ธารา ปิตุเตชะ
ธารา ปิตุเตชะ | |
---|---|
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 50 วัน) | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ธารา แซ่จึง 15 สิงหาคม พ.ศ. 2504 อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2547–2550) ประชาธิปัตย์ (2550–ปัจจุบัน) |
ธารา ปิตุเตชะ (เกิด 15 สิงหาคม พ.ศ. 2504) ชื่อเล่น ทุ่น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง 4 สมัย
ประวัติ
[แก้]ธารา เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ที่อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เป็นบุตรของสาคร ปิตุเตชะ อดีตกำนันตำบลบางบุตร (27 มีนาคม พ.ศ. 2476 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561) กับ ทอด ปิตุเตชะ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 - 12 มกราคม พ.ศ. 2568) เป็นน้องชายนายปิยะ ปิตุเตชะ อดีตนายก อบจ.ระยอง และเป็นพี่ชายนายสาธิต ปิตุเตชะ[1]
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ (ทรัพยากรมนุษย์) จากสถาบันราชภัฏรำไพพรรณี
การทำงาน
[แก้]เขาเป็นนักการเมืองชาวระยอง เคยสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ในนามพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นการลงสมัครคนละพรรคกับ สาธิต ปิตุเตชะ และเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก (พรรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้งยกทั้งจังหวัด)
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เขาย้ายไปลงสมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเดียวกับน้องชาย และได้รับเลือกตั้งอีกสมัย และได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัยต่อเนื่อง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562[2] เขาเป็นรองประธานกรรมาธิการพลังงาน ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25[3]
สภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ธารา ปิตุเตชะ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อดีต สส.ปชป.ระยอง ล้มละลาย เคยแจ้ง ป.ป.ช.หนี้อื้อ 7 รายการ 617 ล.
- ↑ ตระกูล"ปิตุเตชะ"ซิวเก้าอี้ ส.ส.ระยองให้ ปชป.3 เขต พปชร.เจาะได้ 1
- ↑ “ธารา” จี้รัฐบาลตั้งกองทุนเยียวยาชาวระยองเหตุน้ำมันรั่ว หวั่นซ้ำรอยปี 56
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2504
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอบ้านค่าย
- ชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋ว
- นักการเมืองจากจังหวัดระยอง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.