นายกรัฐมนตรีเกาหลีเหนือ
นายกคณะรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี | |
---|---|
조선민주주의인민공화국 내각총리 | |
![]() | |
![]() | |
คณะรัฐมนตรีเกาหลีเหนือ | |
สมาชิกของ | คณะรัฐมนตรี |
ผู้เสนอชื่อ | สมัชชาประชาชนสูงสุด |
ผู้แต่งตั้ง | สมัชชาประชาชนสูงสุด |
วาระ | 5 ปี ต่ออายุได้ |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | คิม อิล-ซ็อง |
สถาปนา | 9 กันยายน ค.ศ. 1948 |
รอง | รองนายกรัฐมนตรี |
นายกคณะรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี | |
โชซ็อนกึล | 조선민주주의인민공화국 내각총리 |
---|---|
ฮันจา | 朝鮮民主主義人民共和國內閣總理 |
อาร์อาร์ | Joseon Minjujuui Inmin Gonghwaguk Naegak Chongni |
เอ็มอาร์ | Chosŏn Minjujuŭi Inmin Konghwaguk Naegak Ch'ongni |
นายกรัฐมนตรีเกาหลีเหนือ หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ นายกคณะรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เป็นหัวหน้ารัฐบาลของประเทศเกาหลีเหนือและผู้นำคณะรัฐมนตรีเกาหลีเหนือ
นายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการโดยสมัชชาประชาชนสูงสุด (SPA) ซึ่งยังแต่งตั้งสมาชิกคณะรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ตามการเสนอชื่อของนายกรัฐมนตรีด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นผู้จัดและนำคณะรัฐมนตรีและเป็นตัวแทนรัฐบาลเกาหลีเหนือตามรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือพัก แท-ซ็อง ดำรงตำแหน่งเมื่อ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2024
ประวัติศาสตร์
[แก้]เดิมที ภายใต้รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1948 ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งสูงสุดในรัฐบาลเกาหลีเหนือ คิม อิล-ซ็องประเดิมตำแหน่งนี้เป็นคนแรก และดำรงตำแหน่งนานถึง 24 ปีกระทั่งถึง ค.ศ. 1972 ขณะที่ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐตามพิธีการนั้นเป็นของประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสมัชชาประชาชนสูงสุด
รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1972 สร้างตำแหน่งประธานาธิบดีขึ้นมา ซึ่งเข้ามาแทนที่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในฐานะตำแหน่งสูงสุดของรัฐ ตำแหน่งประธานาธิบดีบริหารถูกสร้างขึ้นโดยคำนึงถึงคิม อิล-ซ็อง และเขาก็ย้ายไปดำรงตำแหน่งนั้นในไม่ช้าหลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าสภาบริหาร แต่อำนาจส่วนใหญ่ของคณะรัฐมนตรีชุดก่อนถูกส่งต่อไปยังคณะกรรมาธิการประชาชนกลาง สภาปกครองสูงสุดที่มีประธานาธิบดีเป็นประธาน นายกรัฐมนตรีคนแรกหลังจากคิม อิล-ซ็องคือคิม อิล พันธมิตรที่ยาวนานของเขา ต่อมาตำแหน่งนี้เป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อนายกสภาบริหาร (정무원 총리, jungmuwon chongni)
หลังอสัญกรรมของคิม อิล-ซ็อง ตำแหน่งประธานาธิบดีก็ยังคงว่างอยู่ (อย่างเป็นทางการ คิม อิล-ซ็องได้รับการประกาศให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาล) ขณะที่บุตรชายของเขา คิม จ็อง-อิล วางแผนการปรับโครงสร้างรัฐใหม่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 1998 ยกเลิกทั้งคณะกรรมาธิการประชาชนกลางและสภาบริหาร และมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่
อำนาจและหน้าที่
[แก้]นายกรัฐมนตรีได้รับการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการโดยสมัชชาประชาชนสูงสุด (SPA) ซึ่งมีสิทธิ์ถอดถอนนายกรัฐมนตรีได้เช่นกัน[1] นายกรัฐมนตรียังเสนอชื่อผู้สมัครสำหรับสมาชิกคณะรัฐมนตรี รวมถึงรองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีต่าง ๆ และสมาชิกคณะรัฐมนตรีอื่น ๆ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสมัชชาประชาชนสูงสุด นายกรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่จะกล่าวให้สัตย์ปฏิญาณต่อสมัชชาประชาชนสูงสุดในนามสมาชิกคณะรัฐมนตรี[1]
นายกรัฐมนตรีจัดระเบียบและกำกับดูแลคณะรัฐมนตรี และเป็นตัวแทนรัฐบาลของเกาหลีเหนือ[1] นายกรัฐมนตรียังเข้าร่วมการประชุมเต็มคณะและการประชุมคณะกรรมาธิการถาวรของคณะรัฐมนตรี[1] คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่ดำเนินตามนโยบายที่กำหนดโดยคณะกรรมาธิการกลางพรรคแรงงานเกาหลีและตำแหน่งนี้ไม่มีอำนาจกำหนดนโยบายของตนเอง[1]
นายกรัฐมนตรีเป็นส่วนหนึ่งของคณะสามผู้นำที่ดูแลฝ่ายบริหารของเกาหลีเหนือ ร่วมกับประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสมัชชาประชาชนสูงสุดและประธานคณะกรรมการกิจการแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ อำนาจของบุคคลทั้งสามนี้เทียบเท่ากับหนึ่งในสามของอำนาจของประธานาธิบดีในระบบประธานาธิบดีส่วนใหญ่ ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสมัชชาประชาชนสูงสุดดูแลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นายกรัฐมนตรีดูแลกิจการภายในประเทศและเป็นหัวหน้ารัฐบาล ประธานคณะกรรมการกิจการแห่งรัฐ (เดิมคือประธานคณะกรรมการป้องกันประเทศ) บัญชาการกองทัพ อย่างไรก็ตาม ประธานคณะกรรมการกิจการแห่งรัฐถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่าเป็น "ตำแหน่งสูงสุดของรัฐ" และเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ
นายกรัฐมนตรีถูกจัดให้อยู่ในลำดับต่ำที่สุดของคณะสามผู้นำบริหาร ที่สำคัญคือ คิม จ็อง-อิลดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการป้องกันประเทศอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ค.ศ. 1993 ถึง 2011 และคิม ย็อง-นัมดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้บริหารสูงสุดสมัชชาประชาชนสูงสุดตั้งแต่ ค.ศ. 1998 ถึง 2019 ขณะที่นายกรัฐมนตรีมีการเปลี่ยนแปลงถึงหกคนนับตั้งแต่อสัญกรรมของคิม อิล-ซ็อง อดีตนายกรัฐมนตรีคิม ด็อก-ฮุนได้รับการจัดให้อยู่ในลำดับที่สอง ขณะที่ชเว รย็อง-แฮ ประธานคณะผู้บริหารสูงสุดสมัชชาประชาชนสูงสุดได้รับการจัดให้อยู่ในลำดับที่สาม[2]
รายนามผู้ดำรงตำแหน่ง
[แก้]ต่อไปนี้เป็นรายนามนายกรัฐมนตรีของเกาหลีเหนือตั้งแต่ก่อตั้งประเทศใน ค.ศ. 1948
ลำดับ | รูป | ชื่อ (เกิด–เสียชีวิต) |
การดำรงตำแหน่ง | พรรคการเมือง | ประมุขแห่งรัฐ | สมัชชาประชาชนสูงสุด ชุดที่ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ระยะเวลา | |||||||
นายกคณะรัฐมนตรี 내각 수상 | |||||||||
1 | ![]() |
คิม อิล-ซ็อง 김일성 (1912–1994) |
9 กันยายน ค.ศ. 1948 |
28 ธันวาคม ค.ศ. 1972 |
24 ปี 110 วัน | พรรคแรงงานเกาหลีเหนือ (ถึง ค.ศ. 1949) |
คิม ดู-บง (1948–1957) |
1 | |
พรรคแรงงานเกาหลี (ตั้งแต่ ค.ศ. 1949) | |||||||||
ชเว ยง-ก็อน (1957–1972) |
2 | ||||||||
3 | |||||||||
4 | |||||||||
นายกสภาบริหาร 정무원 총리 | |||||||||
2 | ![]() |
คิม อิล 김일 (1910–1984) |
28 ธันวาคม ค.ศ. 1972 |
30 เมษายน ค.ศ. 1976 |
3 ปี 124 วัน | พรรคแรงงานเกาหลี | คิม อิล-ซ็อง (1972–1994) |
5 | |
3 | ![]() |
พัก ซ็อง-ช็อล 박성철 (1913–2008) |
30 เมษายน ค.ศ. 1976 |
15 ธันวาคม ค.ศ. 1977 |
1 ปี 229 วัน | พรรคแรงงานเกาหลี | |||
4 | ![]() |
รี จง-อก 리종옥 (1916–1999) |
15 ธันวาคม ค.ศ. 1977 |
25 มกราคม ค.ศ. 1984 |
6 ปี 41 วัน | พรรคแรงงานเกาหลี | 6 | ||
7 | |||||||||
5 | คัง ซ็อง-ซัน 강성산 (1931–2007) |
25 มกราคม ค.ศ. 1984 |
29 ธันวาคม ค.ศ. 1986 |
2 ปี 338 วัน | พรรคแรงงานเกาหลี | ||||
6 | รี กึน-โม 리근모 (1926–2001) |
29 ธันวาคม ค.ศ. 1986 |
12 ธันวาคม ค.ศ. 1988 |
1 ปี 349 วัน | พรรคแรงงานเกาหลี | 8 | |||
7 | ย็อน ฮย็อง-มุก 연형묵 (1931–2005) |
12 ธันวาคม ค.ศ. 1988 |
11 ธันวาคม ค.ศ. 1992 |
3 ปี 365 วัน | พรรคแรงงานเกาหลี | ||||
9 | |||||||||
(5) | คัง ซ็อง-ซัน 강성산 (1931–2007) |
11 ธันวาคม ค.ศ. 1992 |
21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 |
4 ปี 72 วัน | พรรคแรงงานเกาหลี | ||||
ว่าง (1994–1998) | |||||||||
– | ฮง ซ็อง-นัม 홍성남 (1929–2009) รักษาการ |
21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 |
5 กันยายน ค.ศ. 1998 |
1 ปี 196 วัน | พรรคแรงงานเกาหลี | ||||
นายกคณะรัฐมนตรี 내각총리 | |||||||||
8 | ฮง ซ็อง-นัม 홍성남 (1929–2009) [3] |
5 กันยายน ค.ศ. 1998 |
3 กันยายน ค.ศ. 2003 |
4 ปี 363 วัน | พรรคแรงงานเกาหลี | คิม ย็อง-นัม (1998–2019) |
10 | ||
9 | พัก บง-จู 박봉주 (เกิด ค.ศ. 1939) [4] |
3 กันยายน ค.ศ. 2003 |
11 เมษายน ค.ศ. 2007 |
3 ปี 220 วัน | พรรคแรงงานเกาหลี | 11 | |||
10 | คิม ย็อง-อิล 김영일 (เกิด ค.ศ. 1944) [5] |
11 เมษายน ค.ศ. 2007 |
7 มิถุนายน ค.ศ. 2010 |
3 ปี 57 วัน | พรรคแรงงานเกาหลี | ||||
12 | |||||||||
11 | ชเว ย็อง-ริม 최영림 (เกิด ค.ศ. 1930) [6] |
7 มิถุนายน ค.ศ. 2010 |
1 เมษายน ค.ศ. 2013 |
2 ปี 298 วัน | พรรคแรงงานเกาหลี | ||||
(9) | พัก บง-จู 박봉주 (เกิด ค.ศ. 1939) [7][8] |
1 เมษายน ค.ศ. 2013 |
11 เมษายน ค.ศ. 2019 |
6 ปี 10 วัน | พรรคแรงงานเกาหลี | ||||
13 | |||||||||
12 | คิม แจ-รย็อง 김재룡 (เกิด ค.ศ. 1959) [9] |
11 เมษายน ค.ศ. 2019 |
13 สิงหาคม ค.ศ. 2020 |
1 ปี 124 วัน | พรรคแรงงานเกาหลี | คิม จ็อง-อึน (ตั้งแต่ ค.ศ. 2019) |
14 | ||
13 | ![]() |
คิม ด็อก-ฮุน 김덕훈 (เกิด ค.ศ. 1961) [10] |
13 สิงหาคม ค.ศ. 2020 |
29 ธันวาคม ค.ศ. 2024 |
4 ปี 138 วัน | พรรคแรงงานเกาหลี | |||
14 | ![]() |
พัก แท-ซ็อง 박태성 (เกิด ค.ศ. 1955) [11] |
29 ธันวาคม ค.ศ. 2024 |
อยู่ในวาระ | 119 วัน | พรรคแรงงานเกาหลี |
เส้นเวลา
[แก้]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Socialist Constitution". Naenara. สืบค้นเมื่อ 2 July 2023.
- ↑ Weiser, Martin (2022-08-01). "North Korea's premier now ranks as top official. Is he Kim Jong Un's successor?". NK PRO (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-08.
- ↑ "Election for state leadership organs". KCNA Watch. 5 September 1998.
- ↑ "Members of DPRK Cabinet Appointed". KCNA Watch. 4 September 2003.
- ↑ "5th Session of 11th SPA of DPRK Held". KCNA Watch. 12 April 2007.
- ↑ "Choe Yong Rim Elected PM". KCNA Watch. 7 June 2010.
- ↑ "Seventh Session of 12th SPA of DPRK Held". KCNA Watch. 1 April 2013.
- ↑ "Members of DPRK Cabinet Appointed". KCNA Watch. 9 April 2014.
- ↑ "First Session of 14th SPA Held". KCNA Watch. 12 April 2019.
- ↑ "New Premier of DPRK Cabinet Appointed". KCNA Watch. 14 August 2020.
- ↑ "Press Release of Eleventh Plenary Meeting of Eighth C.C., WPK". KCNA Watch. 29 December 2024.