นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล
นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล | |
---|---|
นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล (Malacopteron magnirostre) | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Passeriformes |
วงศ์: | Pellorneidae |
สกุล: | Malacopteron |
สปีชีส์: | M. magnirostre |
ชื่อทวินาม | |
Malacopteron magnirostre (Moore, 1854) |
นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล (อังกฤษ: moustached babbler หรือ นกกินแมลงหนวด; ชื่อวิทยาศาสตร์: Malacopteron magnirostre) เป็นนกในวงศ์นกมุ่นรก (Pellorneidae)
อนุกรมวิธาน
[แก้]นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล (M. magnirostre) มีสองชนิดย่อยคือ ชนิดย่อยหลัก M. m. magnirostre และชนิดย่อย M. m. cinereocapilla (Salvadori, 1868) ชนิดย่อยที่สาม M. m. Flavum พบที่หมู่เกาะ Anamba บางครั้งรวมเข้ากับชนิดย่อยหลัก
ชื่อเฉพาะ magnirostre มาจาก ภาษาละติน (จะงอยปากใหญ่) "magnus" หมายถึง ใหญ่ และ "rostris" คือ จะงอยปาก ชื่อของชนิดย่อย cinereocapilla มาจากภาษาละติน cinereus หมายความถึง ขี้เถ้า สีขี้เถ้า และ capillus แปลว่า หัว [2]
การแพร่กระจายพันธุ์และถิ่นที่อยู่
[แก้]นกกินแมลงหัวสีน้ำตาลพบได้ใน ซุนดาแลนด์ ตัวอย่างที่ได้รับการระบุสายพันธุ์พบในภาคใต้ของพม่าและไทย ตลอดถึงคาบสมุทรมาเลเซียและเกาะสุมาตรา และชนิดย่อย M. m. cinereocapilla เป็นนกเฉพาะถิ่นบนเกาะบอร์เนียว[2] ซึ่งเดิมพบได้ในป่าของสิงคโปร์ แต่ปัจจุบันน่าจะมีสถานะสูญพันธุ์ในสิงคโปร์แล้ว[3]
แหล่งอาศัยตามธรรมชาติของนกกินแมลงหัวสีน้ำตาลคือ ป่าที่ราบลุ่มชื้นเขตร้อน ป่าพรุป่าทุติยภูมิ ป่าปลูก และสวนยางเก่า ในระดับความสูงช่วง 915 เมตร (3,002 ฟุต) ถึง 1,200 เมตร (3,900 ฟุต) [2] มีข้อเสนอแนะว่าการที่นกกินแมลงหัวสีน้ำตาลชอบอาศัยในป่าสมบูรณ์ (primary forest) เป็นหลักจึงอาจสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ของป่าได้[ต้องการอ้างอิง]
ลักษณะทางกายภาพ
[แก้]นกกินแมลงหัวสีน้ำตาลมีลำตัวยาว 18 เซนติเมตร (7.1 นิ้ว) และมีน้ำหนักระหว่าง 16–25 กรัม (0.56–0.88 ออนซ์) ขนนกมีสีน้ำตาลหม่นด้านบนและด้านล่างเป็นสีขาว ในชนิดย่อยหลักหัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลมะกอก มีแถบสีเทาดำใต้ตา และหนวดสีดำหลายเส้นรอบโคนจะงอยปากซึ่งเป็นลักษณะเด่น[2] ตาแดง จะงอยปากล่างสีอ่อนกว่าจะงอยปากบน
พฤติกรรม
[แก้]นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล กินแมลง ได้แก่ แมลงปีกแข็ง และตั๊กแตน ทำรังและให้อาหารในความสูงตั้งแต่ 4–6 เมตร (13–20 ฟุต) จากพื้นดิน [2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ BirdLife International (2012). "'Malacopteron magnirostre". IUCN Red List of Threatened Species. 2012. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2556.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Collar, N. & Robson, C. (2017). Moustached Babbler (Malacopteron magnirostre). In: del Hoyo, J., Elliott, A., Sargatal, J., Christie, D.A. & de Juana, E. (eds.). Handbook of the Birds of the World Alive. Lynx Edicions, Barcelona. (retrieved from http://www.hbw.com/node/59505 on 18 March 2017).
- ↑ Yong, D. L. (2009). "Persistence of babbler (Timaliidae) communities in Singapore forests" (PDF). Nature in Singapore. 2: 365–371. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-16.