4. reduced cost- of-ownership ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษาและการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง
5. scalability เครือข่ายไร้สายทำให้องค์กรสามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งานโดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก
การประยุกต์ใช้งานการสื่อสารบรอดแบนด์
การใช้งานระบบบรอดแบนด์ถูกใช้ สำหรับการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ซึ่งลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ สื่อที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูลมีความหลากหลาย เช่น ชนิดใช้สายนำสัญญาณหรือผ่านคลื่นวิทยุในอากาศแบบไร้สาย ซึ่งอาจมีการผสมผสานสื่อต่างๆ เข้าด้วยกันในการใช้งานบรอดแบนด์ เช่น ผู้ส่งข้อมูลอยู่บนเครือข่ายไร้สายในขณะที่ผู้รับข้อมูลอาจอยู่บนเครือข่ายที่ใช้สายนำสัญญาณ การใช้งานโดยเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดความต้องการในการถ่ายโอนข้อมูลปริมาณมากจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นเอกสาร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียงและข้อมูลสื่อประสมต่างๆ ผ่านโปรแกรมสำหรับการท่องอินเทอร์เน็ต คือ
เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) หรือโปรแกรมประยุกต์อื่นๆ เช่นการใช้งานเพื่อการศึกษาโดยการส่งข้อมูลภาพการเรียนการสอนระยะไกล (Distance learning) หรือการแพทย์ระยะไกล (Telemedicine) เช่นการให้การวิเคราะห์รักษาผู้ป่วยโดยแพทย์จากระยะทางไกลจากผู้ป่วย ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีบรอดแบนด์ได้ถูกใช้ในด้านธุรกิจ เช่นการประชุม วีดิทัศน์ระยะไกล (Video teleconferencing) เป็นต้น
ดูเพิ่ม
[แก้]- Mobile broadband
- บรอดแบนด์ไร้สาย
- Ultra-wideband
- Broadband universal service
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1] เก็บถาวร 2013-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
- ↑ http://thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Broadband_Communications/index.php เก็บถาวร 2013-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ;การสื่อสารบรอดแบนด์ (Broadband Communications)
- ↑ http://www.sc.mahidol.ac.th/scbc/bc_internet/tips/cablemodem.html เก็บถาวร 2017-04-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ; มารู้จัก Cable modem
- ↑ http://markmarkwithusiri.blogspot.com ; การติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตแบบ DSL L
- ↑ http://www.dms.moph.go.th/dmsict/it03.html เก็บถาวร 2014-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ; การเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless)