ตฤศลา
ตฤศลา | |
---|---|
คู่สมรส | สิทธารถะแห่งกุนทครามะ |
บุตร | พระมหาวีระ นันทิวรรธนะ สุทรรศนะ |
บิดามารดา | เชฏกะ (บิดา) |
ตฤศลา หรือ ปริยการิณี เป็นพระมารดาของพระมหาวีระ ตีรถังกรลำดับที่ 24 และสุดท้ายของศาสนาเชน เป็นพระมเหสีของสิทธารถะแห่งกุนทครามะ (ปัจจุบันอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย)[1][2] เรื่องราวของพระองค์ปรากฏอยู่ในเอกสารเชน
พระประวัติ
[แก้]ตฤศลาประสูติในวรรณะกษัตริย์ ใน อุตตรปุราณะ และ ศลากาปุรุษะ กล่าวถึงกษัตริย์เชฏกะแห่งเวสาลี มีพระราชโอรสสิบพระองค์ และพระราชธิดาเจ็ดพระองค์ พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ชื่อปริยการิณี (คือตฤศลา) เสกสมรสกับสิทธารถะ[3] แต่แฮร์มัน จาโกบี นักภารตวิทยาชาวเยอรมัน ระบุว่าตฤศลาน่าจะเป็นพระขนิษฐาของเชฏกะมากกว่า[2] ทั้งนี้ภรรยาคนที่สามของเชฏกะชื่อเกษมะ เป็นธิดาของผู้นำตระกูลมัทระแห่งปัญจาบ[4] พระขนิษฐาของตฤศลาส่วนใหญ่ไปเป็นมเหสีกษัตริย์หัวเมืองใหญ่ต่าง ๆ มีพระองค์หนึ่งเป็นมเหสีพระเจ้าพิมพิสาร และมีพระขนิษฐาคนหนึ่งออกบำเพ็ญพรตตามคติเชน
ทั้งตฤศลาและสิทธารถะนับถือพระปารศวนาถ ตีรถังกรลำดับที่ 23 เอกสารเชนระบุว่าตฤศลาทรงครรภ์ได้เก้าเดือนกับอีกเจ็ดวันครึ่งจึงประสูติกาลพระโอรสตรงกับคริสต์ศตวรรษที่ 8 ส่วนเอกสารฝ่ายเศวตามพรระบุว่าเทวนันทา มเหสีวรรณะพราหมณ์ทรงครรภ์มาแต่เดิม พระอินทร์จึงใช้อำนาจวิเศษย้ายพระกุมารไปสู่พระครรภ์ตฤศลาแทน สาเหตุก็เพราะตีรถังกรทุกพระองค์ล้วนบังเกิดในวรรณะกษัตริย์เท่านั้น[1]
สุบินนิมิตอันเป็นมงคล
[แก้]ก่อนประสูติกาลตฤศลามีสุบินนิมิตถึงสิ่งมงคล เอกสารว่าทิคัมพรระบุว่ามี 16 ประการ ส่วนเอกสารเศวตามพรระบุว่ามีเพียง 14 ประการเท่านั้น เมื่อตฤศลาตื่นบรรทม ก็ได้ทูลสวามีถึงนิมิตมงคล[5] ในวันถัดมาสิทธารถะจึงเรียกให้โหรหลวงเข้าเฝ้าเพื่อทำนายนิมิตของตฤศลา ซึ่งโหรทั้งหลายจึงกราบทูลว่าพระราชโอรสที่จะประสูติจะเป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญ และเปี่ยมด้วยคุณธรรม
โดยสิ่งมงคลที่ปรากฏในสุบินนิมิตของตฤศลามีดังนี้
|
|
เชิงอรรถ
[แก้]- อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "Mahavira, Jaina teacher". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
- ↑ Jain, Dr. Pannalal (2015), Uttarapurāṇa of Āchārya Guṇabhadra, Bhartiya Jnanpith, p. 482, ISBN 978-81-263-1738-7
- ↑ Krishna, Narendra. (1944) History of India, A. Mukherjee & bros. p. 90.
- ↑ Shah 1987, p. 47.
- บรรณานุกรม
- Sunavala, A.J. (1934), Adarsha Sadhu: An Ideal Monk. (First paperback edition, 2014 ed.), Cambridge University Press, ISBN 9781107623866, สืบค้นเมื่อ 1 September 2015
- Shah, Umakant Premanand (1987), Jaina-Rupa Mandana: Jaina Iconography, vol. 1, India: Shakti Malik Abhinav Publications, ISBN 81-7017-208-X