ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ | |
---|---|
ถนนนราธิวาสฯ บริเวณแยกถนนสาทร-นราธิวาส | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว | 4.300 กิโลเมตร (2.672 ไมล์) |
ทางแยกที่สำคัญ | |
จาก | ถนนสุรวงศ์ ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร |
ถึง | ถนนพระรามที่ 3 ในเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร |
ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (อักษรโรมัน: Thanon Naradhiwas Rajanagarindra) เป็นเส้นทางการคมนาคมในท้องที่เขตบางรัก เขตสาทร และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ลักษณะเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 8 ช่องจราจร ความกว้าง 60 เมตร ระยะทาง 5.115 กิโลเมตร เริ่มจากถนนสุรวงศ์ในพื้นที่แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้พร้อมกับเลียบคลองช่องนนทรี ตัดกับถนนสีลมเข้าพื้นที่แขวงสีลม ตัดกับถนนสาทรเข้าพื้นที่เขตสาทร โดยฝั่งซอยเลขคี่เป็นท้องที่ของแขวงทุ่งมหาเมฆ ส่วนฝั่งซอยเลขคู่เป็นท้องที่แขวงยานนาวา จนถึงปากซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 8 (อาคารสงเคราะห์ 6) จึงเข้าท้องที่แขวงทุ่งวัดดอน ตัดกับถนนจันทน์ เฉพาะฝั่งซอยเลขคู่เข้าสู่ท้องที่แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา ส่วนฝั่งซอยเลขคี่ยังอยู่ในท้องที่แขวงทุ่งมหาเมฆจนกระทั่งตัดกับถนนจันทน์เก่า จากนั้นตัดกับถนนรัชดาภิเษก และไปบรรจบกับถนนพระรามที่ 3 ที่แยกพระรามที่ 3-นราธิวาส (ช่องนนทรี)
ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ตัดขึ้นตามโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำและถนนเลียบคลองช่องนนทรี ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานครฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2535-2539) เมื่อสร้างแล้วเสร็จถนนสายนี้ยังไม่มีชื่อทางการ ดังนั้น เพื่อความสะดวกแก่ประชาชนที่สัญจรไปมา เพื่อความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ตลอดจนหน่วยงานราชการต่าง ๆ และเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[1] กรุงเทพมหานครจึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระนามของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ มาเป็นนามถนนอย่างเป็นทางการว่า ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตเมื่อปี พ.ศ. 2539[2]
ทางแยกที่สำคัญ
[แก้]จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (สุรวงศ์ – พระรามที่ 3) | |||||
กรุงเทพมหานคร | 0+000 | แยกสุรวงศ์-นราธิวาส | ถนนสุรวงศ์ ไปถนนสี่พระยา, ถนนมหาเศรษฐ์, ถนนเจริญกรุง | ถนนสุรวงศ์ ไปถนนพระรามที่4 | |
0+272 | แยกนรารมย์ | ถนนสีลม ไปถนนเจริญกรุง | ถนนสีลม ไปถนนพระรามที่4 | ||
0+814 | แยกนรินทร | ถนนสาทรใต้ ไปสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, ถนนเจริญกรุง | ถนนสาทรเหนือ ไปถนนพระรามที่4 | ||
2+060 | แยกจุดกลับรถหน้าเทคนิคกรุงเทพ | ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ไปถนนพระรามที่ 3 | ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ไปถนนสุรวงศ์ | ||
2+640 | แยกจันทน์-นราธิวาส | ถนนจันทน์ ไปถนนเจริญกรุง | ถนนจันทน์ ไปถนนนางลิ้นจี่ | ||
2+980 | − | ไม่มี | ถนนจันทน์เก่า ไปถนนนางลิ้นจี่ | ||
3+480 | แยกรัชดา-นราธิวาส | ถนนรัชดาภิเษก ไปถนนพระรามที่ 3 | ถนนราชดำริ ไปถนนรัชดาภิเษก, ถนนพระรามที่ 3 | ||
4+300 | แยกนราราม 3 | ถนนพระรามที่ 3 ไปสะพานกรุงเทพ, สะพานพระราม 3 | ถนนพระรามที่ 3 ไปถนนรัชดาภิเษก | ||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
สถานที่สำคัญ
[แก้]- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
- สยามแม็คโคร สาทร
- ตึกมหานคร
- สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสช่องนนทรี
- สถานีรถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที สายสาทร–ราชพฤกษ์
- วัดโพธิ์แมนคุณาราม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เก็บถาวร 2009-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- ↑ กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 142.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์