นิวต์หางใบพาย
นิวต์หางใบพาย | |
---|---|
นิวต์หงอนใหญ่ (Triturus cristatus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Amphibia |
อันดับ: | Caudata |
วงศ์: | Salamandridae |
วงศ์ย่อย: | Pleurodelinae |
สกุล: | Triturus Rafinesque, 1815 |
ชนิด | |
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ |
นิวต์หางใบพาย หรือ ซาลาแมนเดอร์หางใบพาย[1] (อังกฤษ: Alpine newt[2]) เป็นซาลาแมนเดอร์ในกลุ่มของนิวต์ หรือซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก ในสกุล Triturus (มาจาก ไทรทัน บุตรชายของโพไซดอน เทพเจ้าแห่งมหาสมุทรตามเทพปกรณัมกรีก และภาษากรีกคำว่า ura หมายถึง "หาง")
ลักษณะเด่นของนิวต์หางใบพาย คือ มีส่วนหางที่แผ่แบนเหมือนใบพายหรือครีบปลา มีช่วงชีวิตยาวนานอยู่ในน้ำมากกว่านิวต์สกุลอื่น ๆ โดยที่ขณะเป็นตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัย ลักษณะหางที่เป็นใบพายก็ยังคงลักษณะเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
มีขนาดลำตัวประมาณ 9-12 เซนติเมตร ในชนิดที่มีขนาดใหญ่อาจยาวได้ถึง 16 เซนติเมตร ในบางชนิดมีแผ่นหนังที่ดูคล้ายหงอนหรือครีบหลังที่สันหลังของลำตัวไปถึงส่วนหางด้วยซึ่งดูเป็นจุดเด่น ลำตัวมักมีสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม มีลายประหรือจุดสีสันต่าง ๆ แตกต่างออกไปตามและชนิด และยิ่งจะมีความเด่นชัดขึ้นโดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์
มีการขยายพันธุ์และวางไข่เหมือนกับนิวต์สกุลอื่น วางไข่ครั้งละ 100-200 ฟอง หรือในชนิดที่มีจำนวนมากอาจได้ถึง 300-400 ฟอง พบกระจายพันธุ์ในป่า หรือลำห้วย หรือทะเลสาบในแถบเทือกเขาในระดับความสูงต่าง ๆ กันในทวีปยุโรป จนถึงบางส่วนของรัสเซีย และภูมิภาคตะวันออกกลาง[1]
ในการเลือกคู่ผสมพันธุ์ นิวต์ตัวผู้จะมารวมตัวกันเป็นกลุ่มในบริเวณแหล่งน้ำที่อาศัยแล้วกำหนดพื้นที่ของตนเองขึ้นมาและป้องกันพื้นที่ไว้จากตัวผู้ตัวอื่นด้วยการแสดงท่าทางและการต่อสู้ นิวต์ตัวเมียที่เคลื่อนย้ายไปตามพื้นที่แต่ละแห่งได้รับการต้อนรับจากตัวผู้ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ด้วยการแสดงท่าทาง เช่น แผ่กางครีบหลัง หรือครีบหาง แสดงสีสันที่สดใสตามลำตัว เป็นต้น[3]
การจำแนก
[แก้]จำแนกออกได้ 7 ชนิด (บางข้อมูลแบ่งออกเป็น 8[4])
- Triturus carnifex (Laurenti, 1768)
- Triturus cristatus (Laurenti, 1768)
- Triturus dobrogicus (Kiritzescu, 1903)
- Triturus karelinii (Strauch, 1870)
- Triturus macedonicus (Karaman, 1922)
- Triturus marmoratus (Latreille, 1800)
- Triturus pygmaeus (Wolterstorff, 1905)[2]
รูปภาพ
[แก้]-
นิวต์หงอนใหญ่ขณะยังเป็นตัวอ่อน
-
สภาพของแหล่งน้ำที่อยู่อาศัยและขยายพันธุ์
-
ไข่ที่วางติดกับพืชน้ำ
-
นิวต์หงอนอิตาเลียน (Triturus carnifex) ตัวผู้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Triturus ทั้ง 5, คอลัมน์ Aqua Survey โดย สุริศา ซอมาดี. หน้า 77-81 นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 32 ปีที่ 3: กุมภาพันธ์ 2013
- ↑ 2.0 2.1 จาก itis.gov
- ↑ หน้า 189, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (ธันวาคม, 2552) ISBN 978-616-556-016-0
- ↑ หน้า 312-313, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (ธันวาคม, 2552) ISBN 978-616-556-016-0
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Triturus ที่วิกิสปีชีส์