ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์
ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ถัดไป | เพชรรัตน์ ใหม่ชมภู |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
ก่อนหน้า | ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล กฤษดาภรณ์ เสียมภักดี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มีนาคม พ.ศ. 2515 อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาชน (2567–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | เพื่อไทย (2554–2566) ก้าวไกล (2567) |
บุพการี | พรทัศน์ บูรณุปกรณ์ (บิดา) ผ่องศรี บูรณุปกรณ์ (มารดา) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย |
อาชีพ | นักการเมือง |
ชื่อเล่น | กุ้ง |
ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ (เกิด 8 มีนาคม พ.ศ. 2515) ชื่อเล่น กุ้ง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 1 สังกัดพรรคเพื่อไทย 2 สมัย อดีตสมาชิกพรรคก้าวไกล ปัจจุบันสังกัดพรรคประชาชน
ประวัติ
[แก้]ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2515 เป็นบุตรของนายพรทัศน์ บูรณุปกรณ์ มีน้อง 2 คน คือ ทัศนัย บูรณุปกรณ์ อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และนางสาวธารทิพย์ บูรณุปกรณ์ นักธุรกิจ นางสาวทัศนีย์ยังเป็นหลานของนายปกรณ์ บูรณุปกรณ์ อดีต ส.ส. และนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์[1] อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบัน สถานภาพโสด
งานการเมือง
[แก้]ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ เป็นนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ เคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลช้างเผือก (พ.ศ. 2546 - 2554) ต่อมาดำรงตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในสมัยของนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ก่อนที่จะลาออกมาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2554 ในนามพรรคเพื่อไทย โดยลงในเขต 1 แทนนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ที่ขึ้นไปลงในระบบบัญชีรายชื่อ และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก
หลังรัฐประหารในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 ทัศนีย์เข้ารับตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่อีกครั้ง ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 เธอและน้องสาวถูกนายทหารพระธรรมนูญจับกุมตัวตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เนื่องจากมีการกระทำเข้าข่ายทำผิดข้อหายุยงปลุกปั่นฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ก่อนจะนำไปปรับทัศนคติภายในมณฑลทหารบกที่ 11 รักษาพระองค์ เป็นเวลา 7 วัน[2] ก่อนจะถูกปล่อยตัวในเดือนสิงหาคม[3] และต่อมาเธอลาออกจากตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีผลเมื่อวันที่ 1 กันยายน[4]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ทัศนีย์ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 1 และได้รับเลือกตั้งอีกสมัย แต่ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2563 เธอให้การสนับสนุนนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ซึ่งเป็นคู่แข่งของผู้สมัครที่พรรคเพื่อไทยให้การสนับสนุน[5]
ทัศนีย์มีบทบาทในการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรหลายครั้ง อาทิ การอภิปรายกรณีที่ได้กล่าวว่าได้เขียนใบลาออกไว้ให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จนพลเอกประยุทธ์ต้องออกมาตอบโต้ว่าให้เก็บไว้ใช้เอง[6]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ทัศนีย์ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่อีกครั้ง โดยย้ายมาที่เขต 3 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาหลังจากพรรคเพื่อไทยประกาศจัดตั้งรัฐบาลโดยมีพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติเข้าร่วมด้วย เธอได้ลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566[7] จากนั้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2567 เธอได้เปิดเผยว่าได้สมัครสมาชิกพรรคก้าวไกลตั้งแต่เมื่อวันที่ 31 มกราคม[8] จนกระทั่งหลังพรรคก้าวไกลถูกยุบตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เธอได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาชนในเวลาต่อมาทันที[9]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หลานบุญเลิศ ครวญ ‘เมื่อไหร่จะจบ ไม่มีที่จะยืนอยู่แล้ว’ ส.ส.เพื่อไทย แห่เมนต์ส่งกำลังใจ
- ↑ ทหารรวบ "ทัศนีย์" อดีต ส.ส.เชียงใหม่ หลาน "บุญเลิศ" โยงเอกสารบิดเบือนรธน.
- ↑ ปล่อยตัวแล้ว! “ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์” อดีตส.ส.เชียงใหม่ หลังถูกจับ คดีจม.ประชามติ
- ↑ https://www.matichon.co.th/region/news_271685
- ↑ “เพื่อชาติ” ยังไม่ส่งใครชิงนายกอบจ.เชียงใหม่ระบุเหลือเวลาอีกนาน ด้าน “ทัศนีย์” เพื่อไทยยังหนุน “บุญเลิศ” เป็นนายกสมัย 3
- ↑ บิ๊กตู่ โต้ ส.ส.เชียงใหม่ เก็บใบลาออกไว้ให้ตัวเอง ด้านทัศนีย์สวน มาจาก ปชช. ไม่เคยกลัวเลือกตั้งใหม่
- ↑ "ทัศนีย์ อดีต สส.เชียงใหม่หลายสมัย ลาออกจากสมาชิกเพื่อไทย". ประชาไท. 2023-08-21. สืบค้นเมื่อ 2023-08-21.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""ทัศนีย์" อดีตเด็กเพื่อไทยปัดข่าว "ทักษิณ" เคลียร์คนตระกูลบูรณุปกรณ์". เนชั่นทีวี. 14 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2024.
ยอมรับว่าได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกลไปเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2567 เพราะหลักการเราเดินไปด้วยกันได้ และมองว่าการสมัครเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล ไม่ได้ไปทำความเดือดร้อนให้ใครเป็นสิทธิส่วนบุคคล
- ↑ ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ โพสรูปแสดงว่าได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาชนเรียบร้อยแล้ว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นางสาวทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- ข้อมูลนักการเมือง (นางสาวทัศนีย์ บูรณุปกรณ์), ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2515
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอสันกำแพง
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- สกุลบูรณุปกรณ์
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- นายกเทศมนตรีในจังหวัดเชียงใหม่
- ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคก้าวไกล
- พรรคประชาชน (พ.ศ. 2567)
- บุคคลจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.