บรรทัดฐานเอกราชของคอซอวอ
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 สมัชชาของคอซอวอ ซึ่งขณะนั้นเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเซอร์เบียภายใต้การอารักขาของสหประชาชาติ ได้ทำการประกาศเอกราช[1] หลังจากนั้น คอซอวอได้รับการรับรองเป็นรัฐเอกราชจากสหรัฐ ตุรกี แอลเบเนีย ออสเตรีย เยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร ไต้หวัน และรัฐอื่น ๆ จำนวนมาก[2] เรื่องนี้นำไปสู่ประเด็นถกเถียงระหว่างประเทศ ว่าการประกาศเอกราชฝ่ายเดียวของคอซอวอนั้น ถือเป็นบรรทัดฐานในกฎหมายระหว่างประเทศ หรือเป็นเพียงกรณีเฉพาะ[3] การที่คอซอวอได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติถึง 97 ประเทศ จาก 193 ประเทศ ถือเป็นแรงบันดาลใจให้กับขบวนการแบ่งแยกดินแดนในหลายประเทศ[4][5]
มีองค์กรและรัฐที่ไม่ได้รับการรับรองอย่างน้อย 70 กลุ่ม ที่อ้างถึงบรรทัดฐานคอซอวอเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายของตน[6] อับคาเซียและเซาท์ออสซีเชียได้เรียกร้องอีกครั้งให้มีการยอมรับอำนาจอธิปไตยของตน เอกราชของคอซอวอยังนำไปสู่ความตึงเครียดในประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โดยสาธารณรัฐเซิร์ปสกาได้ยับยั้งการรับรองคอซอวอ และขู่ว่าจะประกาศตนเป็นเอกราชเสียเอง[7]
สาธารณรัฐไครเมียประกาศเอกราชจากประเทศยูเครนเมื่อ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 โดยอ้างถึงบรรทัดฐานคอซอวอ ไครเมียได้ถูกผนวกเข้ากับรัสเซีย ภายใต้การนำของประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน ในสัปดาห์ต่อมา อย่างไรก็ตาม ปูตินปฏิเสธที่จะให้การรับรองคอซอวอ[8][9]
การรับรองสถานะของรัฐทางตะวันออกของยูเครนที่แยกตัวออกไป โดยรัฐบาลของปูตินเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 และการรุกรานยูเครนที่ตามมา ล้วนแต่ทำภายใต้บริบทของบรรทัดฐานคอซอวอ[10][11] อย่างไรก็ตาม จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 รัสเซียยังคงไม่รับรองคอซอวอ[10][12]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Kosovo MPs proclaim independence". BBC News Online. 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 2009-04-09.
- ↑ Hsu, Jenny W (2008-02-20). "Taiwan officially recognizes Kosovo". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 2008-05-13.
- ↑ "The Kosovo Precedent". Prospect Magazine. April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-16. สืบค้นเมื่อ 2009-04-13.
- ↑ "Republic of Palau suspends recognition of Kosovo".
- ↑ Timothy Garton Ash (2008-02-21). "The Kosovo precedent". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2009-04-09.
- ↑ Jovanovic, Miroslav N.; Jovanović, Miroslav N. (1 January 2013). The Economics of European Integration. Edward Elgar Publishing. p. 929. ISBN 978-0-85793-398-0.
The Unrepresented Nations and Peoples Organisation, a group of some 70 members from Abkhazia over Kurdistan to Zanzibar is and will be using the Kosovo precedent to pursue its objectives.
- ↑ "Bosnian Serbs Threaten Secession Over Kosovo". Javno. 2008-02-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-08. สืบค้นเมื่อ 2009-04-09.
- ↑ "How similar _ or not _ are Crimea and Kosovo?". abcnews.go.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2014.
- ↑ Coakley, Amanda. "Serbia Is Playing With Matches Again". Foreign Policy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-08-18.
- ↑ 10.0 10.1 "Путин заявил Гутерришу, что Россия признала ДНР и ЛНР на основании прецедента Косово". www.kommersant.ru (ภาษารัสเซีย). 2022-04-26. สืบค้นเมื่อ 2022-08-18.
- ↑ "Putin cites precedent of Kosovo in explaining recognition of DPR, LPR". TASS. สืบค้นเมื่อ 2022-08-18.
- ↑ "Russian Ambassador to Serbia Denies Change in Putin's Kosovo Policy". Balkan Insight (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-04-29. สืบค้นเมื่อ 2022-08-18.