ข้ามไปเนื้อหา

ทำร้ายความรู้สึกของชาวจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงการต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน

"ทำร้ายความรู้สึกของชาวจีน" (จีน: 伤害中国人民的感情) เป็นประโยคทางการเมืองที่ถูกใช้โดยกระทรวงการต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสื่อของสำนักต่าง ๆ ของประเทศจีนอย่างเช่น เหรินหมินรึเป้า,[1] China Daily,[2] สำนักข่าวซินหัว[3] และ Global Times[4] เพื่อประนามหรือแสดงถึงความไม่พึงพอใจต่อการกระทำหรือนโยบายของบุคคล, องค์กร หรือรัฐบาลที่ทางการจีนมองว่าเป็นปรปักษ์ต่อตนเอง [5][6][7][8][9] บางครั้งอาจมีการใช้คำอื่นที่คล้าย ๆ กันอย่างเช่น "ทำร้ายจิตใจของชาวจีนทั้งประเทศ"[10][11] (จีน: 伤害中华民族的感情) "ทำร้ายจิตใจของชาวจีนทั้งพันสามร้อยล้านคน"[3][FN 1] (จีน: 伤害13亿人民感情)

ต้นกำเนิด

[แก้]

มีการใช้ประโยคนี้ครั้งแรงเมื่อปี พ.ศ. 2502 โดยหนังสือพิมพ์ เหรินหมินรึเป้า เขียนโจมตีประเทศอินเดียในกรณีพิพาทชายแดน [1] และหลังจากนั้นเป็นต้นมาทางรัฐบาลจีนได้มีการใช้ประโยคนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านทางสื่อแขนงต่าง ๆ ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า "ทำร้ายความรู้สึกของชาวจีน" มีทั้งรัฐบาลของประเทศอื่น องค์กรต่างประเทศ [12] จนไปถึงบริษัทต่าง ๆ [1] และผู้มีชื่อเสียงด้วย [13][14][15]

บทวิเคราะห์

[แก้]
ความถี่ของการใช้คำว่า "ทำร้ายความรู้สึกของชาวจีน" โดยสำนักข่าว เหรินหมินรึเป้า ในแต่ละปี[16]

มีการศึกษาโดยนาย David Bandurski จากโครงการศึกษาสื่อจีนที่มหาวิทยาลัยฮ่องกง โดยมีการเลือกดูบทความ 143 ฉบับจากหนังสือพิมพ์ เหรินหมินรึเป้า ที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 ถึง 2558 ประเทศญี่ปุ่นถูกกล่าวหาว่า "ทำร้ายความรู้สึกของชาวจีน" มากที่สุด 51 ครั้ง, อันดับสองเป็นสหรัฐอเมริกา 35 ครั้ง, เกี่ยวกับสถานะทางการเมืองของประเทศใต้หวัน 28 ครั้ง และทิเบต 12 ครั้ง[6]

บทความหนึ่งของนิตยสารไทม์ในเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2551ได้มีการแสดงสติถิของการใช้ประโยคนี้ในสิ่งตีพิมพ์ของ เหรินหมินรึเป้า โดยระบุว่าในช่วงปี พ.ศ. 2489 ถึง 2549 มีบทความมากกว่าร้อยเรื่องที่ใช้คำนี้ต่อว่าผู้อื่นว่าทำร้ายจิตใจของชาวจีน [17] Global Times ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 มีบทสรุปว่าพบบทความ 237 บทความ เผยแพร่โดย เหรินหมินรึเป้า ในช่วงเดือน พฤษภาคม ปี พ.ศ.2489 ถึง พฤษภาคม ปี พ.ศ.2558 ซึ่งกล่าวหา 29 ประเทศว่าทำร้ายความรู้สึกของชาวจีน ประเทศเหล่านี้มี อินเดีย 9 บทความ, ฝรั่งเศส 16 บทความ, สหรัฐอเมริกา 62 บทความ และ ญี่ปุ่น 96 บทความ[18]

หวังหงหลุน (จีน: 汪宏倫) ผู้ร่วมวิจัยที่ Institute of Sociology at Academia Sinica ประเทศใต้หวัน พบว่า เหรินหมินรึเป้า มีการใช้คำว่า "ทำร้ายความรู้สึกของชาวจีน" 319 ครั้ง โดยได้ข้อมูลมาจากฐานข้อมูลของ เหรินหมินรึเป้า[16]

เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น

[แก้]

สหรัฐ

[แก้]
บิล คลินตัน, จอร์จ ดับเบิลยู บุช และ บารัก โอบามา

ประธานาธิบดี บิล คลินตัน, [19]จอร์จ ดับเบิลยู บุช[20] และ บารัก โอบามา[21][22] ได้ถูกกล่าวหาโดยกระทรวงการต่างประเทศของจีนว่า "ทำร้ายความรู้สึกของชาวจีน" ที่ไปเข้าพบปะกับ ทาไลลามะที่ 14

วาติกัน

[แก้]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2543 สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ได้ประกาศให้มิชชันนารีและผู้ติดตาม 120 คนเป็นนักบุญ ซึ่งคนเหล่านี้ได้เสียชีวิตในประเทศจีนช่วงราชวงศ์ชิง และช่วงสาธารณรัฐจีน เหรินหมินรึเป้า ได้มีการตอบโต้การกระทำดังกล่าวนั้นว่า "ทำร้ายความรู้สึกของคนจีน และเป็นการยั่วยุคนจีนทั้งประเทศ" [10] กระทรวงการต่างประเทศของจีนได้ออกมาแถลงว่าวาติกัน "ได้ทำร้ายความรู้สึกของชาวจีนและภาพลักษณ์ของประเทศจีน"[23]

ยุโรป

[แก้]

ในปี พ.ศ.2543 Swedish Academy ได้มอบรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมให้กับ เกา ซิงเจี้ยน ซึ่ง เหรินหมินรึเป้า ได้เขียนว่า "เป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ" และ "ทำร้ายความรู้สึกของคนจีน และเป็นการยั่วยุคนจีนทั้งประเทศอย่างร้ายแรง"[11]

ในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2551 รัฐสภายุโรป ได้มอบรางวัล Sakharov ปี 2008 ให้กับนักต่อสู้สิทธิมนุษย์ชน Hu Jia ก่อนการประกาศรางวัลจีนได้พยายามกดดันรัฐสภายุโรปเพื่อไม่ให้ Hu Jia ชนะรางวัล โดยเอกอัครราชทูตจีนที่ประจำอยู่ในยุโรปได้เขียนจดหมายถึงรัฐสภายุโรปกล่าวว่าถ้าหาก Hu Jia ได้รับรางวัล จะเป็นการบั่นทอนมิตรภาพของยุโรปและจีนเป็นอย่างมาก และจะเป็นการทำร้ายความรู้สึกของชาวจีน[24][25][26]

เม็กซิโก

[แก้]

ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2554 ประธานาธิบดี Felipe Calderón ของเม็กซิโก ได้เข้าพบปะกับ ทาไลลามะที่ 14 ในวันถัดมา กระทรวงการต่างประเทศของจีนได้ออกแถลงการว่าจีนไม่พอใจต่อการพบปะดังกล่าว และเป็นการทำร้ายความรู้สึกของชาวจีนเป็นอย่างมาก[27]

ญี่ปุ่น

[แก้]

ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2555 หลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นได้เข้าควบคุมหมู่เกาะเซ็งกากุ สำนักข่าวซินหัวได้กล่าวว่าการกระทำดังกล่าว "ทำร้ายความรู้สึกของคนจีนทั้งพันสามร้อยล้านคน"[3]

ฮ่องกง

[แก้]

ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2562 ในระหว่างการประท้วงในฮ่องกง ที่จิ๊มซ้าโจ๋ยมีผู้ชุมนุมคนหนึ่งได้ลดธงชาติของจีนลงและโยนธงลงไปในทะเล [28] สำนักงานราชการฮ่องกงและมาเก๊าได้ออกมาประนามว่า "กลุ่มคนหัวรุนแรงได้ละเมิดกฏหมายทำลายธงชาติของจีน ทำลายเกียรติยศของประเทศ ละเมิดระบบหนึ่งประเทศ สองระบบ และทำร้ายความรู้สึกของชาวจีนอย่างมาก"[28][2]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. จำนวนประชากรที่กล่าวไว้อาจจะแตกต่างประมาณ 1200 ล้าน[10][11] ถึง 1400 ล้านคน[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "'Hurting the feelings of the Chinese people' is just a way of registering state displeasure". Hong Kong Free Press (ภาษาอังกฤษ). 2018-02-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-16.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Tung: Desecration of national flags hurts feelings of 1.4b people". China Daily (ภาษาอังกฤษ). 2019-09-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-18.
  3. 3.0 3.1 3.2 "日方"购岛"伤害13亿中国人民感情". NetEase (ภาษาจีน). Jiangxi Daily. 2012-09-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-02.
  4. Zhong Sheng (2020-04-28). "Provocation to human civilization must be rejected". Global Times (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-06.
  5. "李肇星:日本领导人不应再做伤害中国人民感情的事". เหรินหมินรึเป้า (ภาษาจีน). 2006-03-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-29.
  6. 6.0 6.1 Bandurski, David (2016-01-29). "Hurting the feelings of the "Zhao family"". University of Hong Kong (ภาษาอังกฤษ). China Media Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-04.
  7. "中国留学生"玻璃心"缘何而来?". Deutsche Welle (ภาษาจีน). 2017-09-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-15.
  8. Bandurski, David (2016-01-29). "Why so sensitive? A complete history of China's 'hurt feelings'". Hong Kong Free Press (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-29.
  9. Keith B. Richburg (2018-02-22). "China's hard power and hurt feelings". Nikkei Asian Review (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-08.
  10. 10.0 10.1 10.2 "梵蒂冈"封圣"是对中国人民的严重挑衅". เหรินหมินรึเป้า (ภาษาจีน). 2000-10-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-23.
  11. 11.0 11.1 11.2 "《人民日報》評論員文章". เหรินหมินรึเป้า (ภาษาจีน). 2000-10-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-03.
  12. "China says unity at stake over Tibet". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2008-04-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-03. สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
  13. "China Hurt by Bjork". The New York Times (ภาษาอังกฤษ). 2008-03-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-27. สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
  14. "People in China don't quite know why they are boycotting Arsenal player Mesut Özil". Quartz (ภาษาอังกฤษ). 2019-12-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-17.
  15. "Angelina Jolie Hurts the Feelings of the Chinese People". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษ). 2014-06-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-28.
  16. 16.0 16.1 汪宏倫 (2014). "理解當代中國民族主義:制度、情感結構與認識框架" (PDF). 文化研究 (ภาษาจีน) (19): 189–250. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-18. สืบค้นเมื่อ 2020-12-18.
  17. "Hurt Feelings? Blame Deng Xiaoping". ไทม์ (ภาษาอังกฤษ). 2008-11-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-04.
  18. "揭秘:是谁"伤害了中国人民的感情"?". Global Times (ภาษาจีน). 2015-06-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-29.
  19. "Dalai Diplomacy". Wired (ภาษาอังกฤษ). 1998-11-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-03.
  20. "'Bush must cancel meet with Dalai'". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). 2007-10-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-03.
  21. "China lodges solemn representations on Obama-Dalai meeting". สำนักข่าวซินหัว (ภาษาอังกฤษ). 2011-07-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-19.
  22. "Why the US has nothing to fear from China's warnings about the Dalai Lama". Quartz (ภาษาอังกฤษ). 2014-02-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-02.
  23. "中国外交部发表声明强烈抗议梵蒂冈"封圣"". Ministry of Foreign Affairs of the People's Republic of China (ภาษาจีน). 2000-11-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-03.
  24. "Sakharov Prize 2008 awarded to Hu Jia". European Parliament (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-26.
  25. "欧洲议会授予胡佳人权奖". The Wall Street Journal (ภาษาจีน). 2008-10-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-19.
  26. "外交部发言人秦刚就欧洲议会授予胡嘉"萨哈罗夫奖"答记者问". Ministry of Foreign Affairs of the People's Republic of China (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-30.
  27. "外交部发言人马朝旭就墨西哥总统卡尔德龙会见达赖事发表谈话". Ministry of Foreign Affairs of the People's Republic of China (ภาษาจีน). 2011-09-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-30.
  28. 28.0 28.1 "【旺角遊行】港澳辦、中聯辦譴責:極端激進分子侮辱國旗必須嚴懲". 香港01 (ภาษาจีน). 2019-08-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-08. สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.