ข้ามไปเนื้อหา

นโยบายต่างประเทศของโซเวียตยุคเริ่มต้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปค้อนเคียว สัญลักษณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียต

นโยบายต่างประเทศของโซเวียตยุคเริ่มต้น เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายต่างประเทศของโซเวียต ที่ปรากฏในช่วง ค.ศ. 1917 -1945 ในระหว่างช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 และสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป เป็นยุคที่สหภาพโซเวียตได้พยายามก่อร่างสร้างตัว เพื่อให้เป็นรัฐสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ตามแนวลัทธิมาร์ก-เลนิน และเพื่อดำรงอยู่ได้โดยไม่ถูกทำลายจากมหาอำนาจตะวันตก และป้องกันภัยจากทางตะวันออกไกล คือ ญี่ปุ่น ดังนั้นนโยบายต่างประเทศในช่วงนี้จะอยู่ในสมัยของ เลนิน (1917-1924) และส่วนใหญ่ของ สตาลิน (1924-1953)

  • มีการปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศบ่อยครั้ง ในช่วงแรกจะใช้วิธีการประวิงเวลา รอจังหวะและฉวยโอกาสตามสภาพการเมืองระหว่างประเทศ เพื่อสร้างฐานของโซเวียตให้เข้มแข็งทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร
  • มีระบบที่ยืดหยุ่นในการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ประเทศต่างๆ

การเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์

[แก้]
  • หลังจากที่เลนินได้ปฏิวัติการปกครองได้ ในวันที่ 7 พ.ย. 1917 เขารีบทำสนธิสัญญาสงบศึก (เบรสท์-ลีตอฟสก์) กับเยอรมนี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 1918 เพื่อให้เวลากับการจัดระเบียบสังคม และแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆภายในประเทศ
  • สนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ ทำให้สภาวะความเป็นภาคีกับกับอังกฤษและฝรั่งเศสสิ้นสุดลง และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และโซเวียตหยุดชะงักลงตามไปด้วย
  • ปี 1919 หลังจากที่เยอรมันแพ้สงคราม โซเวียตประกาศยกเลิกพันธะกับเยอรมัน ยกเลิกสนธิสัญญา Brest Litovsk
  • ปี 1919 เลนินได้จัดตั้งองค์การคอมมิวนิสต์สากล
  • เมื่อสตาลินขึ้นมามีอำนาจสืบต่อจากเลนิน ซึ่งถึงแก่กรรมในปี 1924 สตาลินได้พัฒนาแนวนโยบายของเลนินออกไปเพื่อให้โซเวียตรัสเซียมีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยใช้หลักสังคมนิยมประเทศเดียว (Socialism in one country) ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายการอยู่ร่วมกันโดยสันติ (Peaceful Co-Existence)
  • โดยที่โซเวียตจะต้องมีความเข้มแข็งทางการเมือง เศรษฐกิจ การทหารเสียก่อนที่จะเผยแพร่ลัทธิมาร์ก-เลนิน ไปสู่ประเทศอื่น และอาศัยจังหวะที่มหาอำนาจในยุโรปแตกแยกกัน เนื่องมาจากอิตาลีและเยอรมันภายใต้การนำของระบบฟาสซิสต์-นาซี ที่มีความร้าวรุนแรงมากขึ้น นับตั้งแต่ปี 1933 เป็นต้นมา
  • โซเวียตเกรงว่าจะต้องเผชิญกับศัตรูทั้ง 2 ด้าน ซึ่งก่อนหน้านี้โซเวียตหันไปเป็นมิตรกับเยอรมัน โดยสามารถซื้อเทคโนโลยีระดับสูงจากเยอรมันและมีการค้าขายติดต่อกันเพื่อสร้างฐานะของประเทศ เนื่องจากอังกฤษ ฝรั่งเศส หยุดให้การช่วยเหลือนับตั้งแต่ปฏิวัติบอลเชวิก แต่ต่อมาเมื่อเห็นว่าภัยจากฟาสซิสต์-นาซี มีความรุนแรงเป็นปฏิปักษ์ต่อลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิประชาธิปไตย
  • ดังนั้นสตาลินจึงหันมาเป็นมิตรไมตรีกับอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐ เข้ามาเป็นสมาชิกสันนิบาตชาติในปี 1934 มีฐานะเป็นมหาอำนาจหนึ่งในคณะมนตรีถาวรด้วย
  • ในช่วงนี้โซเวียตและพรรคคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกต่างๆได้ละทิ้งอุดมการณ์ชั่วคราว หันมาให้ความร่วมมือกับประเทศประชาธิปไตยตะวันตกและกลุ่มการเมืองอื่นๆปรากฏออกมาเป็นนโยบายที่เรียกว่า “แนวร่วมประชาชน”(Popular Front) ต่อต้านภัยจากลัทธิฟาสซิสต์-นาซี ซึ่งองค์การโคมินเทอร์นประกาศสนับสนุนอย่างเป็นทางการในปี 1935
  • สำหรับนโยบายของสตาลินที่เกี่ยวกับประเทศอาณานิคมนั้นเขาได้ใช้การปลุกระดมลัทธิชาตินิยมกับการปฏิวัติประชาธิปไตย เพื่อก้าวไปสู่การปฏิวัติประเทศเป็นสังคมนิยมต่อไป
  • ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้นเป็นทางการในปี 1939 โซเวียตได้มีสัญญาไม่รุกรานกับเยอรมัน โดยไม่ไว้วางใจฝ่ายฝรั่งเศสและอังกฤษ ในช่วงแรกที่สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น โซเวียตได้พยายามประวิงเวลาไม่ยอมร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร(อังกฤษ ฝรั่งเศส) ในการทำสงครามเพื่อรอจังหวะและฉวยโอกาสให้ทั้ง 2 ฝ่ายสู้รบกันจนหมดความสามารถไปทั้ง 2 ฝ่ายก่อน
  • จนกระทั่งในปี 1941 โซเวียตเข้าร่วมกับสัมพันธมิตรทำสงครามกับฝ่ายฝ่ายอักษะ(เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น) ทางสหรัฐได้ให้ความช่วยเหลือแก่โซเวียต และต่อมาสตาลินก็ประกาศยุบองค์การโคมินเทอร์นในปี 1943 เพื่อให้อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐ ไว้วางใจโซเวียตมากขึ้นที่จะเป็นสหายร่วมสงคราม
  • แต่ในขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังดำเนินอยู่นั้น โซเวียตก็เข้าไปมีอิทธิพลในยุโรปตะวันออกมากขึ้น เพราะฝ่ายสัมพันธมิตรไม่สามารถสกัดกั้นเยอรมันในบริเวณนี้ได้ เมื่อกองทัพเยอรมันถอย กองทัพแดงของโซเวียตก็เข้าไปตั้งมั่นอยู่ในบริเวณนี้ด้วย เพราะสตาลินมีแผนที่จะครองยุโรปตะวันออก ซึ่งเคยพูดไว้ว่า “สงครามโลกทั้ง 2 ครั้งเกิดขึ้นจากการกระทำของเยอรมันและแผ่อำนาจเข้ามาถึงรัสเซียโดยผ่านยุโรปตะวันออก”
  • เมื่อเยอรมันแพ้สงครามในเดือน พฤษภาคม 1945 โซเวียตรัสเซียก็ได้มีอิทธิพลครอบคลุมยุโรปตะวันออก เป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ของนโยบายต่างประเทศของพระเจ้าซาร์ให้เป็นผลสำเร็จอีกด้วย
  • โซเวียตก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำนาจระดับโลกที่มีความแข็งแรงทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ และทหาร มีศักดิ์ศรีเพิ่มขึ้นจากเดิมได้มีบทบาทร่วมกับมหาอำนาจตะวันตกในการประชุมร่างกฎบัตรสหประชาชาติ และได้หันมาพัฒนาโลกตามแนวอุดมการณ์ของลัทธิมาร์ก-เลนินต่อไป