ข้ามไปเนื้อหา

การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2562–2563

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก 2019–2020 Hong Kong protests)
การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2562–2563
ส่วนหนึ่งของ การพัฒนาประชาธิปไตยในฮ่องกง, ความขัดแย้งระหว่างฮ่องกง–จีนแผ่นดินใหญ่ และขบวนการประชาธิปไตยในประเทศจีน
ฉากการประท้วงหลายแห่งในฮ่องกง ตามเข็มนาฬิกาจากบน: ผู้ประท้วงในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562• การจุดไฟบนสิ่งกีดขวางบนถนนชั่วคราวในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562 • กลุ่มผู้ประท้วงบนถนนในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2562 • กลุ่มผู้ประท้วงแสดงความไว้อาลัยในการเสียชีวิตของ Chow Tsz-lok • ตำรวจใช้แก็สน้ำตาสลายกลุ่มผู้ชุมนุมในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562 • ฮ่องกงเวย์แคมเปญในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562 • ผู้ประท้วงในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562
วันที่15 มีนาคม พ.ศ. 2562[1]
  • การประท้วงเรื่มลดลงในช่วงต้น พ.ศ. 2563 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19[2][3][4]
  • รัฐบาลฮ่องกงประกาศว่าไม่มีการการประท้วงบนถนนส่วนใหญ่นับตั้งแต่กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฮ่องกงมีผลใช้ในช่วงกลาง พ.ศ. 2563[5]
สถานที่ฮ่องกง
เมืองอื่น ๆ ทั่วโลก
สาเหตุ
เป้าหมายข้อเรียกร้อง 5 ประการ
  • ให้ถอนร่างรัฐบัญญัติทั้งหมด
  • ให้รัฐบาลเลิกระบุว่าการประท้วงในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็น "จลาจล"
  • ให้ปล่อยตัวผู้ประท้วงที่ถูกจับและให้พ้นผิด
  • ให้ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อสอบสวนพฤติกรรมของตำรวจ
  • ให้แคร์รี หลั่ม ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง ลาออกและประชาชนมีสิทธิทั่วกันในการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติและผู้บริหารสูงสุด
วิธีการหลายแบบ (ดู § ยุทธวิธี)
ผลการปราบปรามของรัฐบาล
การยอมผ่อนปรน
  • หยุดร่างรัฐบัญญัติในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และถอดถอนอย่างเป็นทางการในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2562[12][13]
  • ตำรวจถอนการถือว่าการประท้วงในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นการก่อจลาจลบางส่วน ยกเว้น 5 คน[14]
คู่ขัดแย้ง
ผู้ประท้วง:
(ไม่มีผู้นำเป็นศูนย์กลาง)
เจ้าหน้าที่:

เสียชีวิต, บาดเจ็บ และถูกจับกุม
เสียชีวิต2
บาดเจ็บ
  • มากกว่า 2,600 คน (ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562)[24][a]
ถูกจับกุม10,250 คน (ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564)[26][b]
ถูกตั้งข้อหา2,500 คน (ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564)[26]

การประท้วงต่อต้านร่างรัฐบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนฮ่องกง พ.ศ. 2562–2563 เป็นการเดินขบวนประท้วงในฮ่องกงและนครอื่น ๆ ทั่วโลกเพื่อเรียกร้องให้มีการถอดถอน "ร่างรัฐบัญญัติกฎหมายผู้หนีคดีและความช่วยเหลือร่วมกันทางกฎหมายในคดีอาญา (แก้ไขเพิ่มเติม) ค.ศ. 2019" (อังกฤษ: Fugitive Offenders and Mutual Legal Assistance in Criminal Matters Legislation (Amendment) Bill 2019) ที่รัฐบาลฮ่องกงเสนอ เพราะเกรงว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวจะทำให้ฮ่องกงตกอยู่ภายใต้การครอบงำจากกฎหมายของจีนแผ่นดินใหญ่ และจะทำให้ชาวฮ่องกงตกอยู่ใต้ระบบกฎหมายอื่นที่นอกเหนือไปจากของตน

ประชาคมทางกฎหมายและประชาชนทั่วไปเริ่มประท้วงหลายรูปแบบในฮ่องกง ซึ่งรวมถึงการประท้วงครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ของแนวร่วมสิทธิมนุษยชนพลเมือง (Civil Human Rights Front) ที่มีผู้มาสมทบถึง 1.03 ล้านคนตามการประเมินของแนวร่วมเอง และได้รับการนำเสนออย่างมากในสื่อมวลชน[29] ต่อมา ชาวฮ่องกงโพ้นทะเลและผู้คนในท้องถิ่นอื่นก็พากันประท้วงในพื้นที่ของตน

แม้มีการเดินขบวนอย่างกว้างขวาง รัฐบาลฮ่องกงยืนยันจะผ่านร่างกฎหมายนี้ให้ได้ โดยกล่าวว่า จำเป็นต้องมีกฎหมายนี้อย่างเร่งด่วน จะได้อุด "ช่องว่าง" ในกฎหมาย[30] เดิมกำหนดจะพิจารณาวาระที่สองในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562 แต่เลื่อนออกไปก่อนเพราะการประท้วง[31] การประชุมที่กำหนดจะจัดในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ก็เลื่อนเช่นกัน[32]

วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2562 แคร์รี หลั่ม ผู้บริหารสูงสุดของเกาะฮ่องกงแถลงว่า ได้ให้เลื่อนพิจารณาร่างกฎหมายนี้อย่างไม่มีกำหนด[33] แต่เน้นย้ำว่า เป็นเพียงเลื่อน ไม่ใช่ถอน[34] ทำให้มีผู้ฆ่าตัวตายประท้วงที่ลานไท่กู่ (Pacific Place) ในอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา[35] ครั้นวันรุ่งขึ้น มีการเดินขบวนใหญ่อีกครั้งเพื่อกดดันให้ถอนร่างกฎหมายและให้ผู้บริหารฮ่องกงลาออกจากตำแหน่ง[36][37]

การประท้วงดำเนินตลอดมาทั้งฤดูร้อน และมักทวีเป็นการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างตำรวจ, ผู้ปฏิบัติการเชิงรุก, กลุ่มอั้งยี่ (triad) ที่หนุนจีนแผ่นดินใหญ่, และชาวบ้านในกว่า 20 ท้องที่ทั่วทั้งภูมิภาค[38] เมื่อการชุมนุมคืบหน้าไปนั้น นอกจากผู้ชุมนุมจะเรียกร้องให้มีการสอบสวนอย่างเป็นอิสระเรื่องที่ตำรวจใช้ความรุนแรง เรียกร้องให้ปล่อยผู้ชุมนุมที่จับตัวไป และเรียกร้องให้รัฐบาลเลิกถือว่าการประท้วงเป็นการก่อจลาจล เป็นต้นแล้ว[39] ผู้ชุมนุมยังเรียกร้องเพิ่มเติมให้ประชาชนสามารถเลือกตั้งผู้บริหารและคณะผู้บริหารได้โดยตรง ซึ่งเคยเป็นชนวนการประท้วงเมื่อ พ.ศ. 2557[40]

หลั่มชะลอร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนในวันที่ 15 มิถุนายน แต่ยังไม่ยอมให้สัญญาว่าจะถอนร่างฯ จนวันที่ 4 กันยายน[41] อย่างไรก็ดี เธอยังปฏิเสธยอมรับข้อเรียกร้องอีกสี่ข้อที่เหลือ กล่าวคือ ให้ตั้งคณะกรรมการอิสระสอบสวนความรุนแรงของตำรวจ การปล่อยตัวผู้ประท้วงที่ถูกจับกุม การเลิกระบุการประท้วงของทางการว่าเป็น "การจลาจล" และให้เธอลาออกจากตำแหน่งและให้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปสำหรับสภานิติบัญญัติและผู้บริหารสูงสุด[42]

วันที่ 1 ตุลาคม มีการเดินขบวนขนานใหญ่ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 70 ปีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน มีผู้ประท้วงนักศึกษาอายุ 18 ปีถูกตำรวจยิงด้วยกระสุนจริง ผู้บริหารสูงสุดในสภาใช้ข้อบังคับระเบียบฉุกเฉินในวันที่ 4 ตุลาคมเพื่อใช้กฎหมายห้ามสวมหน้ากาก[43]

ภูมิหลัง

[แก้]

ใน พ.ศ. 2530 กลุ่มพิเศษว่าด้วยกฎหมาย ในคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายพื้นฐานของฮ่องกง (Special Group on Law of the Hong Kong Basic Law Consultative Committee) เสนอให้ใช้หลักดินแดน (territorial principle) ระงับข้อพิพาททางเขตอำนาจของฮ่องกงกับจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อที่ใครก็ตามที่กระทำความผิด ไม่ว่าจะอาศัยในฮ่องกงหรือจีนแผ่นดินใหญ่ จะต้องถูกดำเนินคดี ณ ที่เกิดเหตุ[44] ต่อมาใน พ.ศ. 2541 หลี่ จู้หมิง (Martin Lee) นักกฎหมายสายประชาธิปไตยซึ่งอยู่ในกลุ่มพิเศษดังกล่าว แถลงในที่ประชุมสภานิติบัญญัติว่า รัฐบาลฮ่องกงควรตั้งมั่นในหลักดินแดน และต้องเริ่มจัดให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับจีนโดยไม่ชักช้า[45]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 รัฐบาลฮ่องกงเสนอ "ร่างรัฐบัญญัติกฎหมายผู้หนีคดีและความช่วยเหลือร่วมกันทางกฎหมายในคดีอาญา (แก้ไขเพิ่มเติม) ค.ศ. 2019" เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม "รัฐกำหนดผู้หนีคดี" (Fugitive Offenders Ordinance: Cap. 503) ในประเด็นเกี่ยวกับการจัดให้มีการมอบตัวเป็นกรณีพิเศษ (special surrender arrangements) และแก้ไขเพิ่มเติม "รัฐกำหนดความช่วยเหลือร่วมกันทางกฎหมายในคดีอาญา" (Mutual Legal Assistance in Criminal Matters Ordinance: Cap. 525) เพื่อที่ฮ่องกงจะสามารถจัดให้มีความช่วยเหลือร่วมกันทางกฎหมายกับสถานที่ใด ๆ ภายนอกฮ่องกง[46] การเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้ฮ่องกงสามารถขอให้ไต้หวันมอบตัวชายผู้ต้องสงสัยฆ่าคนในไต้หวัน แต่กลไกที่ร่างขึ้นมิใช่เพื่อกรณีไต้หวันเท่านั้น ยังสามารถใช้แก่จีนแผ่นดินใหญ่และมาเก๊าได้ด้วยซึ่งเป็นกรณีที่ยังไม่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายปัจจุบัน[47]

วัตถุประสงค์

[แก้]

เดิมทีผู้ประท้วงเรียกร้องให้ถอนร่างรัฐบัญญัติอย่างเดียว แต่เมื่อตำรวจเพิ่มกลวิธีตอบโต้ผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และมีประกาศเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ว่า เลื่อนพิจารณาร่างรัฐบัญญัติไปอย่างไม่มีกำหนดแล้ว วัตถุประสงค์ของผู้ประท้วงก็กลายเป็นการบรรลุข้อเรียกร้องห้าประการดังต่อไปนี้[48]

ข้อเรียกร้อง เหตุผล
ถอนร่างรัฐบัญญัติออกจากกระบวนการนิติบัญญัติไปโดยสิ้นเชิง แม้มีประกาศว่าเลื่อนพิจารณาไม่มีกำหนด แต่จะกลับมาพิจารณาเมื่อใดก็ได้ และปัจจุบัน อยู่ในขั้นตอน "รอจัดวาระสองใหม่" นอกจากนี้ สมาชิกสภานิติบัญญัติบางคน เช่น เจี่ยง ลี่-ยฺหวิน (Ann Chiang) ก็ระบุว่า เมื่อการประท้วงยุติแล้ว จะกลับมาดำเนินกระบวนการนิติบัญญัติใหม่
เลิกถือว่าการประท้วงเป็นการก่อจลาจล เดิมรัฐบาลใช้คำว่า "จลาจล" เรียกการประท้วงเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ภายหลัง แก้เป็นว่า มีผู้ประท้วงบางคนที่ก่อจลาจล แต่ผู้ประท้วงก็คัดค้านว่า ไม่เคยมีใครก่อจลาจลในวันนั้น
ปล่อยและเลิกเอาผิดผู้ประท้วงที่จับตัวไป ผู้ประท้วงเห็นว่า การจับตัวผู้ประท้วงนั้นมีแรงจูงใจทางการเมือง โดยตั้งคำถามว่า การที่ตำรวจบุกเข้าโรงพยาบาลไปจับผู้ประท้วง โดยอาศัยข้อมูลลับทางการแพทย์ในการติดตามตัว ซึ่งเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยนั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ตั้งกรรมการอิสระมาสอบสวนการกระทำและการใช้กำลังของตำรวจในระหว่างการประท้วง กลุ่มพลเมืองเห็นว่า ไม่มีเหตุสมควรที่ตำรวจจะต้องใช้กำลังถึงขั้นที่ใช้ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562 โดยเฉพาะกับผู้ประท้วงที่ไม่ได้กระทำอะไรผิดเลย นอกจากนี้ มองว่า การที่ตำรวจสกัดและค้นตัวผู้สัญจรไปมาใกล้ที่ประท้วงโดยไม่มีเหตุควรสงสัยอันใดนั้น เป็นการใช้อำนาจมิชอบ[49] อนึ่ง ยังมองว่า การที่เจ้าหน้าที่บางยังไม่แสดงบัตรประจำตัวหรือเอกสารอนุญาต แม้มีระเบียบตำรวจให้ต้องทำเช่นนั้น ก็เป็นการฝ่าฝืนความรับผิดชอบ[50] ส่วนที่เรียกร้องให้ตั้งกรรมการอิสระ เพราะเห็นว่า กรรมการที่มีอยู่ไม่เป็นอิสระ หากแต่ทำงานตามที่ตำรวจประสาน
ให้แคร์รี หลั่ม ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง ลาออก และให้ประชาชนมีสิทธิโดยทั่วกันในการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติและผู้บริหารสูงสุด[51] ปัจจุบัน ผู้บริหารสูงสุดมาจากการสรรหาของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่มีกรรมการ 1,200 คน ส่วนสมาชิกสภานิติบัญญัติ 30 คนนั้นมาจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางกลุ่มที่เป็นตัวแทนภาคส่วนต่าง ๆ ในวงการเศรษฐกิจเท่านั้น

ลำดับเหตุการณ์

[แก้]

การประท้วงในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562

[แก้]

แนวร่วมสิทธิมนุษยชนพลเมืองจัดประท้วงครั้งแรกในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยเริ่มเดินจากถนนหลูยา (Luard Road) ตรงสนามเด็กเล่นซิวตุ้น (Southorn Playground) ไปจบที่จัตุรัสพลเมือง (Civic Square) ผู้ประท้วงร้องว่า "ฮ่องกงจะกลายเป็นคุกมืดเพราะส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับจีน" (with extradition to the mainland, Hong Kong becomes a dark prison) และ "หยุดกฎหมายชั่ว" (stop the evil law)

หลิน หรงจี (Lam Wing-kee) เจ้าของร้านหนังสือถงหลัววาน (Causeway Bay Books) ที่หายตัวไปใน พ.ศ. 2558 พร้อมกับเพื่อน ปรากฏว่า มาร่วมจัดประท้วงครั้งนี้พร้อมกับผู้สนับสนุนนิยมประชาธิปไตยคนอื่น ๆ ด้วย แต่หลังจากนั้นก็ออกจากฮ่องกง เพราะเกรงตนเองไม่ปลอดภัย[52]

แนวร่วมระบุว่า มีคนกว่า 12,000 คนมาร่วมเดินขบวน แต่ตำรวจฮ่องกงประเมินว่า มีเพียง 5,200 คน แนวร่วมระบุด้วยว่า จะประท้วงอีกถ้ารัฐบาลยังไม่ล้มเลิกร่างกฎหมายฉบับนี้[53]

การประท้วงในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

[แก้]

วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562 คนกว่า 130,000 คน (ตามที่ผู้จัดประท้วงระบุ ส่วนตำรวจประเมินว่า 22,800 คน) ร่วมเดินขบวนประท้วงร่างกฎหมายนี้อีกครั้ง โดยเริ่มเดินจากร้านหนังสือถงหลัววานไปยังสภานิติบัญญัติเป็นระยะทาง 2.2 กิโลเมตร และกินเวลา 4 ชั่วโมง[54] เฉิน ฮ่าวหฺวัน (Figo Chan Ho-hang) รองผู้นำการประชุม (vice-convenor) ของแนวร่วมสิทธิมนุษยชนพลเมือง กล่าวว่า จะยกระดับการประท้วงถ้ารัฐบาลยังไม่ถอนร่างกฎหมาย[54]

หนึ่งวันให้หลัง หลิน เจิ้ง เยฺว่เอ๋อ (Carrie Lam) ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง แสดงความมั่นใจว่า ร่างกฎหมายนี้จะผ่านในที่สุด ซึ่งสมาชิกสภานิติบัญญัติต้องทำให้ได้ก่อนช่วงพักร้อน แม้ว่าชายผู้ต้องสงสัยฆ่าคนในไต้หวันจะถูกพิพากษาจำคุก 29 เดือนไปก่อนหน้าแล้ว ซึ่งทำให้ไม่มีเหตุผลรองรับความจำเป็นเร่งด่วนของร่างกฎหมายนี้อีกก็ตาม[55]

การประท้วงในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562

[แก้]

วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562 มีการประท้วงชนิดที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง คือ นักกฎหมายชาวฮ่องกงกว่า 3,000 คน ซึ่งนับเป็นหนึ่งในสี่ของนักกฎหมายทั้งหมดในฮ่องกง พากันเดินขบวนต่อต้านร่างกฎหมายนี้ โดยสวมชุดดำ เดินจากศาลอุทธรณ์ไปยังศูนย์ราชการ แล้วหยุดยืนอยู่หน้าศูนย์ราชการ มองขึ้นไปข้างบน และยืนสงบนิ่งไว้อาลัยให้สามนาที[56]

ผู้จัดการประท้วงครั้งนี้ คือ กัว หรงเคิง (Dennis Kwok) สมาชิกสภานิติบัญญัติแบบแบ่งเขต และนับเป็นครั้งที่ห้าที่นักกฎหมายประท้วงในฮ่องกง[57]

หลี่ เจียเชา (John Lee) เลขานุการฝ่ายความมั่นคง แสดงความเห็นว่า นักกฎหมายที่ประท้วงนั้นไม่เข้าใจร่างกฎหมายอย่างถ่องแท้[57]

การประท้วงในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562

[แก้]

การประท้วงเริ่มมีการจุดไฟเผาและปาระเบิดขวด มีรายงานว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บ 46 รายที่ต้องนำส่งโรงพยาบาล[58]

ยุทธวิธีและวิธีการ

[แก้]
สถานีรถไฟใต้ดินใกล้กับสถานีตลาดไทโป หรือ "อุโมงค์เลนนอน"

การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2562 ส่วนใหญ่ได้รับอธิบายว่า "ไร้ผู้นำ"[59] ไม่มีกลุ่มหรือพรรคการเมืองใดอ้างว่าเป็นผู้นำขบวนการ ส่วนใหญ่รับบทบาทสนับสนุนมากกว่า เช่น ยื่นขอใช้สถานที่ (Letters of No Objection) จากตำรวจหรือไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้ประท้วงและเจ้าพนักงานตำรวจ[60] ผู้ประท้วงโดยทั่วไปใช้ LIHKG ฟอรัมออนไลน์คล้ายกับเรดดิต และเทเลแกรม ซึ่งเป็นบริการส่งสารเข้ารหัสต้นจนจบคล้ายกับวอตส์แอพ เพื่อสื่อสารและระดมสมองหาความคิดสำหรับการประท้วงและตัดสินใจร่วมกัน[61]

ผู้ประท้วงใช้การนำความคิดไปปฏิบัติ (praxis) หลายอย่าง อย่างแรกคือ "เป็นน้ำ" ซึ่งถือกำเนิดจากปรัชญาของบรูซ ลี ผู้ประท้วงมักเคลื่อนที่เข้ามาแบบคล่องแคล่วว่องไวเพื่อให้ตำรวจรับมือได้ยากขึ้น[62] ผู้ประท้วงมักถอยออกไปเมื่อตำรวจมาถึง และจะไปปรากฏที่อื่น[63] ต่างจากการประท้วงครั้งก่อน ๆ การประท้วงในปี 2562 กระจายไปทั่วเกาะฮ่องกง เกาลูนและนิวเทอร์รีทอรีส์ทั้ง 20 ย่าน[64] นอกจากนี้ ผู้ประท้วงยังใช้วิธีกลุ่มดำ (black bloc) ซึ่งส่วนใหญ่สวมหน้ากากดำเพื่อปกปิดรูปพรรณของพวกตน ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ประท้วงยังใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อตอบโต้ตำรวจ โดยใช้ตัวชี้เลเซอร์เพื่อทำให้ตำรวจไขว้เขว พ่นสีใส่กล้องสอดแนม และกางร่มเพื่อพิทักษ์และปกปิดรูปพรรณของกลุ่ม[65]

มีผู้ประท้วงสองกลุ่มหลัก กล่าวคือ กลุ่ม "สันติ มีเหตุผลและปลอดความรุนแรง" (จีน: 和理非) และกลุ่ม "นักสู้" (จีน: 勇武)[66] "กลุ่มสันติ" เข้าร่วมการประกาศคำขวัญ และร้องเพลงอย่าง "เกียรติศักดิ์สู่ฮ่องกง" (Glory to Hong Kong) เป็นเพลงปลุกใจ บางส่วนอาสาเป็นพยาบาลสนาม[67] เริ่มการอดอาหารประท้วง[68] ก่อโซ่มนุษย์[57] เริ่มการรณรงค์คำร้องทุกข์[69] จัดระเบียบการนัดหยุดงานประท้วง ขัดขวางบริการขนส่งสาธารณะ[70] คว่ำบาตรร้านค้าและองค์การที่นิยมรัฐบาลจีน[71] สร้าสงงานดัดแปลงล้อเลียนตำรวจและรัฐบาล[72] และตั้งกำแพงเลนนอนในหลายเขตและย่านของฮ่องกง[73] อีกด้านหนึ่ง ผู้ประท้วงหัวรุนแรงมากกว่าเผชิญหน้ากับตำรวจ ปิดล้อมสถานีตำรวจ[74] ตั้งสิ่งกีดขวางถนน[75] บ้างก่อกวนโดยทำลายสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินและร้านค้าที่นิยมรัฐบาลจีน[76][77] ทำลายสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนของประเทศจีน[78] และลอบวางเพลิงโดยขว้างปาระเบิดน้ำมัน[79][80] ผู้ประท้วงบางส่วนยังขุดคุ้ยและรังควานไซเบอร์ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจและครอบครัวและอัปโหลดสารสนเทศส่วนบุคคลออนไลน์[81] กระนั้น แม้มีวิธีการต่างกัน แต่ทั้งสองกลุ่มมิได้ประณามหรือวิจารณ์กันและกัน หลักการคือ "ไม่แบ่งแยก" ซึ่งมุ่งสนับสนุนความเคารพความเห็นต่างของกันและกันในขบวนการประท้วงเดียวกัน[82]

เพื่อเพิ่มความตระหนักถึงข้อเรียกร้อง ผู้ประท้วงบางส่วนยังระดมทุนเพื่อลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ระหว่างประเทศรายใหญ่[83] และโบกธงชาติสหรัฐและยูเนียนแจ็กของบริเตนเป็นเครื่องหมายการสนับสนุนสหรัฐและสหราชอาณาจักรตามลำดับ ตลอดจนร้องเพลงชาติสหรัฐ[84] พวกเขายังจัดการแถลงข่าวเพื่อ "แพร่สัญญาณเสียงที่มีผู้แทนน้อย" และทัศนะของพวกตนต่อสาธารณะเพื่อตอบโต้การแถลงข่าวของตำรวจและรัฐบาล[85] ผู้ประท้วงยังพยายามแจ้งนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการประท้วงฮ่องกงโดยปักหลักชุมนุมที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง และใช้คุณลักษณะแอร์ดร็อปของเครื่องแอปเปิลเพื่อให้สารสนเทศต่อต้านร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนต่อสาธารณะและนักท่องเที่ยวแผ่นดินใหญ่[86] มีการใช้กบเปเปอย่างกว้างขวางเป็นเครื่องหมายแห่งเสรีภาพและการขัดขืน[87] และการรณรงค์ #Eye4HK ซึ่งแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้ประท้วงหญิงคนหนึ่งซึ่งมีรายงานว่าตาแตกเนื่องจากถูกตำรวจยิงกระสุนถั่วใส่ ทำให้ได้โมเมนตัมทั่วโลก[88]

การกล่าวหาความประพฤติมิชอบของตำรวจ

[แก้]
ภาพขณะยิงปืนฉีดน้ำ
ตำรวจฮ่องกงบุกสถานีพรินซ์เอ็ดเวิร์ดและทำร้ายพลเรือนในวันที่ 31 สิงหาคม 2562

ระหว่างการประท้วง ตำรวจฮ่องกงถูกกล่าวหาว่าประพฤติมิชอบ สภาคำร้องทุกข์ตำรวจอิสระ (IPCC) เริ่มการสอบสวนความประพฤติมิชอบของตำรวจในการประท้วง[89] แม้ผู้ประท้วงเรียกร้องให้มีคณะกรรมการสอบสวนที่เป็นอิสระแทน เพราะสมาชิก IPCC ส่วนใหญ่นิยมรัฐบาล[90] แคร์รี หลั่มปฏิเสธข้อเรียกร้องนี้และอ้างว่าเธอจะไม่ "ทรยศ" ตำรวจ[89]

ตำรวจฮ่องกงถูกกล่าวหาว่าใช้กำลังเกินกว่าเหตุและไม่ได้สัดส่วน เช่น ใช้กระสุนยางอย่างเป็นอันตรายโดยเล็งในแนวตั้ง โดยมีเป้าที่ศีรษะหรือลำตัวของผู้ประท้วง[91] การใช้กระสุนถุงถั่วมีรายงานว่าทำให้ตาของผู้ประท้วงหญิงคนหนึ่งแตก[92] และการใช้กระสุนลูกพริกไทยในสถานีไท่กู๋มีอธิบายว่าเป็น "การยิงแบบประหารชีวิต"[93] ตำรวจยืนยันว่าการใช้กระสุนลูกพริกไทยเป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศและการบาดเจ็บของผู้ประท้วงหญิงมิได้เกิดจากตำรวจ การใช้แก๊สน้ำตาถูกวิจารณ์ว่าละเมิดแนวทางความปลอดภัยระหว่างประเทศ เพราะพบว่าตำรวจใช้เป็นอาวุธเพื่อโจมตี[94] ยิงเข้าไปในอาคาร[95] และใช้แก๊สน้ำตาหมดอายุซึ่งอาจปล่อยแก๊สพิษอย่างฟอสจีนและไซยาไนด์เมื่อสันดาป[96] การใช้ในพื้นที่อยู่อาศัยที่มีประชากรหนาแน่นยังทำให้เกิดเสียงวิจารณ์จากผู้ได้รับผลกระทบ[97] ผู้เห็นเหตุการณ์บางส่วนที่ติดอยู่ในการประท้วงถูกตำรวจทุบตีหรือเตะด้วย[98][99] และปฏิบัติการตำรวจหลายครั้ง ที่ STS ทำร้ายร่างกายผู้โดยสารบนรถไฟ ผู้ประท้วงและฝ่ายนิยมประชาธิปไตยมองว่าไม่คำนึงถึงความปลอดภัยสาธารณะ[100][101] วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ตำรวจยิงชายหนุ่มที่ถือท่อพีวีซีด้วยกระสุนจริงในระยะเกือบเผาขน[102] ผู้ประท้วงกล่าวหาตำรวจว่าพยายามฆ่าชายคนดังกล่าวเพราะยิงไปที่อกข้างซ้ายใกล้กับหัวใจ ฝ่ายตำรวจปฏิเสธข้อกล่าวหานี้โดยระบุว่าชีวิตของเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวตกอยู่ในความเสี่ยง[103] ส่วนผู้ประท้วงเชื่อว่าการใช้กำลังของผู้ประท้วงไม่เป็นเหตุผลพอให้ต้องใช้กระสุนจริง[104]

การล้อมผู้ประท้วง[101] ปฏิบัติการในพื้นที่เอกชน[105] การวางกำลังเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ[106] การทำลายหลักฐานที่มีการตั้งข้อสงสัย[107][108] การปฏิเสธบริการปฐมพยาบาลแก่ผู้บาดเจ็บ[100] และวิธีการแสดงสัญญาณเตือนของตำรวจ[109] ล้วนเป็นที่ถกเถียงเช่นกัน เมื่อเจ้าหน้าที่บางคนไม่สวมเครื่องแบบที่มีเลขระบุหรือไม่แสดงหมาย[110][111] ทำให้พลเมืองยื่นคำร้องทุกข์ได้ยาก ตำรวจยังถูกกล่าวหาว่าใช้กำลังเกินกว่าเหตุต่อผู้ถูกจับแล้ว[112][113] และถูกวิจารณ์ว่าใช้ผู้ถูกจับคนหนึ่งเป็นโล่มนุษย์ด้วย[114] องค์การนิรโทษกรรมสากลแถลงว่าตำรวจใช้ "กำลังแก้แค้น" ต่อผู้ประท้วงและทำรุณและทรมานผู้ถูกกักขังบางส่วน[115][116] นอกจากนี้ ยังถูกกล่าวหาว่าใช้ความรุนแรงทางเพศต่อผู้ประท้วงหญิง[117] ผู้ถูกกักขังบางส่วนรายงานว่าตำรวจปฏิเสธไม่ให้ติดต่อทนายความด้วย[118]

มีการกล่าวหาตำรวจว่าแทรกแซงเสรีภาพสื่อและทำให้นักหนังสือพิมพ์ได้รับบาดเจ็บระหว่างการประท้วงหลายโอกาส ทำให้ตาขวาของนักหนังสือพิมพ์ชาวอินโดนีเซียรายหนึ่งบอดถาวร[119][120][121] ยังมีการกล่าวหาตำรวจแพร่บรรยากาศแห่งความกลัวด้วยการจับกุมในโรงพยาบาล[122] จับกุมบุคคลตามอำเภอใจ[123] และจับกุมนักเคลื่อนไหวและผู้ออกกฎหมายที่มีชื่อเสียงหลายคน[124] มองว่าการเพิกเฉยระหว่างการบุกอาคารสภานิติบัญญัติเป็นยุทธวิธีแบ่งแยก[125] การตอบสนองช้าต่อเหตุโจมตีที่หยุนหลองและนอร์ทพอยต์ก่อให้เกิดการกล่าวหาตำรวจว่าสมคบคิดสมาชิกอั้งยี่ ทนายความบางส่วนชี้ว่าการที่ตำรวจปฏิเสธช่วยผู้เสียหายโดยปิดประตูสถานีตำรวจในละแวกระหว่างการโจมตีที่หยุนหลองอาจเป็นความผิดฐานประพฤติมิชอบในสำนักงานราชการ[126][127] ตำรวจยังถูกกล่าวหาว่าใช้ "สองมาตรฐาน" โดยผ่อนปรนต่อผู้ประท้วงตอบโต้ที่ใช้ความรุนแรง[128] ตำรวจปฏิเสธข้อกล่าวหาข้างต้นทั้งหมด

มีการวิจารณ์ความประพฤติส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่บางนาย เจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบบางส่วนใช้ภาษาหยาบคายเพื่อรังควานหรือทำให้ผู้ประท้วงและนักหนังสือพิมพ์อับอาย[129] มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่บางนายว่ายั่วยุผู้ประท้วง[130] และยิ้มขณะใช้กำลัง[131] สมาคมเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้น้อยยังใช้คำว่า "แมลงสาบ" กับผู้ประท้วงกลุ่มหัวรุนแรง[132] เจ้าหน้าที่ตำรวจนายหนึ่งเรียกชายที่สวมเสื่อกั๊กสีเหลืองที่กำลังถูกเจ้าหน้าที่นายหนึ่งเตะว่า "วัตถุสีเหลือง" ทำให้ถูกวิจารณ์เป็นวงกว้าง[133]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. จำนวนผู้บาดเจ็บต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะผู้ประท้วงบางส่วนรักษาในคลินิกใต้ดินเนื่องจากไม่เชื่อมั่นในการบริหารของรัฐบาล[25]
  2. รวมผู้ที่ถูกจับหลายครั้งในช่วงที่มีการประท้วง รายงานจากบทความในSouth China Morning Post ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562 มีผู้ถูกจับกุมสูงถึง 2,400 คน ในจำนวนนี้มีผู้ถูกจับซ้ำประมาณ 60 คน[27] จำนวนผู้ถูกจับกุมที่ยังอยู่ในการดูแลไม่กระจ่างมากตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2563[28]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 眾志衝入政總靜坐促撤回逃犯條例修訂 [Demosistō got to HK Govt. HQ against the extradition bill amendment] (video). Now.com (ภาษาจีน). 15 March 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2019.
  2. "疫情緩解,抗爭運動重燃,香港社會運動形式將會有什麼改變?你如何看?". 端傳媒Initium Media (ภาษาChinese (Hong Kong)). 12 May 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-15.
  3. "Hong Kong Protests Resume After Officials Relax Social Distancing Rules". NPR (ภาษาอังกฤษ). 15 May 2020.
  4. Ramzy, Austin; Yu, Elaine (21 May 2020). "Under Cover of Coronavirus, Hong Kong Cracks Down on Protest Movement". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2020. สืบค้นเมื่อ 20 September 2020.
  5. "HKSAR Government condemns European Parliament's resolution". HKSAR Press Release (ภาษาอังกฤษ). 9 July 2021. Since its [National Security Law's] implementation in June 2020, the positive effect of the National Security Law in restoring peace and stability ... in the HKSAR has been obvious and indisputable.
  6. Cheng, Kris; Grundy, Tom (15 June 2019). "Hong Kong democrats urge leader Carrie Lam to drop extradition law plans entirely and resign; Sunday protest to proceed". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 15 June 2019.
  7. Wong, Tessa (17 August 2019). "How Hong Kong got trapped in a cycle of violence". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2019. สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
  8. Sala, Ilaria Maria (21 August 2019). "Why There's No End in Sight to the Hong Kong Protests". The Nation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2019. สืบค้นเมื่อ 27 August 2019.
  9. 林鄭月娥電視講話 宣布撤回修例 拒設獨立委員會 (ภาษาChinese (Hong Kong)). Stand News. 5 September 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-29. สืบค้นเมื่อ 5 September 2019.
  10. 傘運感和理非無用 勇武者:掟磚非為泄憤. Ming Pao (ภาษาChinese (Hong Kong)). 18 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2019. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019.
  11. "Hong Kong mask ban defied for third day as mobs go on rampage against mainland China-linked businesses and MTR". South China Morning Post. 7 October 2019. สืบค้นเมื่อ 14 June 2020.
  12. Lum, Alvin; Chung, Kimmy; Lam, Jeffie (23 September 2019). "Hong Kong's 'dead' extradition bill finally buried as government formally withdraws it". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 23 September 2019.
  13. "So the bill is 'dead'…but how dead, exactly? Lam's choice of words raises eyebrows". Coconuts Hong Kong. 9 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2019. สืบค้นเมื่อ 25 August 2019.
  14. Ng, Kang-chung; Sum, Lok-kei (17 June 2019). "Police roll back on categorisation of Hong Kong protests as a riot". South China Morning Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2019. สืบค้นเมื่อ 17 June 2019.
  15. Chan, Holmes (15 June 2019). "In Pictures: 'Hopeful tomorrow' -Pro-gov't group hosts rally denouncing violence and backing Hong Kong police". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 11 August 2019.
  16. Cheung, Tony (6 November 2019). "No country would tolerate 'violent and destructive acts' of Hong Kong's protesters, Chinese Vice-Premier Han Zheng says". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 8 November 2019. 'Stopping violence and restoring order is still the most important work for Hong Kong society, the common responsibility of the city's executive, legislative and judicial bodies, as well as the biggest consensus of the city,' he said.
  17. Cheng, Kris (6 November 2019). "Vice-Premier says Beijing supports Hong Kong authorities, as leader Carrie Lam 'saddened' by 3,000 arrests during protests". Hong Kong Free Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2020. สืบค้นเมื่อ 8 November 2019. '[The central government] fully acknowledges the work done by [Lam] and the SAR government, and the dedicated performance of the Hong Kong police force,' he said
  18. Zhou, Laura (14 November 2019). "Xi Jinping again backs Hong Kong police use of force in stopping unrest". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 23 November 2019.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 【林鄭述職】強化「刀把子」角色 折射北京撐警強力執法思路. HK01 (ภาษาChinese (Hong Kong)). 17 December 2019.
  20. Chan, Holmes (22 July 2019). "'Servants of triads': Hong Kong democrats claim police condoned mob attacks in Yuen Long". Hong Kong Free Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2019.
  21. Kuo, Lily (22 July 2019). "Hong Kong: why thugs may be doing the government's work". The Guardian.
  22. Barron, Laignee (23 July 2019). "Suspected 'Triad' gangs mark dangerous new phase in Hong Kong's crisis". Time.
  23. "Macau Government strongly backs Hong Kong national security law". Macau Business. สืบค้นเมื่อ 13 October 2020.
  24. "Anti-government protests enter their seventh month". RTHK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2020. สืบค้นเมื่อ 9 December 2019.
  25. "In Pictures: Hong Kong's volunteer frontline medics rush to treat protest casualties". Hong Kong Free Press. 21 December 2019.
  26. 26.0 26.1 Chau, Candice (17 May 2021). "10,250 arrests and 2,500 prosecutions linked to 2019 Hong Kong protests, as security chief hails dip in crime rate". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 17 May 2021.
  27. "Hong Kong protests: growing number of repeat arrests prompts calls for special court to fast-track cases related to violent unrest". South China Morning Post. 21 October 2019. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
  28. Pang, Jessie (18 April 2020). "Hong Kong police detain veteran democracy activists in raids". Reuters. สืบค้นเมื่อ 23 April 2020.
  29. Kleefeld, Eric (9 June 2019). "Hundreds of thousands attend protest in Hong Kong over extradition bill". Vox. สืบค้นเมื่อ 10 June 2019.
  30. "New extradition laws still urgent, says Carrie Lam". RTHK. สืบค้นเมื่อ 10 June 2019.
  31. "Council meeting not to be held today". HKSAR Government Press Releases. 2019-06-12. สืบค้นเมื่อ 2019-06-12.
  32. "Council meeting not to be held today". HKSAR Government Press Releases. 2019-06-13. สืบค้นเมื่อ 2019-06-13.
  33. "Embattled Hong Kong leader Lam suspends China extradition bill". Reuters. 15 June 2019. สืบค้นเมื่อ 15 June 2019.
  34. Bradsher, Keith; Stevenson, Alexandra (15 June 2019). "Hong Kong's Leader, Yielding to Protests, Suspends Extradition Bill". The New York Times.
  35. "Man protesting Hong Kong's extradition law dies after falling from mall in Admiralty". Hong Kong Free Press. 15 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-17.
  36. "Hundreds dressed in black rally to demand Hong Kong leader steps down". Reuters. 16 June 2019. สืบค้นเมื่อ 16 June 2019.
  37. Team BlackSheep (15 June 2019). "DRONE OVER HONG KONG PROTESTS" – โดยทาง YouTube.
  38. Ramzy, Austin (22 July 2019). "Mob Attack at Hong Kong Train Station Heightens Seething Tensions in City". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
  39. "What do the Hong Kong protesters want?". The Guardian. 13 August 2019. สืบค้นเมื่อ 13 August 2019.
  40. Bradsher, Keith (19 July 2019). "Hong Kong's Approach to Protesters: No More Concessions". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
  41. Griffiths, James. "After months of protests, Hong Kong leader withdraws extradition bill". CNN.
  42. Chan, Holmes (4 September 2019). "Hong Kong to officially withdraw extradition bill from legislature, but still no independent probe into crisis". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 4 September 2019.
  43. "Using emergency law to ban masks 'may doom HK'". RTHK. 3 October 2019.
  44. Special Group on Law of the Basic Law Consultative Committee (12 June 1987). Final Report on Conflict of Laws, Extradition, and Other Related Issues (PDF). สืบค้นเมื่อ 12 June 2019.
  45. "Council Meeting (Hansard) 9 Dec 98". Legislative Council of the Hong Kong SAR of the PRC. สืบค้นเมื่อ 12 June 2019.
  46. Tso, Timothy. "Legal Service Division Report on Fugitive Offenders and Mutual Legal Assistance in Criminal Matters Legislation (Amendment) Bill 2019" (PDF). Legislative Council of Hong Kong.
  47. "Fears over Hong Kong-China extradition plans". BBC. 8 April 2019.
  48. Hsu, Stacy (27 June 2019). "World leaders urged to address Hong Kong issue ahead of G20". Focus Taiwan.
  49. "Police in Central Hong Kong Stop, Search Subway Passengers Ahead of Vote". Radio Free Asia. สืบค้นเมื่อ 30 June 2019.
  50. "便衣警拍攝示威者 拒展示委任證 警員反問記者:憑乜嘢 | 立場報道 | 立場新聞". 立場新聞 Stand News (ภาษากวางตุ้ง). 27 June 2019. สืบค้นเมื่อ 30 June 2019.
  51. Qin, Amy. "Hong Kong Protesters Are Fueled by a Broader Demand: More Democracy". The New York Times (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
  52. Chan, Holmes (31 March 2019). "In Pictures: 12,000 Hongkongers march in protest against 'evil' China extradition law, organisers say". Hong Kong Free Press HKFP. สืบค้นเมื่อ 10 June 2019.
  53. "Thousands march in Hong Kong over proposed extradition law changes". The Straits Times. Reuters. 31 March 2019. สืบค้นเมื่อ 11 June 2019.
  54. 54.0 54.1 "Estimated 130,000 protesters join march against proposed extradition law that will allow transfer of fugitives from Hong Kong to mainland China". South China Morning Post. 28 April 2019.
  55. "New extradition laws still urgent, says Carrie Lam". RTHK. 29 April 2019.
  56. "'Record 3,000' lawyers in silent march against extradition bill". South China Morning Post. 6 June 2019. สืบค้นเมื่อ 11 June 2019.
  57. 57.0 57.1 57.2 "Hong Kong lawyers protest "polarising" extradition bill in rare march". Reuters. 6 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-07. สืบค้นเมื่อ 2019-06-17.
  58. [ https://www.bbc.com/thai/international-49536890 ประท้วงฮ่องกง : จุดไฟเผา-ปาระเบิดขวด ชาวฮ่องกงหลายหมื่นท้าทายคำสั่งห้ามประท้วง]
  59. Banjo, Shelly; Lung, Natalie; Lee, Annie; Dormido, Hannah. "Hong Kong Democracy Flourishes in Online World China Can't Block". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 23 August 2019.
  60. "A new kind of Hong Kong activism emerges as protesters mobilize without any leaders". Los Angeles Times. 14 June 2019.
  61. Banjo, Shelly; Lung, Natalie; Lee, Annie; Dormido, Hannah. "Hong Kong Democracy Flourishes in Online World China Can't Block". Bloomberg.
  62. "In Pictures: 'Flow like water' – Hong Kong protesters converge on police HQ after day of wildcat road occupations". Hong Kong Free Press. 21 June 2019. สืบค้นเมื่อ 3 July 2019.
  63. Hale, Erin (7 August 2019). "'Be water': Hong Kong protesters adopt Bruce Lee tactic to evade police crackdown". The Independent. สืบค้นเมื่อ 8 August 2019.
  64. Yong, Michael (5 August 2019). "Hong Kong protests: A roundup of all the rallies, clashes and strikes on Aug 5". CNA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-06. สืบค้นเมื่อ 7 August 2019.
  65. Cheng, Kris. "Explainer: How frontline protesters' toolkit has evolved over Hong Kong's long summer of dissent". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 9 August 2019.
  66. Kuo, Lily (18 August 2019). Written at Hong Kong. "Hong Kong's dilemma: fight or resist peacefully". The Observer. London. สืบค้นเมื่อ 10 September 2019.
  67. Hui, Mary (14 August 2019). "Mired in anger and hatred, Hong Kong's 'radical' protesters are seeking a way forward". Quartz. สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
  68. "Hunger strikers vow to continue Hong Kong protest – Protesters that include members of religious groups say fast not over until extradition bill is officially withdrawn". UCAN. Union of Catholic Asian News Limited. สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
  69. "Hundreds of petitions appear in protest of Hong Kong's controversial China extradition bill". Hong Kong Free Press. 30 May 2019. สืบค้นเมื่อ 16 June 2019.
  70. Yao, Rachel (24 July 2019). "Extradition bill protesters cause rush hour chaos in Hong Kong as they block main MTR rail line in city". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 24 July 2019.
  71. Leung, Kanis (18 August 2019). "Hong Kong protesters slash personal spending in economic boycott designed to force government into meeting extradition bill demands". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 24 August 2019.
  72. Creeny, Jennifer (25 July 2019). "Wilting bauhinias and widemouthed tigers: The evolution of Hong Kong's protest posters". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 6 September 2019.
  73. Cheng, Kris; Chan, Holmes (9 July 2019). "In Pictures: 'Lennon Wall' message boards appear across Hong Kong districts in support of anti-extradition bill protesters". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 10 July 2019.
  74. "Hong Kong protesters target police headquarters". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 5 August 2019.
  75. Press, Hong Kong Free (3 August 2019). "Hong Kong police deploy tear gas after protesters bring Kowloon to a halt with wildcat road occupations". Hong Kong Free Press.
  76. Chan, Holmes (17 August 2019). "In Pictures: Hong Kong protesters roam Kowloon in hit-and-run demos, after thousands march in To Kwa Wan". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 18 August 2019.
  77. Ramsy, Austin (1 September 2019). "Hong Kong Protesters Squeeze Access to the Airport". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019.
  78. Sala, Maria (9 August 2019). "Why does the gov't care more about attacks on flags and signs than the attacks against Hongkongers?". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 7 September 2019.
  79. "Hong Kong protests: second car rams protesters as fights break out – as it happened". The Guardian. 5 August 2019. สืบค้นเมื่อ 29 August 2019.
  80. Chan, Holmes (1 September 2019). "Violence erupts across Hong Kong as police fire 'warning shots,' MTR closes 5 lines and officers storm train carriage". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019.
  81. Mozur, Paul (26 July 2019). "In Hong Kong Protests, Faces Become Weapons". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 7 September 2019.
  82. Lau Yiu-man, Lewis (28 June 2019). "Hong Kong's Protesters Are Resisting China With Anarchy and Principle: The movement is leaderless but not chaotic. It self-regulates even as it constantly reinvents itself". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019.
  83. "'Stand with Hong Kong': G20 appeal over extradition law crisis appears in over 10 int'l newspapers". Hong Kong Free Press. 28 June 2019. สืบค้นเมื่อ 29 June 2019.
  84. Dzidzovic, Arman; Wong, Alan (23 August 2019). The messages behind Hong Kong's foreign flags. Inkstone. South China Morning Post Publishers (Alibaba Group). สืบค้นเมื่อ 28 August 2019.
  85. Chan, Holmes (6 August 2019). "Masked protesters hold own press con as Hong Kong NGOs condemn alleged police abuses". Hong Kong Free Press.
  86. Liu, Nicolle; Wong, Sue-Lin (2 July 2019). "How to mobilise millions: Lessons from Hong Kong". Financial Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-03. สืบค้นเมื่อ 14 July 2019. The protesters also use iPhone's AirDrop function to anonymously and rapidly share information.
  87. Victor, Daniel (19 August 2019). "Hong Kong Protesters Love Pepe the Frog. No, They're Not Alt-Right". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 20 September 2019.
  88. Cheng, Kris (22 August 2019). "#Eye4HK campaign in support of Hong Kong protesters gains international momentum". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 23 August 2019.
  89. 89.0 89.1 Cheng, Chris. "Hong Kong's independent police watchdog to investigate protest complaints, but lacks legal power to summon witnesses". HKFP.
  90. Kam-yin, Yu (22 August 2019). "Independent inquiry still an option for Carrie Lam". EJ Insight. สืบค้นเมื่อ 23 August 2019.
  91. "Verified: Hong Kong Police Violence Against Peaceful Protesters". Amnesty International. 21 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-20. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  92. "警方記者會】邀爆眼少女錄口供 李桂華﹕攞口供前唔拘捕". HK01.
  93. "Hong Kong police breached internal and manufacturer guidelines by improperly firing projectiles". Hong Kong Free Press. 1 September 2019. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019.
  94. Ramzy, Austin; Lai, K.K. Rebecca. "1,800 Rounds of Tear Gas: Was the Hong Kong Police Response Appropriate?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 August 2019. Gijsbert Heikamp was filming with his cellphone at a protest outside a police station in Tsim Sha Tsui. He was outside the station, standing behind a barrier, when officers began firing tear gas from behind a fence. Two of the canisters went through gaps in the barrier, hitting him in the stomach and on the right arm.
  95. Ramzy, Austin; Lai, K.K. Rebecca. "1,800 Rounds of Tear Gas: Was the Hong Kong Police Response Appropriate?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 August 2019. 'Discharging indoors leads to panic, can lead to stampede, and at its worst it can lead to dire health consequences, including death, if people cannot escape the suffocating effects of the gas,' said Michael Power, a civil rights lawyer based in South Africa who specialises in protests and policing.
  96. Chan, Holmes (9 August 2019). "Hong Kong reporters coughed blood and developed rashes after tear gas exposure, doctors say". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  97. Kai-cheong, Leung (20 August 2019). "Why police should limit the use of tear gas". EJ Insight. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  98. "Police defend kicking man on his knees". The Standard. 26 August 2019. สืบค้นเมื่อ 27 August 2019.
  99. "驅散過程 警屢被指摘誤打無辜途人". Sing Pao Daily News (ภาษาจีน). 5 August 2019. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  100. 100.0 100.1 Tong, Elson (1 September 2019). "Hong Kong reels from chaos: 3 MTR stations remain closed, police defend storming trains, more demos planned". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019.
  101. 101.0 101.1 Cheng, Kris (15 July 2019). "Hong Kong democrats question police 'kettling' tactic during Sha Tin mall clearance, as pro-Beijing side slams violence". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  102. "Use of live ammunition is disproportionate: UK". RTHK. 1 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2 October 2019.
  103. "Shooting of teen legal, reasonable: Stephen Lo". RTHK. 2 October 2019. สืบค้นเมื่อ 4 October 2019.
  104. "Police officer intended to kill, say protesters". RTHK. 2 October 2019. สืบค้นเมื่อ 4 October 2019.
  105. "有大律師稱警方進入商場清場或違反警察通例". NOW TV. 15 July 2019. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  106. "Warning shots right and reasonable, say police". RTHK. 1 September 2019. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019.
  107. Lau, Chris (13 August 2019). "Hong Kong police deny planting evidence and say protesters dropped sticks during course of arrest". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 15 August 2019.
  108. Chan, Holmes (8 August 2019). "Hong Kong student leader arrested over laser pointers freed, as protesters challenge police over safety of tear gas, rubber bullets". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  109. "Police defend responses to Sheung Wan, Yuen Long incidents". EJ Insight. 26 July 2019. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  110. Cheng, Kris (21 June 2019). "Hong Kong activists complain police failed to display ID numbers, as security chief says uniform has 'no room'". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  111. Siu, Phlia (8 July 2019). "Hong Kong police accused of provoking protesters and failing to wear ID during Mong Kok chaos after extradition bill march". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  112. "【728集會】警否認以腳踢示威者頭 沒阻消防救護進入示威範圍". Hong Kong 01. 29 July 2019. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019.
  113. Chan, Holmes (12 August 2019). "Video: Hong Kong police make bloody arrest, assisted by officers suspected to be undercover as protesters". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  114. "【警方記者會】否認被捕者當人盾  江永祥:當時好忙、一心多用". Hong Kong 01. 30 September 2019. สืบค้นเมื่อ 2 October 2019.
  115. "Amnesty accuses Hong Kong police of abuses, torture of protesters". Reuters. 20 September 2019. สืบค้นเมื่อ 20 September 2019.
  116. "Detained protesters not being mistreated, police say". EJ Insight. 29 August 2019. สืบค้นเมื่อ 4 September 2019.
  117. Carvalho, Raquel (28 August 2019). "Thousands gather at #MeToo rally to demand Hong Kong police answer accusations of sexual violence against protesters". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 29 August 2019.
  118. Cheng, Kris (15 August 2019). "Arrested protesters accuse police of ill-treatment in detention and denial of access to lawyers". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 4 September 2019.
  119. "【逃犯條例.831】譴責阻記者採訪太子站 記協攝記協促警解釋". Ming Pao. 1 September 2019. สืบค้นเมื่อ 2 September 2019.
  120. Xinqi, Su (8 July 2019). "Hong Kong journalism groups accuse police of assaulting reporters and photographers during extradition bill clashes in Mong Kok". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  121. Lam, Jeffie (14 July 2019). "'More than 1,500' join journalists' silent march in Hong Kong, accusing police of mistreating media during extradition bill protests and demanding Carrie Lam steps in to defend press freedom". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  122. "-Injured civilians and medics face 'white terror'". RTHK. 15 August 2019. สืบค้นเมื่อ 6 September 2019.
  123. "警兩月8發反對通知書 民間記者會:港人權利倒退內地水平". Ming Pao. 20 August 2019. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  124. "Arrests of high-profile Hong Kong activists a bid to spread 'white terror' – video". The Guardian. 30 August 2019. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019.
  125. Burns, John (26 July 2019). "Hong Kong police breed mistrust and uncertainty with selective law enforcement". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  126. "元朗恐襲 ICAC查警黑勾結 前調查員:倘袖手旁觀 警隊上下皆瀆職". Apple Daily (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-25. สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
  127. Chan, Holmes (22 July 2019). "'Servants of triads': Hong Kong democrats claim police condoned mob attacks in Yuen Long". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 23 August 2019.
  128. Cheng, Kris (16 September 2019). "Hong Kong police deny 'double standards' after accusations of leniency towards anti-protester mob". Hong Kong Free Press. สืบค้นเมื่อ 20 September 2019.
  129. Hui, Marry (20 June 2019). "Cantonese is Hong Kong protesters' power tool of satire and identity". Quartz. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019.
  130. "【引渡惡法】警方唔克制驅散示威者:認X住我呀!隻揪呀!". Apple Daily. 8 July 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-07. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019.
  131. Ting, Victor (30 September 2019). "Hong Kong police deny wave of misconduct accusations, including arson, grinning officers and improper undercover work". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 4 October 2019.
  132. Un, Phoenix (19 August 2019). "Violence damped down". The Standard. สืบค้นเมื่อ 20 September 2019.
  133. Wong, Stella (24 September 2019). "Police say kick was at 'yellow object'". The Standard. สืบค้นเมื่อ 25 September 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]