ตำนานมูลศาสนา
ผู้ประพันธ์ | พระพุทธกามและพระพุทธญาณ |
---|---|
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | มูลสาสนาวังสะ (มูลศาสนาวงศ์) |
ผู้แปล |
|
ประเทศ | อาณาจักรล้านนา |
ภาษา | ล้านนา |
ประเภท | บันทึกเหตุการณ์ |
ชนิดสื่อ | ใบลาน |
ตำนานมูลศาสนา หรือ มูลสาสนาวังสะ (มูลศาสนาวงศ์) เป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาล้านนา แต่งโดยพระพุทธกามและพระพุทธญาณ ระหว่างปี พ.ศ. 1999–2053 ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1985–2080) ถึงพญาแก้ว (พ.ศ. 2038–2068) สถานที่รจนาคือวัดสวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่)
เนื้อหาประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกเกี่ยวกับพุทธประวัติ ส่วนที่สองเกี่ยวกับศาสนาพุทธในล้านนา มีจุดประสงค์การแต่งเพื่อเชื่อมวงศ์กษัตริย์ล้านนาเข้ากับวงศ์พระพุทธเจ้า เพื่อสรรเสริญพระเจ้าติโลกราชทั้งทางโลกและทางธรรม แต่งในรูปแบบร้อยแก้ว เขียนด้วยภาษาไทยถิ่นเหนือ ใช้อักษรธรรมล้านนา จารบนใบลาน มีความยาว 10 ผูก มักขึ้นต้นเนื้อหาด้วยคำเช่นเดียวกับนิทาน มีการแทรก ทัศนะของนักปราชญ์ร่วมสมัย ยกธรรมะ นิทานพื้นบ้าน ชาดก สรุปเหตุการณ์ในภาพรวมก่อนอธิบายรายละเอียด และสรุปเหตุการณ์ไว้ท้ายเรื่อง ตัวอย่างเนื้อหา เช่น การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในเมืองเชียงใหม่ และการผูกสีมาของวัดสวนดอก จำนวน 6 ครั้ง[1]
ต้นฉบับในใบลาน ใช้ชื่อว่า มูลสาสนาวังสะ (มูลศาสนาวงศ์) และมาใช้ชื่อ ตำนานมูลศาสนา เมื่อกรมศิลปากรปริวรรต ฉบับภาษาไทยกลาง พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2480 โดยกรมศิลปากรมอบหมายให้ นายสุด ศรีสมวงศ์ และนายพรหม ขมาลา มหาเปรียญสองคนที่เป็นพนักงานในกองวรรณคดี หอสมุดแห่งชาติ เป็นผู้แปล[2]
ฉบับ
[แก้]ใบลาน
[แก้]ใบลานจารด้วยอักษรธรรมล้านนา ซึ่งเก็บรักษาในรูปแบบไมโครฟิล์มที่สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่ามีด้วยกัน 10 ฉบับ ดังนี้[3]
- ฉบับวัดพวกหงส์ จังหวัดเชียงใหม่ จาร พ.ศ. 2356 (รหัสไมโครฟิล์ม 87.019.01h.028-018)
- ฉบับวัดศาลาหม้อ จังหวัดลำปาง จาร พ.ศ. 2368 (รหัสไมโครฟิล์ม 81.064.01k.070-055)
- ฉบับวัดต๋อมดง จังหวัดพะเยา จาร พ.ศ. 2393 (รหัสไมโครฟิล์ม 80.044.01k.130-115)
- ฉบับวัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ จาร พ.ศ. 2417 (รหัสไมโครฟิล์ม 78.010.01k.024-013)
- ฉบับวัดผาแดงหลวง จังหวัดลำปาง จาร พ.ศ. 2462 (รหัสไมโครฟิล์ม 80.092.01k.028-025)
- ฉบับวัดบวกครกหลวง จังหวัดเชียงใหม่ จาร พ.ศ. 2462 (รหัสไมโครฟิล์ม 78.010.01k.083-046)
- ฉบับวัดนันทาราม จังหวัดเชียงใหม่ จาร พ.ศ. 2470 (รหัสไมโครฟิล์ม 78.010.01k.036-025)
- ฉบับวัดเหล่ายาว จังหวัดลำพูน จาร พ.ศ. 2471 (รหัสไมโครฟิล์ม 80.044.01l.114-095)
- ฉบับวัดศรีเตี้ย จังหวัดเชียงใหม่ จาร พ.ศ. 2517 (รหัสไมโครฟิล์ม 80.044.01l.094-075)
- ฉบับเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ระบุปีที่จาร (รหัสไมโครฟิล์ม 88.162.01k.033-022)
ตีพิมพ์
[แก้]- มูลศาสนา (ฉบับวัดสวนดอก) ปริวรรตโดย สุด ศรีสมวงศ์ และพรหม ขมาลา (เปรียญ) (2492) จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร
- มูลศาสนา วัดป่าแดง ปริวรรตโดย สมหมาย เปรมจิตต์ (2519) จัดพิมพ์โดยภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มูลศาสนา เชียงใหม่ เชียงตุง ปริวรรตโดย ประเสริฐ ณ นคร และปวงคำ ตุ้ยเขียว (2537) จัดพิมพ์โดยสมาคมประวัติศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
- มูลศาสนา ญาณคัมภีร์ และตำนานพระมหาญาณคัมภีร์ ปริวรรตโดยบำเพ็ญ ระวิน (2538ข) จัดพิมพ์โดย สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ตำนานวัดป่าแดง ปริวรรตโดยบำเพ็ญ ระวิน (2538ค) จัดพิมพ์โดยสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มูลศาสนา สำนวนล้านนา ปริวรรตโดย บำเพ็ญ ระวิน (2538ก) จัดพิมพ์โดยภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วิเคราะห์ตำนานมูลศาสนาฉบับวัดสวนดอก". วารสารวิจิตรศิลป์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เพ็ญสุภา สุขคตะ (8 กุมภาพันธ์ 2561). ""ล้านนาศึกษา" ใน "ไทศึกษา" ครั้งที่ 13 (17) มูลสาสนาสำนวนล้านนา : จดหมายเหตุการพระศาสนาฝ่ายบุปผวาสีแห่งโยนกโลก (1)". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี, ธณิกานต์ วรธรรมานนท์. "วิเคราะห์ตำนานมูลศาสนาฉบับวัดสวนดอก".