ข้ามไปเนื้อหา

น้ำยาลบคำผิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำยาลบคำผิดแบบขวด

น้ำยาลบคำผิด เป็นของเหลวสีขาวทึบใช้สำหรับป้ายทับข้อความผิดพลาดในเอกสาร และเมื่อแห้งแล้วสามารถเขียนทับได้ โดยปกติน้ำยาลบคำผิดจะบรรจุอยู่ในขวดเล็ก และมีฝาซึ่งมีแปรงติดอยู่ (หรืออาจเป็นชิ้นโฟมสามเหลี่ยม) ซึ่งจุ่มน้ำยาอยู่ในขวด แปรงนั้นใช้สำหรับป้ายน้ำยาลงบนกระดาษ

ก่อนที่จะมีการคิดค้นโปรแกรมประมวลคำ น้ำยาลบคำผิดเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับการพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ดีด

รูปแบบแรกสุดของน้ำยาลบคำผิดถูกคิดค้นขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1951 โดยเลขานุการ Bette Nesmith Graham ผู้ก่อตั้งบริษัทลิควิดเปเปอร์ ด้วยการใส่สีขาวบรรจุลงในขวดน้ำยาทาเล็บ ใช้พู่กันป้ายน้ำยาสีขาวลงบนกระดาษที่พิมพ์คำผิด[1] ชนิดของตัวทำละลายในน้ำยาลบคำผิด ตัวทำละลายชนิด  halogenated hydrocarbon ใช้เป็นส่วนผสมประมาณร้อยละ 75 มีจุดเดือดในช่วง 70-170 องศาเซลเซียส เช่น tricholorethane, tricholorethylene เป็นต้น

ตัวทำละลายชนิด  halogenated hydrocarbon ที่ใช้ผสมกับสารละลายอินทรีย์ จะใช้เป็นส่วนผสมสารละลายอินทรีย์ประมาณร้อยละ 25 เสือเป็นเก

เนื่องจากน้ำยาลบคำผิดประกอบด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ (สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย) น้ำยาที่ไม่ได้ใช้เป็นเวลานานจะข้นมากขึ้นตามเวลาเพราะตัวทำละลายจะระเหยไปในอากาศ ซึ่งอาจทำให้น้ำยาข้นเกินไปที่จะใช้ หรือบางทีก็แห้งกรังไปเลย ดังนั้นผู้ผลิตน้ำยาลบคำผิดบางรายจึงขายตัวทำละลายเป็นอีกขวดแยกต่างหากโดยเรียกว่า ทินเนอร์ การใส่ทินเนอร์เพียงไม่กี่หยดลงในขวดก็ทำให้น้ำยากลับมาเป็นสภาพปกติ

ทินเนอร์ที่ว่านี้เดิมประกอบด้วยโทลูอีน ซึ่งถูกห้ามใช้เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็ง ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนไปใช้ 1,1,1-ไตรคลอโรอีเทน แต่ก็ถูกห้ามใช้อีกโดยพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) เนื่องจากเป็นสารที่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ จึงเปลี่ยนไปใช้ไตรคลอโรเอทิลีนซึ่งก็ไม่ได้ปลอดภัยจากเดิมมากนัก ปัจจุบันนี้ทินเนอร์ที่ใช้ในน้ำยาลบคำผิดมีส่วนประกอบของโบรโมโพรเพน

เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความไม่สะดวกที่จะใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ ด้วยเหตุผลของความปลอดภัยและการสรรหา น้ำยาลบคำผิดบางยี่ห้อสามารถใช้น้ำเป็นตัวทำละลายได้ แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ใช้เวลาแห้งนานกว่า และไม่สามารถใช้ได้กับหมึกบางประเภท ซึ่งจะทำให้สีหมึกปนกับน้ำยา

การใช้ในทางที่ผิด

[แก้]

ตัวทำละลายอินทรีย์เป็นสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทเมื่อสูดดมเข้าไปอย่างตั้งใจ ตัวทำละลายเช่นนี้เป็นสารสูดดมที่มีราคาถูกกว่าสารเสพติดเพื่อความผ่อนคลายชนิดอื่น การใช้น้ำยาลบคำผิดเป็นสารสูดดมสามารถทำให้หัวใจเต้นเร็วและผิดจังหวะ ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิต [2] ดังนั้นผู้ผลิตบางรายจึงใส่กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ลงไปในน้ำยาเพื่อป้องกันการใช้ในทางที่ผิดนี้ [3]

ปากกาลบคำผิด

[แก้]
ปากกาลบคำผิด

เมื่อไม่นานมานี้ น้ำยาลบคำผิดได้เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้คล้ายกับปากกา ปากกานี้จะมีสปริงอยู่ที่ปลาย ซึ่งเมื่อถูกกดลงบนกระดาษ น้ำยาจะไหลออกมาในปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับแบบขวดแล้ว ปากกาลบคำผิดสามารถใช้กับเส้นเล็ก ๆ หรือพื้นที่แคบได้ แต่ไม่ได้มีแนวโน้มว่าจะใช้เวลาแห้งน้อยกว่าเดิม เพราะว่าพื้นที่ผิวหน้าในการระเหยนั้นมีขนาดเล็กกว่า

ชนิดของน้ำยาลบคำผิด

1. ชนิดที่ใช้สารอินทรีย์เป็นตัวทำละลาย เป็นชนิดที่มีการใช้สารอินทรีย์เป็นตัวทำละลาย ได้แก่ แอลกอฮอล์ คีโตน เบนซีน โทลูอีน อีเทอร์ ไกลคอน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ รวมถึงสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นๆ

2. ชนิดที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เป็นชนิดที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายเป็นหลัก แต่อาจผสมสารอื่นเพื่อให้น้ำยามีการละลายตัว และป้องกันการตกตะกอน เช่น แอลกอฮอล์ อีเทอร์ เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]