ข้ามไปเนื้อหา

นารีมาน ศอดิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นารีมาน ศอดิก
สมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์
ดำรงพระยศค.ศ. 1951-1952
ก่อนหน้าฟารีดา
ถัดไปสิ้นสุด
เกิด31 ตุลาคม ค.ศ. 1933
อเล็กซานเดรีย อียิปต์
เสียชีวิต16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 (72 ปี)
โรงพยาบาลดาร์ อัล-เฟาอัด กีซา อียิปต์
พระราชสวามีพระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ (ค.ศ. 1951-1954)
สามีนายอาดัม เอล นาจีบ (ค.ศ. 1954-1961)
นายอิสมาอิล ฟาห์มี (ค.ศ. 1967-2005)
บุตรพระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์
นายอะกรัม อาดัม อาเหม็ด เอล นาจีบ
ราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี (อภิเษกสกสมรส)
บิดานายฮุสเซน ฟาห์มี ศอดิก เบย์
มารดานางอาซีลา คามิล

นารีมาน ศอดิก (อาหรับ:ناريمان صادق Nārīmān Sādiq, เกิด 31 ตุลาคม ค.ศ. 1933 —เสียชีวิต 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005) เป็นธิดาของนายฮุสเซน ฟาห์มี ศอดิก เบย์ และนางอาซีลา คามิล โดยนารีมานเป็นพระมเหสีองค์ที่สองของพระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์

ประวัติ

[แก้]

นารีมาน ศอดิก เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1933 เป็นธิดาของนายฮุสเซน ฟาห์มี ศอดิก เบย์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศอียิปต์ และนางอาซีละ คามิล ซึ่งเป็นบุตรสาวของกาเมล มะห์มุด

เนื่องด้วยสมเด็จพระราชินีฟารีดาแห่งอียิปต์ พระมเหสีของพระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ มีพระประสูติกาลพระราชธิดาถึง 3 พระองค์ เป็นเวลาถึง 10 ปี สร้างความไม่พอพระทัยแก่พระเจ้าฟารุกเป็นอย่างมาก ด้วยความมุ่งมั่นในการที่จะได้พระโอรสเป็นรัชทายาทสืบทอดราชบัลลังก์ พระเจ้าฟารุกที่ 1 จึงได้ตัดสินพระทัยหย่ากับราชินีฟารีดา เพื่อให้แน่ใจต่อการสืบทอดราชบัลลังก์ รวมถึงการต่อต้านประชาชนที่ทำให้อำนาจของราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลีเสื่อมลงเรื่อยๆ พระเจ้าฟารุกจึงมองหาเจ้าสาวชาวอียิปต์คนใหม่ ที่มิใช่ชนชั้นสูงมากนัก นั่นก็คือนารีมานนั่นเอง

อภิเษกสมรส

[แก้]

นารีมาน อภิเษกสมรสกับพระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1951 ขณะที่เธอมีอายุได้ 16 ปี และฉายาว่า "ซินเดอเรลลาแห่งลุ่มน้ำไนล์" เธอถูกเลือกเพื่อเป็นสัญญาณการอยู่รอดของระบอบกษัตริย์ของอียิปต์ที่กำลังง่อนแง่นเนื่องจากขาดผู้สืบทอดอำนาจราชบัลลังก์กษัตริย์ แม้ว่านารีมานจะได้หมั้นหมายกับซากี้ ฮาเซม นักศึกษาแพทย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแล้วก็ตาม แต่เธอก็ได้ทำการยกเลิกการหมั้นนั้นเสีย เพื่อที่ตนจะได้เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์ เธอเข้าคอร์สลดน้ำหนัก เพื่อที่จะทำให้พระราชสวามีโปรด ในงานอภิเษกสมรสเธอได้ชุดครุยประดับเพชร 20,000 เม็ด โดยของขวัญแต่งงานล้วนทำจากทองคำ และถูกละลายไปหลังพิธีการ เธอได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์[1]

ในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1952 สมเด็จพระราชินีทรงมีพระประสูติกาลพระโอรสองค์แรกในพระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ ซึ่งสร้างความปลื้มปิติแก่พระราชสวามีมาก ซึ่งพระราชโอรสองค์นี้มีพระนามว่า เจ้าชายฟูอัดที่ 2 ตามพระนามของพระราชบิดาของพระเจ้าฟารุก

ต่อมาในวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1952 โมฮัมเหม็ด นาจีบ (Mohamed Naguib) ได้ก่อการรัฐประหารขึ้น โดยบังคับให้พระเจ้าฟารุกทรงสละราชสมบัติ และสถาปนาให้เจ้าชายฟูอัดที่ 2 ครองราชย์เป็นกษัตริย์อียิปต์องค์ใหม่ มีพระนามว่า พระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ โดยครองราชย์ในเวลาอันสั้นก่อนเพียงหนึ่งปี ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบราชาธิปไตยเป็นแบบสาธารณรัฐดังเช่นในปัจจุบัน

ชีวิตหลังการหย่า

[แก้]

หลังจากทรงสละราชสมบัติ พระเจ้าฟารุกได้เสด็จลี้ภัยไปกับเรือยอร์ชหลวง El-Mahrousa ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1953 สร้างความเบื่อหน่ายให้แก่สมเด็จพระราชินีนารีมานมาก โดยสมเด็จพระราชินีเสด็จกลับอียิปต์พร้อมด้วยมารดาของพระองค์ และได้ทำการหย่ากับพระเจ้าฟารุกในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1954

การสมรสใหม่ครั้งที่สอง

[แก้]

ต่อมาในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1954 นารีมานได้สมรสใหม่กับ ดร.อาดัม เอล-นาจีบ ชาวเมืองอเล็กซานเดรีย ซึ่งเป็นนายแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าฟารุก อดีตพระราชสวามีนั่นเอง นารีมาน และสามีใหม่ มีบุตรชายด้วยกัน 1 คน คือ นายอะกรัม อาดัม อาเหม็ด เอล นาจีบ และต่อมาภายหลังนารีมานกับ ดร.อาดัม ได้หย่ากันในปี ค.ศ. 1961

การสมรสครั้งสุดท้าย

[แก้]

ต่อมา เธอได้สมรสครั้งสุดท้ายกับ ดร.อิสมาอิล ฟาห์มี ซึ่งนายแพทย์ ในปี ค.ศ. 1967 โดยเธออาศัยอยู่กับเขาในเขตเฮลิโอโปลิส กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

เสียชีวิต

[แก้]

นารีมานเริ่มมีอาการปอดบวม และนอนโรงพยาบาล ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้เธอไม่เคยออกจากบ้านเลย นอกจากจะมีความจำเป็นจริงๆ เธอนอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเนื่องจากเกิดอาการโคม่า และเสียชีวิตอย่างสงบในช่วงเช้าเวลา 8.00 นาฬิกา ของวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 สิริอายุได้ 72 ปี[2]

เกียรติยศ

[แก้]
  • 31 ตุลาคม 1933 - พฤษภาคม 1951 : นางสาวนารีมาน ศอดิก
  • 6 พฤษภาคม 1951 - 23 กรกฎาคม 1952 : เฮอร์มาเจสตี สมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์
  • 23 กรกฎาคม 1952 - 2 กุมภาพันธ์ 1954 : เฮอร์มาเจสตี สมเด็จพระราชินีนารีมาน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Narriman Sadek". The Telegraph. March 1, 2005. สืบค้นเมื่อ 26 January 2011.
  2. "Queen Nariman". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-19. สืบค้นเมื่อ 2009-12-04.
ก่อนหน้า นารีมาน ศอดิก ถัดไป
สมเด็จพระราชินีฟารีดาแห่งอียิปต์
สมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์
(6 พฤษภาคม ค.ศ. 1951-26 กรกฎาคม ค.ศ. 1952)
สิ้นสุดตำแหน่ง
ปฏิวัติอียิปต์ ค.ศ. 1952