นกทึดทือ
นกทึดทือ | |
---|---|
นกทึดทือพันธุ์เหนือ (K. zeylonensis) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Strigiformes |
วงศ์: | Strigidae |
สกุล: | Ketupa Lesson, 1830 |
ชนิด | |
|
นกทึดทือ หรือ นกถึดทือ[1] หรือ นกพิทิด ในภาษาใต้[2] (อังกฤษ: Fish owls) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อจำพวกหนึ่ง ในวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) จัดอยู่ในสกุล Ketupa (แต่จากการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมแล้วพบว่าควรจะจัดให้อยู่ในสกุล Bubo หรือนกเค้าใหญ่ มากกว่า[3])
ลักษณะของนกทึดทือ เป็นนกฮูกหรือนกเค้าแมวขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีลำตัวสีนํ้าตาล มีลายกระสีขาว ลำตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านท้อง ขนคิ้วยาว เห็นได้ชัด ตาสีเหลือง หน้าแข้งไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน
การที่ได้ชื่อว่า "ทึดทือ" นั้น มาจากเสียงร้อง ที่เป็นเสียงต่ำทุ้ม โดยเฉพาะช่วงจับคู่ในฤดูหนาว ทั้งสองเพศจะร้องประสานเสียงกันให้ได้ยินบ่อย ๆ ยามพลบค่ำและรุ่งสาง จะอาศัยอยู่ในป่าใกล้แหล่งน้ำ เพราะจับสัตว์น้ำ เช่น ปลา, ปู, กุ้ง, กบ, เขียด กินเป็นอาหาร ทำรังและอาศัยบนต้นไม้ยืนต้น พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชีย ในประเทศไทยพบ 2 ชนิด[4] [1]
การจำแนก
[แก้]- Ketupa flavipes (Hodgson, 1836)
- Ketupa ketupu (Horsfield, 1821) – นกทึดทือมลายู (พบในประเทศไทย)
- Ketupa zeylonensis (Gmelin, 1788) – นกทึดทือพันธุ์เหนือ (พบในประเทศไทย)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "นกทึดทือพันธุ์เหนือ จากคมชัดลึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-23. สืบค้นเมื่อ 2013-09-14.
- ↑ "วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 17 11 58". ฟ้าวันใหม่. 17 November 2015. สืบค้นเมื่อ 18 November 2015.
- ↑ Newton, Ian; Kavanagh, Rodney; Olsen, Jerry; Taylor, Iain, บ.ก. (2002). Ecology and Conservation of Owls. Clayton, VIC, Australia: Csiro Publishing. p. 346. ISBN 978-0-643-09887-9.
- ↑ ทึดทือ น. จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
- ↑ "Ketupa". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ketupa ที่วิกิสปีชีส์