ตำบลหมกแถว
ตำบลหมกแถว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Mok Thaeo |
![]() ต้นมะหมกหรือกระบก ในพื้นที่หมู่ 1 บ้านหมกแถว | |
พิกัด: 15°20′49.7″N 99°59′13.7″E / 15.347139°N 99.987139°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุทัยธานี |
อำเภอ | หนองขาหย่าง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 9.83 ตร.กม. (3.80 ตร.ไมล์) |
ประชากร (เดือนมีนาคม 2567)[1] | |
• ทั้งหมด | 820 คน |
• ความหนาแน่น | 83.42 คน/ตร.กม. (216.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 61130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 610507 |
![]() |
หมกแถว เป็นตำบลในอำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี ปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรมากที่สุดของอำเภอ เนื่องจากรองรับประชากรและมีการขยายตัวของชุมชนเมืองที่รองรับความเจริญเติบโตของเทศบาลเมืองอุทัยธานี
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลหมกแถว มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลท่าโพ (อำเภอหนองขาหย่าง)
- ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลน้ำซึม (อำเภอเมืองอุทัยธานี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหลุมเข้า (อำเภอหนองขาหย่าง)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหนองขาหย่าง (อำเภอหนองขาหย่าง)
ประวัติ
[แก้]หมกแถวเป็นตำบลในอำเภอหนองพลวง จังหวัดอุทัยธานี ตั้งเป็นตำบลตั้งแต่ พ.ศ. 2443[2] ต่อมาปี พ.ศ. 2485 เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กระทรวงมหาดไทยจึงยุบตำบลหมกแถวเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ โดยโอน 3 หมู่บ้านของตำบลหมกแถวไปขึ้นกับตำบลท่าโพ จนกระทั่งตำบลหมกแถวได้รับการยกฐานะเป็นตำบลขึ้นอีกครั้ง โดยแยกหมู่ 5 บ้านหมกแถว, หมู่ 6 บ้านหนองเขาขัน และหมู่ 7 บ้านทุ่งใหญ่ ตั้งเป็นตำบล[3]
ชื่อของ "หมกแถว" มาจากประชาชนอพยพมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินบริเวณบ้านหมกแถว หมู่ที่ 1 ซึ่งบริเวณดังกล่าวจะมีต้นมะหมกหรือกระบกขึ้นมากมาย ประชาชนได้โค่นต้นมะหมกนำมาปลูกบ้านเรือนกันมาก อยู่เรียงรายเป็นแถวดูเป็นระเบียบ จึงเรียกชื่อตำบลว่าตำบลหมกแถวตามชื่อต้นมะหมกจนถึงปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]พื้นที่ตำบลหมกแถวประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 3 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 820 คน แบ่งเป็นชาย 393 คน หญิง 427 คน (เดือนมีนาคม 2567)[4] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดอันดับ 8 จาก 9 ตำบลในอำเภอหนองขาหย่าง
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2566 | พ.ศ. 2565 | พ.ศ. 2564[4] | พ.ศ. 2563 [5] | พ.ศ. 2562[6] | พ.ศ. 2561[7] | พ.ศ. 2560[8] | พ.ศ. 2559[9] | พ.ศ. 2558[10] |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
หมกแถว | 390 | 381 | 365 | 341 | 332 | 326 | 321 | 314 | 301 |
หนองเขาขัน | 220 | 224 | 218 | 218 | 220 | 211 | 208 | 212 | 218 |
ทุ่งใหญ่ | 199 | 194 | 191 | 197 | 196 | 189 | 195 | 192 | 192 |
รวม | 809 | 799 | 774 | 756 | 748 | 726 | 724 | 718 | 711 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ปัจจุบันตำบลหมกแถวทั้งตำบลอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพ เดิมอยู่ในเขตสภาตำบลหมกแถว ในปี พ.ศ. 2517[11] ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เขตสภาตำบลหมกแถวมีพื้นที่ 3 หมู่บ้านและประชากรเพียง 595 คน[12] จึงไม่ผ่านเงื่อนไขในการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล กระทรวงมหาดไทยจึงดำเนินการประกาศยุบรวมสภาตำบลหมกแถวที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพ[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นตำบลหมกแถว อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 576–583. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2490
- ↑ 4.0 4.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (เขตตำบลหมกแถว อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 75 ง): 7–10. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547