ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลจำปาโมง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลจำปาโมง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Champa Mong
คำขวัญ: 
ลำห้วยโมงไหลผ่าน ม่านฟ้าภูผาแดง แสงธรรมงามส่องหล้า หลวงปู่ฟ้าน่าเลื่อมใส บุญบั้งไฟประจำปี ประเพณีบุญกฐิน ถิ่นข้าวพันธุ์ดี ลีลาวดีศรีจำปาโมง
ประเทศไทย
จังหวัดอุดรธานี
อำเภอบ้านผือ
พื้นที่
 • ทั้งหมด75.00 ตร.กม. (28.96 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)[1]
 • ทั้งหมด10,352 คน
 • ความหนาแน่น138.02 คน/ตร.กม. (357.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 41160
รหัสภูมิศาสตร์411707
เว็บไซต์jumpamong.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตำบลจำปาโมง เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ทั้งพื้นที่ของตำบลบริหารโดยองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง

พื้นที่และอาณาเขต

[แก้]

ตำบลจำปาโมงมีเนื้อที่ประมาณ 75 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 46,875 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียงดังนี้

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2539 ปรับขนาดองค์การบริหารส่วนตำบล จากขาดเล็กเป็นขนาดกลางในการประชุมของคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดอุดรธานี ครั้งที่ 8/2551 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2551 อยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ห่างจากอำเภอบ้านผือไปทางทิศตะวันตก ไปตามเส้นทางบ้านผือ-นาคำไฮ ประมาณ 3 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ทิศเหนือติดต่อกับตำบลบ้านผือ ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือจังหวัดอุดรธานี เหตุที่ตำบลจำปาโมง ได้ชื่อดั้งนี้เพราะ พื้นที่บ้านหมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 3 ในอดีตนั้นเป็นดงไม้ลั่นขามซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ดงจำปา”ประกอบกับมีลำห้วย ไหลผ่านกลางหมู่บ้าน เรียกลำห้วยนี้ว่า ลำห้วยโมง จึงได้ประกอบเป็นตำบลรวมเรียกว่า “ตำบลจำปาโมง” โดยให้บ้านจำปาโมงเป็นบ้านเริ่มแรก หมู่ที่ 1 ปัจจุบันมีทั้งหมด 17 หมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมงเดิมเป็นสภาตำบลตำบลจำปาโมง และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2539 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2539 และได้ปรับขนาดองค์การบริหารส่วนตำบล จากขนาดเล็กเป็นขนาดกลางในการประชุมของคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดอุดรธานี ครั้งที่ 8/2551 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 194 หมู่ที่ 7 ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยมีผู้บริหารตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันดังนี้

ปี พ.ศ 2539-2540 นายจันทร์ดวง คำดวง กำนันตำบลจำปาโมงเป็นประธานสภาตำบลจำปาโมงโดยตำแหน่ง

ปี พ.ศ 2541-2542 นายสมิง รัตนประเสริฐ ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง มาจากการเลือกของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง

ปี พ.ศ. 2543-2547 นายกิตติคุณ คนบุญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง (เปลี่ยนชื่อตำแหน่งตาม พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6 พ.ศ 2552 )

ปี พ.ศ. 2548 นายสำเนียง วันอุดม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง

ปี พ.ศ 2549-2553 นายกิตติคุณ คนบุญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง

ปี พ.ศ. 2553-2556 นายสำเนียง วันอุดม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง

ปี พ.ศ. 2556-ปัจจุบัน นายกิตติคุณ คนบุญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง

หมู่บ้าน

[แก้]
  1. หมู่ที่ 1 บ้านจำปาโมง
  2. หมู่ที่ 2 บ้านนาอ่าง
  3. หมู่ที่ 3 บ้านจำปาดง
  4. หมู่ที่ 4 บ้านเหล่าคราม
  5. หมู่ที่ 5 บ้านวังสวย
  6. หมู่ที่ 6 บ้านกลางน้อย
  7. หมู่ที่ 7 บ้านโนนสว่าง
  8. หมู่ที่ 8 บ้านแดง
  9. หมู่ที่ 9 บ้านขัวล้อ
  10. หมู่ที่ 10 บ้านลาน
  11. หมู่ที่ 11 บ้านม่วง
  12. หมู่ที่ 12 บ้านเหล่ามะแงว
  13. หมู่ที่ 13 บ้านนาเจริญ
  14. หมู่ที่ 14 บ้านโนนสว่าง
  15. หมู่ที่ 15 บ้านม่วง
  16. หมู่ที่ 16 บ้านลาน
  17. หมู่ที่ 17 บ้านเหล่าคราม

สถาบันการศึกษา

[แก้]
  • โรงเรียนประถมศึกษา 9 แห่ง
    • โรงเรียนบ้านกลางน้อยเหล่ามะแงว (ยุบรวมกับโรงเรียนใกล้เคียง)
    • โรงเรียนบ้านวังสวย (ยุบรวมกับโรงเรียนใกล้เคียง)
    • โรงเรียนบ้านโนนสว่าง
    • โรงเรียนบ้านจำปาโมง (ยุบรวมกับโรงเรียนใกล้เคียง)
    • โรงเรียนบ้านขัวล้อ
    • โรงเรียนบ้านม่วง
    • โรงเรียนบ้านนาอ่าง
    • โรงเรียนบ้านลาน
    • โรงเรียนบ้านแดง
  • โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง
    • โรงเรียนจำปาโมงวิทยาคาร

ศาสนา

[แก้]

ตำบลจำปาโมงมีวัด/สำนักสงฆ์ 23 แห่ง และศาลเจ้า 17 แห่ง

สาธารณสุข

[แก้]

ตำบลจำปาโมงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 2 แห่ง

อาชีพ

[แก้]

อาชีพส่วนใหญ่ของประชาชนในตำบลจำปาโมง อาชีพหลักคือ อาชีพการเกษตร มีทำนา ทำไร่ (ข้าวโพด ถั่วเหลือง ฯลฯ) สวนยางพารา ฟาร์มปศุสัตว์ อาชีพรองคือ รับจ้าง ค้าขายและรับราชการ ซึ่งแยกดังนี้

สถานที่สำคัญ

[แก้]

สถานที่สำคัญของตำบล

  • วนอุทยานภูผาแดง – หมู่ที่ 2
  • วัดถ้ำหีบ (ธรรมภิรตเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ) – หมู่ที่ 2
  • วัดโคธาราม (หลวงปู่ฟ้าลั่น) – หมู่ที่ 7
  • วัดนิลถาราม (สถานที่ปฏิบัติธรรม ปริวาสกรร) – หมู่ที่ 4, 17
  • อ่างเก็บน้ำบุ่งเขียง – หมู่ที่ 9
  • อ่างเก็บน้ำเหล่าจ่า – หมู่ที่ 17

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ระบบสถิติทางการทะเบียน: รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2562". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-14. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]