นิตีศ กุมาร
นิตีศ กุมาร | |
---|---|
มุขยมนตรีรัฐพิหารคนที่ 22 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 22 กุมภาพันธ์ 2015 | |
ผู้ว่าการ | |
รอง |
|
ก่อนหน้า | จิตัน ราม มันฌี |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤสจิกายน 2005 – 17 พฤษภาคม 2014 | |
ผู้ว่าการ | พูตะ สิงห์ โคปาลกฤษณะ คานธี อาร์เอสคาไว อาร์เอส ภาเตีย เทวานันท์ โกนวร ดีวาย ปฏิล |
รอง | สุศิล กุมาร โมดี (2005-2013) |
ก่อนหน้า | ภายใต้การปกครองของประธานาธิบดี |
ถัดไป | ชิตัน ราม มันฌี |
ดำรงตำแหน่ง 3 มีนาคม 2000 – 10 มีนาคม 2000 | |
ผู้ว่าการ | วีซี ปันเด |
ก่อนหน้า | รบรี เทวี |
ถัดไป | รบรี เทวี |
รัฐมนตรีการรถไฟ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 มีนาคม 2001 – 21 พฤษภาคม 2004 | |
นายกรัฐมนตรี | อตาล พิหารี วัชยปายี |
ก่อนหน้า | มามาตา บาเนร์จี |
ถัดไป | ลลุ ปรสัท ยดาว |
ดำรงตำแหน่ง 19 มีนาคม 1998 – 5 สิงหาคม 1999 | |
นายกรัฐมนตรี | อตาล พิหารค วัชยปายี |
ก่อนหน้า | รามวิลาส ปัสวัน |
ถัดไป | ลลุ ปรสัม ยะดาว |
รัฐมนตรีการเกษตร | |
ดำรงตำแหน่ง 27 พฤษภาคม 2000 – 21 กรกฎาคม 2001 | |
นายกรัฐมนตรี | อตาล พิหารี วัชยปายี |
ดำรงตำแหน่ง 22 พฤศจิกายน 1999 – 3 มีนาคม 2000 | |
นายกรัฐมนตรี | อตาล พิหารี วัชยปายี |
รัฐมนตรีกรมการขนส่งทางบก | |
ดำรงตำแหน่ง 13 ตุลาคม 1999 – 22 พฤศจิกายน 1999 | |
นายกรัฐมนตรี | อตาล พิหารี วัชยปายี |
ดำรงตำแหน่ง 14 เมษายน 1998 – 5 สิงหาคม 1999 | |
นายกรัฐมนตรี | อตาล พิหารี วัชยปายี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พัขติอรปุระ, รัฐพิหาร, ประเทศอินเดีย | 1 มีนาคม ค.ศ. 1951
พรรคการเมือง | ชนตาดัล (ยูไนเต็ด) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ชนตาดัล |
คู่สมรส | มันจู กุมารี |
บุตร | นิศันต์ กุมาร (บุตร) |
ศิษย์เก่า | สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติ ปัฏนา (B.E.) |
นิตีศ กุมาร (Nitish Kumar; เกิด 1 มีนาคม 1951) เป็นนักการเมืองชาวอินเดีย มุขยมนตรีรัฐพิหารคนที่ 22 คนปัจจุบันและเคยดำรงตำแหน่งนี้มาแล้วห้าวาระ[1] เขาเคยเป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวงและกรมมาก่อน
กุมารเป็นสมาชิกของพรรคชนตาดัล (ยูไนเต็ด) และการปกครองของกุมารได้รับการยกย่องในรัฐว่าเป็นการเปลี่ยนที่ดีจากคำสาปของการโกงกินที่ไม่สิ้นสุด, อาชญากรรม และการบริหารที่ล้มเหลว ขณะดำรงตำแหน่งมุขยมนตรีของรัฐพิหาร เขาได้สร้างตำแหน่งอาชีพครู 100,000 ตำแหน่ง, จูงใจแพทย์ให้เข้าทำงานในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ, ทำให้ไฟฟ้าเข้าถึงหลายหมู่บ้าน,[2] ทำถนน, ลดอัตราการไม่รู้หนังสือในสตรีลงครึ่งหนึ่ง, กวาดล้างอาชญากรรมในรัฐ และเพิ่มรายได้เฉลี่ยของชาวพิหารเพิ่มขึ้นสองเท่า[3]
ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2014 กุมารลาออกจากตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบต่อการดำเนินงานที่ไม่ประสบความสำเร็จขอบพรรคเขาในการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2014 และถูกสืบทอดตำแหน่งโดยชิตัน ราม มันฌี อย่างไรก็ตาม เขาได้กลับมาดำรงตำแหน่ง ลอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 หลังวิกฤตการเมืองรัฐพิหาร ปี 2015 และชนะการเลือกตั้งใน การเลือกตั้งระดับรัฐ ปี 2015 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าระดับชาติของพรรคในวันที่ 10 เมษายน 2015 และลาออกอีกครั้งในวันที่ 26 กรกฎาคม 2017 ภายหลังความเห็นไม่ลงรอยกับรัฐบาลร่วมของราษฏรียชนตาดัล (RJD) รัฐบาลพิหารโดยกุมารได้บังคับกฎห้ามจำหน่ายและดื่มสุราในรัฐเมื่อเดือนเมษายน 2016[4]
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]นิตีศ กุมาร เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1951 ที่พัขติอรปุระในรัฐพิหาร บิดาของเขา ชื่อว่า Kaviraj Ram Lakhan Singh เป็นอายุรเวท ส่วนมารดาของเขา มีชื่อว่า Parmeshwari Devi นิตีศอยู่ในวรรณะเกษตรกรรมของกุรมี[5][6]
เขาสำเร็จการศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิศวกรรมพิหาร (สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติปัฏนาในปัจจุบัน) ใน ค.ศ. 1972[7][8] เขาได้เข้าทำงานที่คณะกรรมธิการไฟฟ้ารัฐพิหาร แต่ก็ทำงานได้ไม่เต็มที่นัก จึงผันตัวไปทำงานด้านการเมืองแทน[9] เขาสมรสกับมันจู กุมารี (1955-2007) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1973 และมีบุตรชาย 1 คน[6] มันจู กุมารีถึงแก่กรรมที่นิวเดลีเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 ด้วยโรคปอดอักเสบ[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Nitish Kumar sworn-in as CM for sixth time: A look at the life of the 'Chanakya of Bihar politics'". Firstpost. PTI. 27 July 2017. สืบค้นเมื่อ 2019-01-02.
- ↑ "Nitish Kumar's development agenda makes waves in Bihar". Lok Sabha Elections 2009. Sify News. 1 May 2009. สืบค้นเมื่อ 26 May 2009.
- ↑ Antholis, William (22 October 2013). "New Players on the World Stage: Chinese Provinces and Indian States". Brookings Institution. สืบค้นเมื่อ 12 November 2015.
- ↑ Prakash, Guru (8 May 2020). "Nitish Kumar must lift alcohol ban to rescue Bihar from low GST and corona crisis". ThePrint. สืบค้นเมื่อ 27 September 2020.
- ↑ Kumar, Sanjay (2018-06-05). Post mandal politics in Bihar:Changing electoral patterns. SAGE publication. ISBN 978-93-528-0585-3.
- ↑ 6.0 6.1 "Chief Minister of Bihar". Government of Bihar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-06. สืบค้นเมื่อ 2019-01-29.
- ↑ "Bihar leader-Mr. Nitish Kumar". Hindustan Times. 18 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-17. สืบค้นเมื่อ 18 August 2015.
- ↑ "A Politician other Politicians should Emulate!". Polityindia.com. 18 January 2011. สืบค้นเมื่อ 17 September 2012.
- ↑ "I dream of the old glory days of Bihar". The Times Of India. 1 January 2012. สืบค้นเมื่อ 21 October 2018.
- ↑ https://www.hindustantimes.com/india/nitish-kumar-s-wife-passes-away-in-delhi/story-W6jz9FvoNtuKkb772mo5zH.html