ข้ามไปเนื้อหา

ต่างคนต่างจ่าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ต่างคนต่างจ่าย (อังกฤษ: Going Dutch หรือ Dutch treat หรือ Dutch date) เป็นสำนวนสแลงที่หมายความว่าทุกคนที่มีส่วนร่วมต้องจ่ายค่าใช้จ่ายของตนเอง แทนที่จะให้ผู้ใดผู้หนึ่งจ่ายสำหรับผู้อื่น

มารยาท

[แก้]

ต่างคนต่างจ่ายเป็นมารยาททางสังคม (etiquette) ที่ละเอียดอ่อน ในบางสถานะการณ์ก็เป็นที่ยอมรับเช่นในกรณีของผู้ที่รู้จักกันเพียงผิวเผิน หรือ ผู้ที่มีฐานะไม่ไคร่ดีนัก แต่อาจจะถือว่าไม่สุภาพในกรณีบางอย่างเช่นการเดท หรือ การเลี้ยงอาหารที่เกี่ยวกับธุรกิจ

ตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันในสมัยโบราณฝ่ายชายมักจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ซึ่งก็ยังคงนิยมปฏิบัติกันในทุกวันนี้[1] แต่ก็ไม่แน่นอนเสมอไป

ที่มาของคำ

[แก้]

วลี "going Dutch" อาจจะมาจากมารยาททางสังคมของดัตช์ ในเนเธอร์แลนด์การต่างคนต่างจ่ายเป็นเรื่องที่ทำกันอย่างปกติ แต่ถ้าระหว่างหญิงและชายแล้วฝ่ายชายส่วนใหญ่ก็ยังเป็นผู้จ่าย อังกฤษผู้เป็นปรปักษ์กับเนเธอร์แลนด์โดยเฉพาะระหว่างสมัยสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์เริ่มเผยแพร่วลีหลายวลีที่มีคำว่า "Dutch" อยู่ในวลีที่สร้างการเหมารวมในทางอคติต่อชาวดัตช์ ตัวอย่างเช่น กล้าแบบดัตช์ (Dutch courage) หมายถึงความกล้าที่มาจากการดื่มสุรา หรือ เมียดัตช์ (Dutch wife) ซึ่งมีหลายความหมายเช่นโสเภณี หรือ กระเป๋าน้ำร้อน

ต่างคนต่างจ่ายในภาษาต่างๆ

[แก้]
  • ไทย - "ต่างคนต่างจ่าย"
  • อิตาลี - "pagare alla romana" (จ่ายเหมือนชาวโรม)
  • ตุรกี - "hesabı Alman usulü ödemek" (จ่ายแบบเยอรมัน)
  • บางประเทศในอเมริกาใต้ - "pagar a la americana" (จ่ายแบบอเมริกัน)
  • อียิปต์ - "Englizy" (แบบอังกฤษ)
  • อาร์เจนตินา - "a la romana" (จ่ายเหมือนชาวโรม)
  • กัวเตมาลา - "a la ley de Cristo... cada quien con su pisto"
  • เอลซัลวาดอร์ - "Ley de Esparta... Cada quien paga lo que se harta" (กฎสปาร์ตัน ต่างคนต่างจ่ายของที่ตนกิน)
  • อินเดีย - "Tera Tu Mera Main in" (ภาษาฮินดู) หรือ "Tujhe Tu Majhe Mi" (ภาษาฮินดู) (คุณจ่ายส่วนของคุณ ผมจ่ายส่วนของผม) ถ้าใช้คำว่า "going Dutch" ก็จะแปลว่าแบ่งใบเสร็จเป็นจำนวนเท่าๆ กัน
  • ปากีสถาน - "Apna Apna" (ตัวใครตัวมัน)
  • ฟิลิปปินส์ - "KKB" หรือ "Kanya-Kanyang Bayad" (จ่ายให้ตัวเอง)
  • จีน - "AA制 (AA zhì)" คำอธิบายต่างกันไป

อ้างอิง

[แก้]