นักบุญเดนิส
นักบุญเดนิสแห่งปารีส | |
---|---|
“นักบุญเดนิสแห่งปารีส” | |
มุขนายกและมรณสักขี | |
เกิด | คริสต์ศตวรรษที่ 3 จักรวรรดิโรมัน |
เสียชีวิต | ราว ค.ศ. 250, 258[1] หรือ 270 มงมาตร์, ฝรั่งเศส |
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
วันฉลอง | 9 ตุลาคม |
สัญลักษณ์ | คนศีรษะขาดถือศีรษะตนเองในมือ หมวกสูง เมือง เตาไฟ[2] |
องค์อุปถัมภ์ | ฝรั่งเศส ปารีส ต่อต้านความยุ่งเหยิง การปวดหัว จากการกลัวน้ำ โรคพิษสุนัขบ้า ผีเข้า |
นักบุญเดนิสแห่งปารีส เรียกโดยย่อว่านักบุญเดนิส (ละติน: Dionysius; ฝรั่งเศส: Denis de Paris, เดอนี เดอ ปารี, อังกฤษ: Denis of Paris; Dionysius; Dennis; Denys) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เกิดราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 ในอิตาลี และเสียชีวิตเมื่อราวปี ค.ศ. 250, ค.ศ. 258 หรือ ค.ศ. 270 ที่มงมาทร์ ฝรั่งเศส อดีตบิชอปแห่งปารีส ชื่อ “Denis” แผลงมาจากชื่อโบราณ “Dionysius”
ชีวิต
[แก้]นักบุญเกรกัวร์แห่งตูร์[3] กล่าวว่าเป็นเดนิสเป็นบิชอปแห่งปารีสและถูกสังหารโดยการตัดคอด้วยดาบ หลักฐานทางลายลักษณ์อักษรฉบับแรกที่เกี่ยวกับชีวิตและการเป็นมรณสักขีของนักบุญเดนิสอยู่ใน “Passio SS. Dionysii Rustici et Eleutherii” ที่เขียนราว ค.ศ. 600 ที่อ้างอย่างไม่ถูกต้องว่าเขียนโดยกวีเวแนนเชียส ฟอร์ทูนาทัส เท่าที่ทราบจากหนังสือเล่มนี้ เดนิสถูกส่งตัวจากอิตาลีมาเปลี่ยนผู้คนในกอลให้หันไปนับถือคริสต์ศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 3 ซึ่งสัมพันธ์กับการส่ง “อัครทูตประจำชาวกอล” (apostles to the Gauls) ที่กล่าวกันว่าทำการส่งภายใต้ความรับผิดชอบของสมเด็จพระสันตะปาปาฟาเบียน ที่เกิดขึ้นหลังจากการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ลูเทเทียโดยจักรพรรดิเดเชียส[4] เดนิส รัสติคัส และเอลูเทเรียสผู้มาเสียชีวิตพร้อมกันจึงเดินทางไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณ Île de la Cité บนฝั่งแม่น้ำแซน โรมัน ปารีสตั้งอยู่บนเนินสูงทางเล็ฟต์แบงค์ไกลจากแม่น้ำ
การเป็นมรณสักขี
[แก้]เดนิสขัดแย้งกับนักบวชในลัทธินอกศาสนาเพราะไปทำให้ผู้คนหันมานับถือคริสต์ศาสนาเป็นจำนวนมากถูกลงโทษประหารชีวิตโดยการตัดศีรษะที่เนินสูงในปารีสที่ปัจจุบันคือมงมาทร์ ที่น่าจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของดรูอิด การสังหารเดนิสและเพื่อนนักบวชเชื่อกันว่าเป็นเหตุการณ์ที่เป็นที่มาของชื่อมงมาทร์ ที่อาจจะมาจากคำว่า “mons martyrium” (เนินมรณสักขี}})[1], although in fact the name is more likely to derive from mons mercurei et mons martis, Mountain of Mercury and Mars [5] หลังจากที่ศีรษะหลุดจากบ่า เดนิสก็หยิบหัวของตนเองขึ้นมาถือและเดินต่อไปอีกหกไมล์ เทศนาไปตลอดทางซึ่งทำให้เดนิสกลายเป็นนักบุญองค์หนึ่งในบรรดา “นักบุญถือศีรษะ” (Cephalophore) ในชีวประวัตินักบุญ รายละเอียดของการเป็นมรณสักขีหนึ่งได้รับการบันทึกใน “ตำนานทอง” และใน “ชีวิตของนักบุญ” โดยบัตเลอร์[6] จุดที่เด็นนิสเสียชีวิตจริงหลังจากที่เดินเทศน์มาก็ได้มีการก่อสร้างโบสถ์น้อยที่ต่อมากลายเป็นมหาวิหารแซ็ง-เดอนี ซึ่งเป็นที่บรรจุพระศพของพระมหากษัตริย์และพระราชินีของฝรั่งเศสเป็นจำนวนหลายพระองค์ อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่าร่างของเดนิสถูกโยนลงไปในแม่น้ำแซน แต่ผู้เปลี่ยนศาสนาไปดึงศพมาได้แลนำมาฝังต่อมา[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "St. Denis and Companions". "Saint of the Day". สืบค้นเมื่อ 2007-01-16.
- ↑ 2.0 2.1 Jones, Terry. "Denis". Patron Saints Index. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-07. สืบค้นเมื่อ 2007-01-16.
- ↑ "Beatus Dionysius Parisiorum episcopus diversis pro Christi nomine adfectus poenis praesentem vitam gladio immente finivit." "History of the Franks I," 30.
- ↑ "St. Denis". The Catholic Encyclopedia. Vol. 4. Robert Appleton Company. 1908. สืบค้นเมื่อ 2007-01-16.
- ↑ ""Une Légende liée à Montmartre"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-13. สืบค้นเมื่อ 2010-02-15.
- ↑ This is the iconographic detail by which he may be identified, whether in the thirteenth-century sculpture at the Musée de Cluny (illustration, left) or in the nineteenth-century figure in the portal of Nôtre Dame de Paris, part of Viollet-le-Duc's restorations (illustration, right).