ข้ามไปเนื้อหา

น้ำอัลคาไล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เส้นบะหมี่ผสมน้ำอัลคาไล

น้ำอัลคาไล (จีนตัวย่อ: 碱水; จีนตัวเต็ม: 鹼水; พินอิน: jiǎnshuǐ) เป็นสารละลายเกลืออัลคาไลที่ใช้ในการทำเส้นบะหมี่จีน เช่น ลาเมี่ยน และ ราเม็งของญี่ปุ่น นำไปผสมกับแป้งสาลีเพื่อให้ความนุ่มและยืดหยุ่น[1] รสชาติ เนื้อสัมผัส และสีอันเป็นเอกลักษณ์ของบะหมี่จีนเกิดจากการเติมน้ำอัลคาไล[2]

ชื่อเรียก

[แก้]

ในภาษาจีนเรียกน้ำอัลคาไลว่า 碱水/鹼水 "เจี๋ยนสุ่ย" (jiǎnshuǐ) โดยคำว่าอัลคาไล นั้นเรียกว่า "เจี่ยน" (jiǎn) ใช้อักษรจีนตัวเต็มว่า 鹼 (ประกอบขึ้นจาก 鹵 กับ 僉) แต่ในอักษรจีนตัวย่อ ได้ย่อเป็น 碱 (ประกอบขึ้นจาก 石 กับ 咸) อย่างไรก็ตาม เป็นคนละอักษรกับอักษรตัวเต็ม 鹹 (ประกอบขึ้นจาก 鹵 กับ 咸) ซึ่งในตัวย่อเขียนเป็น 咸 และหมายถึง "เค็ม" และอ่านต่างกันเป็น "เสียน" (xián) และคำว่า 咸水/鹹水 ในภาษาจีนหมายถึง น้ำเค็ม

แต่ว่า 鹹水 ในภาษาญี่ปุ่นนั้นโดยทั่วไปจะหมายถึง น้ำเกลือเข้มข้น ซึ่งก็อาจหมายถึงน้ำอัลคาไลได้ด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงน้ำอัลคาไลมักจะเขียนเป็นอักษรฮิรางานะผสมคันจิ เป็น かん水 หรือเป็นฮิรางานะล้วนว่า かんすい นอกจากนี้ยังมีการเขียนด้วยคันจิเป็น 梘水、乾水、漢水 ด้วย[3]

ต้นกำเนิด

[แก้]

ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในของจีน มีการค้นพบเทคนิคการทำบะหมี่ โดยใช้ น้ำเกลือเข้มข้น (น้ำเกลืออัลคาไลจาก ทะเลสาบน้ำเค็ม) โดยบังเอิญ และแพร่หลายไปจนถึงญี่ปุ่นพร้อมกับการแพร่หลายของบะหมี่

ส่วนประกอบ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 『知っておきたい食品衛生 六訂版』(食品保健研究会、大蔵省印刷局、2000.1、ISBN 4172175074)p.220.
  2. 『知っておきたい食品衛生 六訂版』p.2203
  3. 『梘水』 - コトバンク