ข้ามไปเนื้อหา

นิวต์หงอนใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิวต์หงอนใหญ่
สีของตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Amphibia
อันดับ: Caudata
วงศ์: Salamandridae
สกุล: Triturus
สปีชีส์: T.  cristatus
ชื่อทวินาม
Triturus cristatus
(Laurenti, 1768)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง[1]
  • Turanomolge mensbieri Nikolsky, 1918

นิวต์หงอนใหญ่ หรือ นิวต์หงอนเหนือ (อังกฤษ: Great crested newt, Northern crested newt; ชื่อวิทยาศาสตร์: Triturus cristatus) เป็นซาลาแมนเดอร์จำพวกนิวต์ชนิดหนึ่ง จำพวกซาลาแมนเดอร์หางใบพาย

เป็นซาลาแมนเดอร์ที่คงรูปร่างความเป็นวัยอ่อนไว้เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้วก็ตาม จัดเป็นซาลาแมนเดอร์หรือนิวต์อีกชนิดหนึ่งที่มีสีสันสดใส แลดูสวยงาม โดยปกติมีลำตัวสีเทาเข้ม มีลายกระกระจายสีดำ บางครั้งบนจุดสีเหลืองหรือส้มไปจนสีเงินที่หางด้วย มีจุดเด่น คือ มีแผ่นครีบเหมือนหงอนตั้งแต่ส่วนหัวไปจรดหาง[2]

เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะมารวมตัวกันเป็นกลุ่มในบริเวณแหล่งน้ำที่อาศัยแล้วกำหนดพื้นที่ของตนเองขึ้นมาและป้องกันพื้นที่ไว้จากตัวผู้ตัวอื่นด้วยการแสดงท่าทางและการต่อสู้ นิวต์ตัวเมียที่เคลื่อนย้ายไปตามพื้นที่แต่ละแห่งได้รับการต้อนรับจากตัวผู้ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ด้วยการแสดงท่าทาง เช่น แผ่กางครีบหลัง หรือครีบหาง แสดงสีสันที่สดใสตามลำตัว เป็นต้น ในขณะที่ตัวเมียก็จะมีแถบสีส้มเล็ก ๆ คาดที่โคนหาง วางไข่ในน้ำประมาณครั้งละ 200 ฟอง[3]

พบกระจายพันธุ์ในป่าแถบเทือกเขาแอลป์ ในทวีปยุโรป และบริเวณรอบ ๆ ทะเลดำ ชอบอาศัยในที่ชื้นแฉะและบริเวณที่มีมอสส์ขึ้น[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Triturus cristatus (Great Crested Newt, Northern Crested Newt)". Iucnredlist.org. สืบค้นเมื่อ 2013-01-17.
  2. 2.0 2.1 Triturus ทั้ง 5, คอลัมน์ Aqua Survey โดย สุริศา ซอมาดี. หน้า 78 นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 32 ปีที่ 3: กุมภาพันธ์ 2013
  3. หน้า 189, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (ธันวาคม, 2552) ISBN 978-616-556-016-0

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Triturus cristatus ที่วิกิสปีชีส์