นรินทร์ศร รัตนไพฑูรย์
นรินทร์ศร รัตนไพฑูรย์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน | |
ดำรงตำแหน่ง 26 มกราคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519 (0 ปี 351 วัน) | |
ก่อนหน้า | ก้าน รัตนสาขา |
ถัดไป | ทวี จุลละทรัพย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2479 อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
พรรคการเมือง | อิสระ |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | แนวประชาธิปไตย (2512–2517) ประชาธิปัตย์ (2517) พลังใหม่ (2517–2525) ปวงชนชาวไทย (2525–2531, 2535) มวลชน (2538–2539) เสรีประชาธิปไตย (2539–) สหประชาธิปไตย (2531–2534) รักษ์ถิ่นไทย (?–2551) |
นรินทร์ศร รัตนไพฑูรย์ (เกิด 5 ธันวาคม พ.ศ. 2479) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน 1 สมัย สังกัดพรรคพลังใหม่ อดีตสมาชิกสภาเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน และผู้ร่วมก่อตั้งพรรคพลังใหม่
ประวัติ
[แก้]นรินทร์ศร รัตนไพฑูรย์ เกิด 5 ธันวาคม พ.ศ. 2479 ที่ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จบมัธยมศึกษาตอนต้น-ปลาย จากโรงเรียนห้องสอนศึกษา อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ระดับประกาศนียบัตรการประถมศึกษา จาก โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร และ การศึกษาบัณฑิต จาก วิทยาลัยวิชาการประสานมิตร
งานการเมือง
[แก้]จากวงการข้าราชการก็เข้าสู่วงการการเมืองโดยเขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ใน พ.ศ. 2501 และได้รับเลือกตั้ง จวบจนมีโอกาสลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยก่อนหน้านั้นเขาตั้งใจลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม พรรคประชาธิปัตย์ โดยในเดือน มกราคม พ.ศ. 2517 เขาได้ไปพูดคุยกับหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช โดยเขาได้ไปพบหม่อมราชวงศ์เสนีย์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น เพื่อแจ้งความจำนงลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็น สส.แม่ฮ่องสอน หม่อมราชวงศ์เสนีย์ บอกตัวเขาว่าหม่อมราชวงศ์เสนีย์กำลังจะวางมือให้พิชัย รัตตกุล ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แทน หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ให้เขาไปหานายพิชัย ปรากฎว่าเขาไปหาพิชัย 3 ครั้ง แต่เขาไม่พบสุดท้ายเขาจึงตัดสินใจลงนามเป็นผู้ก่อตั้งพรรคพลังใหม่และสังกัดพรรคพลังใหม่ในเวลาต่อมา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคพลังใหม่ และได้รับเลือกตั้ง แต่ดำรงตำแหน่งเวลาอันสั้นด้วยเพราะเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในยุคนั้น อย่างไรก็ตาม แม้เขาไม่ได้รับเลือกตั้งอีกเลยนับแต่นั้นมา แต่เขาก็ยังคงสนใจการเมืองเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน [1]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง ในสังกัดพรรคเสรีประชาธิปไตย ได้คะแนนเพียง 1546 คะแนน คิดเป็น 2.10% โดยแพ้ให้กับนายปัญญา จีนาคำ จากพรรคประชาธิปัตย์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้หันมาสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2551 แต่ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ เนื่องจากติดปัญหาพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง (พรรครักษ์ถิ่นไทย) มาแล้วไม่เกินห้าปีนับถึงวันรับสมัครรับเลือกตั้ง [2]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]นรินทร์ศร รัตนไพฑูรย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ