ข้ามไปเนื้อหา

นิราศพระบาท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิราศพระบาท
กวีพระสุนทรโวหาร (ภู่)
ประเภทนิราศ
คำประพันธ์กลอนแปด
ความยาว462 คำกลอน
ยุครัชกาลที่ 1
ปีที่แต่งราว พ.ศ. 2350
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์

นิราศพระบาท เป็นนิราศคำกลอนของ สุนทรภู่ มีความยาวถึง 462 คำกลอน นับเป็นนิราศที่ยาวมากเรื่องหนึ่งของสุนทรภู่ โดยมีเนื้อหาบรรยายการเดินทางขณะโดยเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ไปนมัสการรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่อำเภอขุนโขลน จังหวัดสระบุรี เมื่อวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ พ.ศ. 2350

การเดินทางเริ่มต้นจากคลองขวาง กรุงเทพมหานคร ไปนมัสการรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อำเภอขุนโขลน จังหวัดสระบุรี ใช้เส้นทางทางน้ำโดยใช้เรือ และการเดินทางทางบกโดยใช้ช้าง โดยลงเรือจากพระนครผ่านโรงสุราบางยี่ขัน ผ่านบ้านปูน บางพลู บางพลัด สามเสน บางซื่อ บางซ่อน เข้าปากเกร็ด บางพูด จังหวัดนนทบุรี แล้วล่องเรือไปขึ้นฝั่งที่บ้านขวาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากนั้นนั่งช้างและเดินเท้าต่อไปยังวัดพระพุทธบาท โดยผ่านสถานที่ในบริเวณนั้น อย่าง เขาโพธิ์ลังกา เขาขาด ถ้ำกินนร ถ้ำจักรี ฯลฯ[1]

สุนทรภู่แต่งนิราศพระบาทขณะมีอายุ 21 ปี โดยบรรยายเรื่องราวชีวิตและอุปนิสัยส่วนตัวของสุนทรภู่ โดยเน้นความรักที่มีต่อนางจันภรรยา โดยบรรยายผ่านสถานที่ที่เดินทางผ่าน บางตอนสะท้อนชีวิตสาวชาววังและชาวบ้าน ตลอดจนวิถีชีวิตของคนในสังคมไว้ด้วย เช่น การแต่งกายของสาวชาววังที่ร่วมขบวนเสด็จ การแต่งกายของสาวมอญที่สามโคก และลักษณะบ้านของชาวมอญในสังคมไทย เล่าถึงงานวัดพระพุทธบาทอันเป็นงานสำคัญและยิ่งใหญ่[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "นิราศพระบาท 2". นามานุกรมวรรณคดีไทย.
  2. "นิราศพระบาท". นามานุกรมวรรณคดีไทย.