ธนิตพล ไชยนันทน์
ธนิตพล ไชยนันทน์ | |
---|---|
ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ.2566 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2516 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2544–ปัจจุบัน) |
ชื่อเล่น | เดี๊ยบ[1] |
ธนิตพล ไชยนันทน์ (เกิด 25 ธันวาคม พ.ศ. 2516) ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สาธิต ปิตุเตชะ) อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก 4 สมัย
ประวัติ
[แก้]ธนิตพล เกิด 25 ธันวาคม พ.ศ. 2516 ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นบุตรของเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กับจันทิพา ไชยนันทน์ และเป็นหลานของเทียม ไชยนันทน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก หนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ด้านครอบครัวสมรสกับวรกันยา ไชยนันทน์ (สกุลเดิม : ณ ระนอง) ที่โรงแรมเพนนินซูล่า เมื่อปี พ.ศ. 2549 มีบุตร 2 คน
สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ ระดับปริญญาตรี ทางด้านศิลปะ จาก École Supérieure d'Art de Nancy ประเทศฝรั่งเศส และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
การทำงาน
[แก้]ธนิตพล เข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 เป็นกรรมาธิการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร และเป็นเลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ในปี พ.ศ. 2551 (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
ในปี พ.ศ. 2548 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตากอีกครั้งเป็นสมัยที่ 2 พร้อมกับได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2549
ในปี พ.ศ. 2554 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดตากอีกครั้งพร้อมได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[2]
ในปี พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดตากในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3] โดยต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สาธิต ปิตุเตชะ)[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตากรวม 4 สมัย ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ทั้ง 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ แขวน "พู่กัน" อำลา "เด็กอาร์ต" จุดพลิกชีวิต "ธนิตพล ไชยนันทน์"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ ๙๒๐/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๒ ราย ๑. นายธนิตพล ไชยนันทน์ ๒. นายเรวัต อารีรอบ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2516
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอแม่สอด
- สกุลไชยนันทน์
- นักการเมืองจากจังหวัดตาก
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.