กรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ
กรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ | |
---|---|
กรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ | |
ประเทศ | ไทย |
รูปแบบ | กำลังกึ่งทหาร |
บทบาท | ปฏิบัติการทางทหาร[1] ปฏิบัติการยกพลขึ้นบก[2] การรบแบบจรยุทธ์[1][3] คุ้มครองประชาชนตามแนวชายแดน[1] ปราบปรามการกระทำผิดกฎหมาย[1] ช่วยเหลือประชาชนและองค์กร[1] ดูแลรักษาป่าไม้[3] การใช้โดรน–พารามอเตอร์[3][4] การต่อสู้ด้วยมือเปล่า[5] การปฐมพยาบาลเบื้องต้น[5] |
กำลังรบ | ทั้งหมด: 1,622 นาย (พ.ศ. 2557)[6] หญิง: 133 นาย (พ.ศ. 2562)[7] |
กองบัญชาการ | หมู่ที่ 7 ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส 96110 |
สมญา | นักรบชุดดำ เหยี่ยวดำ[8] ประดู่เหล็ก (หญิง)[9] |
คำขวัญ | ทหารของประชาชน เพื่อพิทักษ์ประชาชน |
สีหน่วย | ดำ |
สัญลักษณ์นำโชค | ลูกเหยี่ยวดำ |
วันสถาปนา | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 |
ปฏิบัติการสำคัญ | สงครามเย็น • การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย[1][3] • การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศมาเลเซีย • เหตุปะทะชายแดนไทย–เวียดนาม ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้[10][11][12] |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บังคับการกรม | นาวาเอก บดินทร์ นิธิอุทัย |
ผบ. สำคัญ | นาวาเอก บุญเกิด มูลละกัน[13] นาวาเอก สันติ เกศศรีพงษ์ศา[14] |
เครื่องหมายสังกัด | |
เครื่องหมายหน่วย |
กรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ[15][16] (อักษรย่อ: กรม ทพ.นย.ทร.; อังกฤษ: Paramilitary Marine Regiment, Royal Thai Navy) เป็นหน่วยทหารพราน ซึ่งได้รับการเห็นชอบในการจัดตั้งโดยกระทรวงกลาโหม[17][18] นาวาเอก บดินทร์ นิธิอุทัย เป็น ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ
ทั้งนี้ ผู้ทำการฝึกทหารพรานนาวิกโยธิน ส่วนหนึ่งมาจากหน่วยรีคอน[19]
ประวัติ
[แก้]ก่อนจัดตั้งกรม
[แก้]หน่วยทหารพรานนาวิกโยธิน เดิมก่อตั้งขึ้นช่วงปี พ.ศ. 2520–2521 เนื่องด้วยถูกคุกคามอย่างหนักจากการก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย โดยเฉพาะตามแนวชายแดน จึงได้จัดกำลังจากประชาชนในท้องถิ่นเนื่องด้วยมีความเข้าใจปัญหาในพื้นที่[1]
กองบัญชาการทหารสูงสุดได้เห็นชอบให้ดำเนินการเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2521 รวมถึงคณะรัฐมนตรีไทยได้อนุมัติเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 โดยมีศูนย์ปฏิบัติการพิเศษกองทัพบก 315 (ศปก.ทบ.315) เป็นหน่วยควบคุมบังคับบัญชา และมีการฝึกที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา[1]
เมื่อเสร็จสิ้นการฝึก ทางศูนย์ปฏิบัติการพิเศษกองทัพบก 315 ได้ให้ทหารพรานนาวิกโยธินขึ้นการควบคุมด้านยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด[1]
การแต่งกายในสมัยนั้น เป็นชุดพรางขณะปฏิบัติหน้าที่ รบแบบจรยุทธ์ และไม่มีที่ตั้งหน่วยที่แน่นอน ก่อนเปลี่ยนมาเป็นชุดดำในแบบเดียวกับทหารพรานของกองทัพบกไทย แต่ยังคงใช้หมวกเบเรต์ลายพรางสีเขียวเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของทหารพรานนาวิกโยธิน[1][3]
หลังจากการต่อสู้เพื่อเอาชนะลัทธิคอมมิวนิสต์ ก็ได้เปลี่ยนภารกิจมาเป็นการป้องกันประเทศ หน่วยทหารพรานนาวิกโยธินจึงจำเป็นต้องขยายหน่วยให้เหมาะสม อันประกอบด้วย กำลังพลประจำการ และอาสาสมัครทหารพรานนาวิกโยธิน[1]
จัดตั้งกรม–ปัจจุบัน
[แก้]กรมทหารพรานนาวิกโยธิน ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2559 เนื่องด้วยรัฐบาลไทยและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรมีแนวคิดในการลดกำลังรบหลักในการแก้ปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย โดยใช้ทหารพรานประจำถิ่นเข้าปฏิบัติการแทน[14]
ทางกองทัพเรือไทยจึงขออนุมัติการจัดตั้งกรมทหารพรานนาวิกโยธิน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ที่ขึ้นตรงกับหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน[14] ด้วยวงเงินในการจัดตั้งกว่า 1,700 ล้านบาท[20][21]
และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 นาวาเอก บุญเกิด มูลละกัน ผู้บังคับการกรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ได้นำกำลังพลทั้งชายและหญิงกว่า 1,000 คน พร้อมยุทโธปกรณ์, รถหุ้มเกราะ และรถลำเลียงพล ยกพลขึ้นบกด้วยเรือหลวงอ่างทองและเรือหลวงมันนอก ที่จังหวัดนราธิวาส นับเป็นการยกพลขึ้นบกครั้งแรกของประวัติศาสตร์ทหารพรานนาวิกโยธิน[2][10][22]
กิจกรรมเพื่อสังคม
[แก้]หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานนาวิกโยธินได้มีส่วนในการช่วยเหลือประชาชนและเยาวชน อาทิ ร่วมการลงแขกเพื่อช่วยเหลือชาวนาที่มีฐานะยากจนในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2561[23] รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาเยาวชน ซึ่งมีนักเรียนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก[24] ตลอดจนให้การช่วยเหลือคนพิการในปี พ.ศ. 2562[25]
โครงสร้างปัจจุบัน
[แก้]ผู้บังคับการกรมทหารพรานนาวิกโยธิน
[แก้]- ไม่ทราบ – 30 กันยายน พ.ศ. 2561: นาวาเอก บุญเกิด มูลละกัน[26]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563: นาวาเอก สันติ เกศศรีพงษ์ศา[5]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ.2564: นาวาเอก ธงฉาน บุญระเทพ[27]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน: นาวาเอก บดินทร์ นิธิอุทัย[27]
ยุทโธปกรณ์
[แก้]ยานพาหนะภาคพื้นดิน
[แก้]รุ่น | ภาพ | ประเภท | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
เฟิร์สวิน | รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ | ไทย | ||
รีวา เอพีซี[28][29] | รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ | แอฟริกาใต้ | ||
ฮัมวี | รถเกราะขนาดเล็ก/รถอเนกประสงค์ขนาดเล็ก | สหรัฐอเมริกา | ||
นิสสัน นาวารา (หุ้มเกราะ) | – | รถเกราะ | ญี่ปุ่น | รถกระบะดัดแปลง |
โตโยต้า ไฮลักซ์ (หุ้มเกราะ) | – | รถกระบะ | ญี่ปุ่น | รถกระบะหุ้มเกราะ[30] |
ไม่ทราบ | – | จักรยานยนต์วิบาก | ญี่ปุ่น | จักรยานยนต์วิบากสีดำ |
อากาศยาน
[แก้]รุ่น | ภาพ | ประเภท | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
เบลล์ 212 | เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ | สหรัฐอเมริกา | อนุมัติการใช้โดยกองทัพเรือไทย |
อาวุธเล็ก
[แก้]ชื่อ | ภาพ | ประเภท | ขนาดลำกล้อง | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
เอ็ม 16 เอ 1 | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | สหรัฐอเมริกา | ||
เอชเค 33 เอ 2 | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | เยอรมนี ไทย |
กระทรวงมหาดไทยแจกจ่ายให้กองอาสารักษาดินแดนเช่นกัน[21][31] | |
ซิก ซาวเออร์ เอสไอจี 516 | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | สวิตเซอร์แลนด์ | ||
ไอเอ็มไอ ทาวอร์ ทาร์ 21 | บุลพัป | 5.56×45 มม. นาโต | อิสราเอล | มีใช้ในกองทัพบกไทยเช่นกัน | |
เรมิงตัน 1100 | ปืนลูกซองกึ่งอัตโนมัติ | ลูกซองขนาด 12 | สหรัฐอเมริกา | ||
ปืนกลเอ็ม 60 | ปืนกลเอนกประสงค์ | 7.62×51 มม. นาโต | สหรัฐอเมริกา | ||
ปืนกลเบาเอ็ม 249 | ปืนกลเบา | 5.56×45 มม. นาโต | สหรัฐอเมริกา | ||
เอ็ม 79 | เครื่องยิงลูกระเบิด | ลูกระเบิดขนาด 40×46 มม. | สหรัฐอเมริกา |
ปืนใหญ่สนาม
[แก้]รุ่น | ภาพ | ประเภท | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ปืนครกเอ็ม 120 | ปืนครก 120 มม. | อิสราเอล | มีอยู่ที่หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน ค่ายเทวาพิทักษ์ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 “ทหารพราน นาวิกโยธิน” ซ้อมเข้ม ก่อนลงพื้นที่รักษาความมั่นคงชายแดนไทย
- ↑ 2.0 2.1 ประวัติศาสตร์! ทหารพรานนาวิกโยธิน พันนายยกพลขึ้นบก พิทักษ์แดนใต้ - ไทยรัฐ
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 ลับคม “ทหารพราน นย.” รับมือภารกิจหลากมิติ - ไทยโพสต์
- ↑ ครั้งแรก! ทหารพราน ใช้โดรนบินไล่ ช้างป่า เขาสอยดาว ชี้ ได้ผลเกินคาด - ไทยรัฐ
- ↑ 5.0 5.1 5.2 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ จัดพิธีเปิดการฝึกทบทวนกำลังประจำถิ่น (อส.) และ กำลังประชาชน (ชรบ.)
- ↑ ฟังฝ่ายมั่นคงแจงตั้งกรมทหารพรานใหม่-ส่งปืนให้ อส. ย้ำเป้าหมายดูแลประชาชน
- ↑ สวยงาม เข้มแข็ง แต่นุ่มนวล เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา นั่นคือทหารพรานหญิง กรมทหารพรานนาวิกโยธิน แห่งกองทัพเรือ
- ↑ ไม่ใช่แค่ สวย แกร่ง เก่ง....แต่เสียสละสุดๆ!!พร้อมแล้ว!! 121 "เหยี่ยวดำ" ทหารพรานหญิง นย.รุ่นแรกลงใต้.ผบ.ทร.ให้กำลังใจ และชื่นชมประดู่เหล็กหญิง
- ↑ "ดอกประดู่เหล็ก หญิงแกร่งแห่งราชนาวีไทย" ...เผยโฉม เหล่าทหารหญิง ฝึกหนักกลางแดดกล้ากว่า 3 เดือน ก่อนลงชายแดนใต้
- ↑ 10.0 10.1 ทร.ส่งทหารพรานหญิงนาวิกโยธินชุดแรกลงชายแดนใต้ - MGROnline
- ↑ เรื่องเด่น-ภาคใต้ - สภากลาโหมอนุมัติตั้งกรมทหารพรานนาวิกโยธินดับไฟใต้
- ↑ "นย.ทร. 487 นายผลัดกำลังหนุนภารกิจดับไฟใต้ - innnews". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 2019-02-26.
- ↑ ผบ.ทหารพรานนาวิกโยธิน ขอโทษพ่อลูกน้องพลีชีพเหตุระเบิดบาเจาะ[ลิงก์เสีย]
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อnaewna
- ↑ "ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินตรวจเยี่ยมการฝึกของ กรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-12. สืบค้นเมื่อ 2019-02-26.
- ↑ ผบ.ทร. ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมหน่วยขึ้นตรงในพื้นที่ ฉก.นย.ทร. ที่ จ.นราธิวาส
- ↑ ตั้งกรมทหารพรานดับไฟใต้ - โพสต์ทูเดย์ สังคมทั่วไป
- ↑ 'สภากลาโหม' ไฟเขียว ตั้งกรมทหารพรานนาวิกโยธินดูแลพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน
- ↑ "ภาพชุด กว่าจะได้เป็น…"ทหารพราน" » SpringNews". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-03. สืบค้นเมื่อ 2019-02-26.
- ↑ "กอ.รมน.อัดงบ 1,700 ล. ตั้งกรมทหารพรานนาวิกโยธิน - MThai". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-11. สืบค้นเมื่อ 2019-02-26.
- ↑ 21.0 21.1 รัฐทุ่มพันล้านตั้งกรมทหารพราน ส่ง'ปืนยาว'ให้อส.หวังดับไฟใต้ - กรุงเทพธุรกิจ
- ↑ “ทหารพรานนาวิกโยธิน” ทัพเรือ ยกพลขึ้นบกครั้งแรกในประวัติศาสตร์
- ↑ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ลงแขกดำนาช่วยชาวนาที่ขาดแคลนแรงงาน และลดต้นทุนการผลิตให้กับชาวนา[ลิงก์เสีย]
- ↑ "หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ จัดกิจกรรมส่งเสริมศึกษาเยาวชน (รุ่นที่ 6)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-11. สืบค้นเมื่อ 2019-02-26.
- ↑ ทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ห่วงใยผู้พิการ - กรมแพทย์ทหารเรือ[ลิงก์เสีย]
- ↑ โจรใต้วางระเบิดทหารพรานนาวิกที่บาเจาะ หวังสังหารชุดลาดตระเวน อาคารตลาดนัดพัง! โชคดีไร้เจ็บตาย[ลิงก์เสีย]
- ↑ 27.0 27.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อinnnews
- ↑ โจรใต้วางบึ้มทหารพรานเจาะไอร้องเจ็บ 6 - โพสต์ทูเดย์ ข่าวภูมิภาค
- ↑ ดักบึมรถเกราะทหารพราน ขณะวิ่งลาดตระเวน สายยะลา–เบตง - ไทยรัฐ
- ↑ ระทึกโจรใต้ ลอบวางระเบิด ทหารพรานเจ็บ 3 นาย แน่นหน้าอก หูอื้อ - ไทยรัฐ
- ↑ คปต. เห็นชอบจัดหาปืนเอชเค 2,700 กระบอกแจก อส.ชายแดนใต้ - ประชาไท