ทานิศ สิทธิกี
ทานิศ สิทธิกี | |
---|---|
สิทธิกีเมื่อปี 2018 | |
เกิด | 19 พฤษภาคม 1983 นิวเดลี[1] |
เสียชีวิต | 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 ซปินโบลดัก ประเทศอัฟกานิสถาน | (38 ปี)
สาเหตุเสียชีวิต | แผลจากปืน |
ศิษย์เก่า | จามิยามิลลิยาอิสลามิยา |
อาชีพ | ช่างภาพข่าว |
นายจ้าง | รอยเตอส์ |
คู่สมรส | ริเก สิทธิกี |
บุตร | 2 |
เว็บไซต์ | www |
ทานิศ สิทธิกี (อักษรโรมัน: Danish Siddiqui; 19 พฤษภาคม 1983 – 15 กรกฎาคม 2021[1]) เป็นช่างภาพข่าวชาวอินเดีย อาศัยอยู่ที่มุมไบ อดีตหัวหน้าทีมรอยเตอส์มัลทิมีเดียของอินเดีย[2][3][4][5] เขาได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ร่วมกับทีมรอยเตอส์ในปี 2018 จากผลงานถ่ายภาพและรายงานสถานกรณ์วิกฤตผู้ลี้ภัยโรฮิงญา
ในปี 2021 สิทธิกีถูกยิงเสียชีวิตขณะทำข่าวการปะทะกันระหว่างกองกำลังแห่งชาติอัฟกันกับ ตาลีบัน ที่พรมแดนใกล้กับประเทศปากีสถาน[6][7][8]
สิทธิกีเริ่มแรกทำงานในสายวารสารศาสตร์โดยเป็นผู้สื่อข่าวของฮินดูสตานไตมส์ ตามด้วยทีวีตูเดย์เน็ตเวิร์ก[1] เขาเข้าสู่วงการภาพข่าวและเข้าร่วมกับรอยเตอส์ในฐานะอินเทิร์นในปี 2010 นับจากนั้นสิทธิกีได้มีส่วนร่วมในการทำข่าวและภาพข่าวในสงครามที่โมซุล ปี 2016-17, เหตุแผ่นดินไหวที่เนปาลเดือนเมษายน 2015, วิกฤตผู้อพยพโรฮิงญา ปี 2015, การประท้วงในฮ่องกง ปี 2019-20, จลาจลในเดลี ปี 2020 และการระบาดทั่วของโควิด-19 นอกจากนี้ยังมีผลงานเกี่ยวกับเรื่องราวจากเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และยุโรป[9][10][5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Siddiqui, Danish. "Reuters photographer Danish Siddiqui captured the people behind the story". The Wider Image (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-17.
- ↑ "Pulitzer-winning Indian photojournalist Danish Siddiqui killed in Taliban attack". The News Minute. 15 July 2021. สืบค้นเมื่อ 16 July 2021.
- ↑ "Danish Siddiqui". Reuters - The Wider Image (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2021. สืบค้นเมื่อ 1 January 2021.
- ↑ "Reuters photographer Danish Siddiqui captured the people behind the story". Reuters. 16 July 2021. สืบค้นเมื่อ 16 July 2021.
- ↑ 5.0 5.1 "Struggle, Conflict and Small Joys: A Selection of Danish Siddiqui's Photographs". The Wire. สืบค้นเมื่อ 2021-07-17.
- ↑ "Danish Siddiqui: Indian photojournalist killed in Afghanistan". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 16 July 2021. สืบค้นเมื่อ 17 July 2021.
- ↑ Sarkar, Soumashree (16 July 2021). "Struggle, Conflict and Small Joys: A Selection of Danish Siddiqui's Photographs". The Wire. สืบค้นเมื่อ 17 July 2021.
- ↑ "'Devastating loss of brave photojournalist': Condolences pour in for Danish Siddiqui". The News Minute (ภาษาอังกฤษ). 16 July 2021. สืบค้นเมื่อ 17 July 2021.
- ↑ "Reuters journalist killed covering clash between Afghan forces, Taliban". Reuters. 16 July 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2021.
- ↑ "Pulitzer Prize-Winning Photojournalist Danish Siddiqui Is Killed In Afghanistan". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 July 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Danish Siddiqui
- เว็บไซต์ทางการ