ข้ามไปเนื้อหา

ถั่วดาวอินคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถั่วดาวอินคา
ฝักถั่วดาวอินคาในเอกวาดอร์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Euphorbiaceae
วงศ์ย่อย: Acalyphoideae
เผ่า: Plukenetieae
เผ่าย่อย: Plukenetiinae
สกุล: Plukenetia
สปีชีส์: P.  volubilis
ชื่อทวินาม
Plukenetia volubilis
L.
ชื่อพ้อง[1]
  • Fragariopsis paxii Pittier
  • Plukenetia macrostyla Ule
  • Plukenetia peruviana Müll.Arg.
  • Sajorium volubile (L.) Baill.

ถั่วดาวอินคา, ถั่วอินคา หรือ ซาจาอินจี (เกชัว: sach'a inchi; แปลว่า ถั่วป่า) เป็นพืชหลายปีชนิดหนึ่งในวงศ์ยางพารา (ไม่ใช่วงศ์ถั่ว) ลำต้นมีความสูงได้ถึงประมาณ 2 เมตร ใบเป็นรูปหัวใจ มีขนเล็ก ๆ บนใบ ฝักเป็นรูปดาวมี 4–7 แฉก สีเขียว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ถั่วดาวอินคามีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ (โบลิเวีย เปรู เอกวาดอร์ โคลอมเบีย เวเนซุเอลา ซูรินาม และภาคตะวันตกเฉียงเหนือของบราซิล) รวมทั้งในพื้นที่บางส่วนของหมู่เกาะวินด์เวิร์ดในภูมิภาคแคริบเบียน[2] ชนพื้นเมืองในป่าดิบชื้นแอมะซอนในเปรูรู้จักการเพาะปลูกพืชชนิดนี้มาช้านาน ปัจจุบันมีการเพาะปลูกเชิงพาณิชย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไทย

เมล็ดถั่วดาวอินคามีปริมาณโปรตีนและน้ำมันสูง (ร้อยละ 27 และร้อยละ 35–60 ตามลำดับ) น้ำมันจากเมล็ดอุดมไปด้วยกรดไขมันจำเป็นอย่างกรดลิโนเลนิกในกลุ่มโอเมกา 3 (ร้อยละ 45–53 ของปริมาณไขมันทั้งหมด) และกรดลิโนเลอิกในกลุ่มโอเมกา-6 (ร้อยละ 34–39 ของปริมาณไขมันทั้งหมด) และกรดไขมันไม่จำเป็นในกลุ่มโอเมกา-9 (ร้อยละ 6–10 ของปริมาณไขมันทั้งหมด)[3][4] แม้ว่าเมล็ดสดและใบสดของถั่วดาวอินคาจะมีสารชีวพิษ แต่เมื่อผ่านกระบวนการให้ความร้อนก็จะปลอดภัยสำหรับการบริโภค[5] โดยเมล็ดที่คั่วแล้วอาจนำมาบริโภคเป็นของขบเคี้ยวอย่างถั่วทั่วไป ส่วนใบที่คั่วแล้วอาจนำมาเคี้ยวหรือชงเป็นเครื่องดื่ม[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Plant List: A Working List of All Plant Species, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-08, สืบค้นเมื่อ 22 April 2017
  2. Kew World Checklist of Selected Plant Families[ลิงก์เสีย]
  3. Guillén, María D.; Ainhoa Ruiz; Nerea Cabo; Rosana Chirinos; Gloria Pascual (August 2003). "Characterization of sacha inchi (Plukenetia volubilis L.) oil by FTIR spectroscopy and 1H NMR. Comparison with linseed oil". Journal of the American Oil Chemists' Society. 80 (8): 755–762. doi:10.1007/s11746-003-0768-z.
  4. Dawn Berkelaar; Tim Motis (30 October 2015). "Inca nut (Plukenetia volubilis)". ECHO Community. สืบค้นเมื่อ 30 August 2018.
  5. 5.0 5.1 Srichamnong, W; Ting, P; Pitchakarn, P; Nuchuchua, O; Temviriyanukul, P (2018). "Safety assessment of Plukenetia volubilis (Inca peanut) seeds, leaves, and their products". Food Science & Nutrition. 6 (4): 962–969. doi:10.1002/fsn3.633. PMC 6021735. PMID 29983959.