ข้ามไปเนื้อหา

นายช่างแห่งนักบุญไจลส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"นักบุญไจลส์กับนางกวาง" (รายละเอียดจากภาพ "ปาฏิหาริย์ของนักบุญไจลส์") จัดแสดงอยู่ที่ หอศิลป์แห่งชาติ กรุงลอนดอน

นายช่างแห่งเซนต์ไจลส์ (ฝรั่งเศส: Maître de Saint-Gilles, อังกฤษ: Master of Saint Giles) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศส-เฟล็มมิชของยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีงานเขียนอยู่ในบริเวณที่อาจจะเป็นปารีส ลักษณะการเขียนเป็นแบบสมัยปลายกอธิค ที่จะเน้นพื้นผิวและแสดงและความเที่ยงตรงของรายละเอียดตามความเป็นจริงภายในที่มีลักษณะคล้ายกับการเขียนภาพของยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้น ไม่เป็นที่ทราบแน่นอนว่านายช่างแห่งเซนต์ไจลส์เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสที่อาจจะไปฝึกงานอยู่ในบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ หรือชาวดัตช์ที่ย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในฝรั่งเศส

สมญานามดังกล่าวตั้งขึ้นโดยแม็กซ์ ยาคอป ฟรีดเลนเดอร์ผู้ทำการวิจัยลักษณะการเขียนบางส่วนของศิลปินไม่ทราบนามผู้นี้ โดยเริ่มจากจิตรกรรมแผงสองแผงที่อุทิศให้แก่นักบุญไจลส์ ("ปาฏิหาริย์" และ "มิซซา") ที่เป็นของหอศิลป์แห่งชาติในลอนดอน ซึ่งเป็นบานซ้ายของฉากแท่นบูชา และจิตรกรรมแผงอีกสองแผงของของฉากแท่นบูชาเดียวกันที่ในปัจจุบันอยู่ที่วอชิงตัน ฝีมือของผู้ช่วยเห็นได้ในภาพ "การถวายศีลจุ่มแด่พระเจ้าโคลวิส" ของหอศิลป์แห่งชาติในวอชิงตัน ดี.ซี. ผู้เขียนแผง "ฉากจากชีวิตของพระสังฆราช-นักบุญ" ที่อาจจะเป็นนักบุญลู, นักบุญเด็นนิส หรือ นักบุญเรมี จิตรกรรมทั้งสี่แผงต่างก็มีภาพเอกรงค์ของนักบุญอยู่ในภาพ ในช่องที่ทำให้ดูเหมือนประติมากรรม ภาพสองภาพของวอชิงตัน ดี.ซี. ที่อยู่ในสภาพที่ไม่ไคร่ดีนักถูกแยกจากกันและหายไป แต่ยังคงมีภายถ่ายอยู่ให้เห็น

ฉากของฉากแท่นบูชา

[แก้]

ที่ตั้งเดิมของฉากแท่นบูชายังไม่ได้รับการรับรองเป็นที่แน่นอน แต่อาจจะเป็นได้หนึ่งในสามอย่างที่รวมทั้งกษัตริย์แฟรงค์และฉากในภาพอาจจะเป็นที่แอบบีแซงต์เดอนีส์ ("มิซซาของนักบุญไจลส์", ลอนดอน) ที่พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสทรงทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก, , ชาเปลหลวงวิหารแซงต์ชาเปล ('"การถวายศีลจุ่มแด่พระเจ้าโคลวิส") และนอกมหาวิหารโนเทรอดามแห่งปารีส ("ฉากจากชีวิตของพระสังฆราช-นักบุญ") ที่เป็นนัยว่าเป็นงานจ้างที่อาจจะมาจากพระมหากษัตริย์ ที่อาจจะสั่งทำขึ้นสำหรับประดับแท่นบูชาเอกของแอบบีแซงต์เดอนีส์ ข้อสันนิษฐานที่สองคือวัดที่แซงต์ลู-แซงต์-ชิลส์บนถนนแซงต์-เดอนีส์ ในปารีส[1] พระสังฆราช-นักบุญที่ไม่ทราบนามยืนอยู่บนบันไดของวัดที่แซงต์-ฌอง-เลอ-รงด์ที่เดิมตั้งอยู่ติดกับมหาวิหารโนเทรอดามแห่งปารีส ที่มองเห็นทางเข้าหลักทางด้านหลังทางซ้าย วัดเล็กที่ว่านี้ใช้เป็นหอศีลจุ่ม ตรงกันข้ามกับมหาวิหารเป็นโอเตล-ดูแห่งปารีส สิ่งก่อสร้างทั้งสองยังคงตั้งอยู่ให้เห็นจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่เห็นได้จากภาพพิมพ์จากสมัยนั้น[2] แผงที่เป็นภาพพระมหากษัตริย์ล่าสัตว์อาจจะเป็นทัศนียภาพของปงตวซที่ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณปริมณฑลทางตะวันตกเฉียงเหนือของปารีส ทัศนียภาพดูจะเที่ยงตรงต่อความเป็นจริงที่เห็นได้จากภาพเขียนต่อมา และโดยเฉพาะทัศนียภาพของแอบบีแซงต์เดอนีส์ก็เป็นหลักฐานอันมีค่าที่ทำให้เห็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ภายในคริสต์ศาสนสถานในยุคนั้น ที่ต่อมามาถูกทำลายจนหมดสิ้นระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส

งานอื่น

[แก้]

สิ่งที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับความเกี่ยวข้องกับเนเธอร์แลนด์ก็รวมทั้งการประยุกต์ภาพพระแม่มารีที่พัฒนาขึ้นโดยโรเจียร์ ฟาน เดอ เวย์เด็นที่เห็นในภาพที่เป็นงานสะสมของพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน[3]และภาพ "พระแม่มารีและพระบุตร" ภาพหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นงานเขียนสมัยแรกของพิพิธภัณฑ์ลูฟร์[4] อีกภาพหนึ่งที่กล่าวกันว่าเป็นงานเขียนของนายช่างแห่งเซนต์ไจลส์คือภาพเหมือนของฟิลลิปผู้ทรงโฉมผู้เสด็จประพาสปารีสในปี ค.ศ. 1501 ซึ่งดูเหมือนจะเป็นภาพต้นฉบับ นอกจากนั้นก็ยังมีภาพนักบุญอีกสองภาพที่แบร์นที่แสดงลักษณะการเขียนแบบฝรั่งเศส[5] '"การทรยศต่อพระเยซู" ในบรัสเซลส์เป็นฉากยามค่ำที่ส่องสว่างด้วยโคมเท่านั้น[6] เช่นเดียวกับมิเคล ซิทเทาว์ และ ฌอง เฮย์ (นายช่างแห่งมูแลงส์) นายช่างแห่งเซนต์ไจลส์อาจจะแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของการเขียนภาพแบบเนเธอร์แลนด์ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรป

ระเบียงภาพ

[แก้]


อ้างอิง

[แก้]
  1. Thomas Tolley, Master of Saint Giles, Grove Art Online, accessed Januiary 31st, 2008
  2. Woolf:173 and 163.
  3. Link unusually this is in oil and tempera on paper, laid on a panel
  4. Grove op cit
  5. Woolf:162
  6. Grove op cit
  7. Although the historical event happened in Reims Cathedral, as did many later royal French baptisms

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ นายช่างแห่งเซนต์ไจลส์