ตรา
ตรา หรือ เครื่องหมาย[a] (อังกฤษ: badge) คืออุปกรณ์หรืออุปกณ์ประกอบ มักจะประกอบด้วยเครื่องหมายขององค์การ ที่แสดงให้เห็นหรือสำหรับบ่งบอกถึงหน้าที่ในการให้บริการ, หน้าที่พิเศษ, สัญลักษณ์ของอำนาจที่ได้รับมอบในการปฏิบัติหน้าที่จากการสาบานตน (เช่น ตำรวจและเจ้าหน้าที่ดับเพลิง) ป้ายแสดงการจ้างงานตามกฎหมาย หรือสถานะของนักเรียน, หรือใช้เป็นวิธีการอย่างง่ายในการระบุตัวตน นอกจากนี้ยังใช้งานในการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ และวัตถุประสงค์ในการสร้างตราสินค้า ตราตำรวจมีการใช้งานครั้งแรกในยุคกลางช่วงที่อัศวินสวมตราอาร์ม (coat of arms) เพื่อแสดงความสวามิภักดิ์และความจงรักภักดีของพวกเขา
ตราอาจจะสร้างมาจากโลหะ, พลาสติก, หนังสัตว์, ผ้า, ยางธรรมชาติ เป็นต้น โดยทั่วไปจะถูกประดับติดไว้กับเสื้อผ้า, กระเป๋า, รองเท้า, ยานพาหนะ, อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น ตราผ้าหรือแผ่นแปะสามารถใช้การทอหรือปักก็ได้ และสามารถติดประดับได้ด้วยกาว, การรีด, การเย็บ หรือการตัดปะผ้า
ตราสามารถกลายเป็นของที่น่าสะสม เช่น ในสหราชอาณาจักร มีการสะสมตราวงกลมมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523[1]
ในกองทัพ ตราจะใช้เพื่อแสดงถึงหน่วยหรืออาวุธของผู้สวมใส่ และคุณสมบัติจากการฝึกทางทหาร ยศ เป็นต้น และในรูปแบบเดียวกันในองค์การเยาวชน เช่น การลูกเสือ สำหรับการระบุสมาชิกหมู่ รางวัล และยศ
ประวัติ
[แก้]ตราได้รับความนิยมพอกันกับเครื่องประดับในสมัยกลาง และมีรูปแบบที่หลากหลาย ตั้งแต่อัญมณีที่มีราคาสูงมาก เช่น อัญมณีหงส์ดันสเตเบิล (Dunstable Swan Jewel) ไปจนถึงตราที่สร้างจากแม่พิมพ์ทั่วไปด้วยวัสดุโลหะทั่วไปหรือตะกั่ว สำหรับรูปแบบเฉพาะของตรา เช่น ตราผู้แสวงบุญ จะถูกสวมใส่โดยผู้ที่ผ่านการเดินทางไปจาริกแสวงบุญมาแล้ว และตราประจำตระกูลหรือมุทราศาสตร์ หรือตราผู้รับใช้ที่สวมใส่เพื่อแสดงถึงการรับใช้หรือความจงรักภักดีต่อบุคคลสำคัญทางการเมือง ซึ่งในข้อท้ายสุดนี้เป็นที่นิยมในอังกฤษ และกลายมาเป็นข้อโต้แย้งหลักที่นำไปสู่สงครามดอกกุหลาบ ในการฉลองราชสมบัติของราชวงค์ในปี พ.ศ. 2026 มีการแจกจ่ายตรากว่า 13,000 ดวง ซึ่งถือว่าเป็นการแจกจำนวนมหาศาลเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรในเวลานั้น สำหรับตราประเภทอื่น ๆ ได้แก่ ตรางานศพ สันนิษฐานว่าจะมอบให้กับผู้ร่วมไว้อาลัยในงานศพของบุคคลสำคัญ และตราจะถูกตกแต่งอย่างเรียบง่ายเป็นรูปสัตว์หรือหัวใจ ตราสัญลักษณ์ที่สำคัญและสูงส่งมักจะทำเป็นจี้ประดับเป็นปกคอเสื้อ มักจะทำมาจากทองคำหรือเงินชุบ
จากตราผู้รับใช้ มีการพัฒนาตราในการระบุการบริการในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับสวมใส่และประดับโดยเจ้าหน้าที่, ทหาร, และข้ารัฐการ ในกองทัพบกสหราชอาณาจักร ตราหน้าหมวกโลหะ (ปัจจุบันมักทำจากพลาสติก) ซึ่งใช้เพื่อแสดงถึงกรมสังกัดของทหารกลายมาเป็นมาตรฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เช่นเดียวกันกับกองทัพบกในยุโรปส่วนใหญ่ (แม้จะไม่มีใช้งานในบางกองทัพเรือ) จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตรากลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแบบที่เป็นเครื่องหมายแสดงเฉพาะรวมไปถึงเครื่องแบบนักเรียน ซึ่งปัจจุบันในสหราชอาณาจักรยังคงมีตราปักอยู่บริเวณกระเป๋าเสื้อของเสื้อแจ็คเก็ตหรือเสื้อเบลเซอร์
การใช้งานต่างๆ
[แก้]ตราที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดตราหนึ่งคือตรานายอำเภอสหรัฐที่มีรูปร่างเหมือนกับดาว และโด่งดังมากในตะวันตก สำหรับตราทางการเมืองที่น่าจะโด่งดังที่สุดคือตราประธานเหมา สมาชิกของกลุ่มภารดรภาพและสมาคมสตรีมักจะใช้เข็มกลัดของกลุ่มโดยเรียกว่าตรา
รายการสำหรับเด็กของบีบีซีชื่อว่าบลูปีเตอร์ (Blue Peter) ยังมอบ "ตราบลูปีเตอร์" ให้กับแฟนรายการที่มาร่วมออกอากาศในรายการ ซึ่งสามารถเก็บสะสมเป็นของสะสมได้เนื่องจากตราดังกล่าวไม่สามารถใช้เงินซื้อจากรายการได้ ยกเว้นจากผู้ที่ได้รับจากการร่วมรายการและนำมาขายต่อ
ตราติดเคสมักจะมีขนาดหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร (0.12 นิ้ว) กว้าง 3 x 3 เซนติเมตร สติกเกอร์ทำมาจากลูไซต์ (lucite) และมักห่อหุ้มด้วยชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เช่น โปรเซสเซอร์และการ์ดจอ เคสคอมพิวเตอร์สมัยใหม่มักจะถูกประดับด้วยการเยื้องแผงบริเวณด้านหน้าของเคสเพื่อความสะดวกในการติดตราเคส
ตรากระดุมเป็นตราทรงกลมที่เหมาะกับการเก็บสะสม โดยตราจะเคลือบพลาสติกทับการดีไซน์หรือรูปภาพ มักจะมีหมุดโลหะอยู่ด้านหลักหรือเป็นรูปแบบหมุดนิรภัย ขนาดที่เป็นที่นิยมที่สุดคือ 25.4-มิลลิเมตร (1.00-นิ้ว) แต่ตรานี้สามารถใช้งานได้ตั้งแต่ขนาดยอดนิยมที่กล่าวไปข้างต้น ไปจนถึง 120-มิลลิเมตร (4.7-นิ้ว) โดยตรารูปแบบนี้มักจะถูกใช้งานในการหาเสียงทางการเมืองและถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของการอวยพรวันเกิด เช่น การ์ดวันเกิด
ในสหรัฐ ตราที่ถูกใช้งานโดยหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย, เจ้าหน้าที่ดับเพลิง และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมักจะทำมาจากโลหะในสีและพื้นผิวรูปแบบต่าง ๆ และจะประดับไว้เหนือกระเป๋าหน้าอกด้านซ้ายของเสื้อเชิ้ตหรือเสื้อแจ็คเก็ตของเครื่องแบบ นักสืบและเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบอื่น ๆ อาจจะประดับไว้บริเวณที่ยึดเข็มขัดหรือคล้องคอ โดยเฉพาะหน่วยตำรวจของกรมตำรวจเทศบาลมีแนวโน้มมีรูปร่างที่หลากหลายกว่ากรมตำรวจของนายอำเภอท้องถิ่นที่มักจะใช้รูปร่างเป็นดาว 5, 6 หรือ 7 แฉก ส่วนใหญ่จะมีตราของหน่วยงานขององค์กร เมือง เคาท์ตี้ หรือกองร้อยอยู่ตรงกลางของตรา
-
ตราตำรวจ เมืองกรีนวิลล์ รัฐนอร์ธแคโรไลนา ที่มอบให้กับนายกเทศมนตรี วิลเลียม เจ. แฮดเดน
-
ตราผู้ช่วยอัยการเขตใน เจเนซีเคาท์ตี รัฐนิวยอร์ก
ในการคอมพิวเตอร์ ตราถูกใช้เพื่อแสดงทักษะ[2] ในการศึกษา ตราดิจิทัลจะถูกใช้เป็นรูปแบบทางเลือกของข้อมูลประจำตัว คล้ายคลึงกับการใช้งานในตราเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมูลนิธิแมคอาเธอร์[3][4]
ในญี่ปุ่น ทนายความมักจะได้รับตราเข็มกลัดติดปกเสื้อที่ใช้เป็นเครื่องหมายประจำตัวในศาลหรือระหว่างการปฏิบัติงานทั่วไป เนื่องจากทนายความจะได้รับมอบอำนาจพิเศษตามกฎหมาย เช่น อำนาจในการบังคับให้หน่วยงานของรัฐให้ข้อมูล ตราเหล่านี้จึงเป็นช่องทางลัดในการระบุตัวตนของทนายความเช่นกัน[5]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ใช้งานในการเรียกตราความสามารถทางการทหารและตำรวจในประเทศไทย
บรรณานุกรม
[แก้]- Attwood, Philip, Badges. London: British Museum Press, 2004.
- Attwood, Philip, Acquisitions of badges (1978-1982). London : British Museum Occasional Paper 55, 1985.
- Attwood, Philip, Acquisition of badges (1983-1987). London: British Museum Occasional Paper 76, 1990.
- Bible, Don. Warrant Discs of the Gestapo & Kripo, 1934-1946. Morristown, Tenn: Published privately by the author, 1991.
- C.G. Braxmar Co., Inc. (New York, N.Y.). Illustrated Catalogue of Fire & Police Dept. Badges. New York: The company, 1921.
- Dinnes, Andrew Ross. Border War Badges: A Guide to South African Military & Police Badges, 1964-1994. 2011.
- Houser, Todd R., Norm Sorenson, and Ronald L. Myers. A History of the City of Long Beach, California Police Badge. [Long Beach, Calif.]: Long Beach Police Historical Society, 2005.
- Mauldin, William. State Police & State Highway Patrol Badge Guide. Meadows of Dan, Va: William Mauldin Productions, 1999.
- Taylor, Michael Bradley, and Victor Legender Wilkinson. Badges of Office: An Illustrated Guide to the Helmets and Badges of the British Police 1829 to 1989. Henley-on-Thames: Hazell, 1989.
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The history of the Badge Collectors Circle". สืบค้นเมื่อ 2011-08-02.
- ↑ Mozilla Open Badges Project
- ↑ "Badges for Lifelong Learning". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-15. สืบค้นเมื่อ 2012-11-20.
- ↑ "About the Badges for Lifelong Learning initiative". สืบค้นเมื่อ 2012-11-20.
- ↑ Jones, Colin P. A. (2015-02-23). "Badges of honor: what Japan's legal lapel pins really mean". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-03.
- Setchfield, Frank (1986). Official Badge Collector's Guide: From the 1890s to the 1980s. London: Longman. ISBN 0-582-89306-2
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Badges
- Badges in the Staten Island Historical Society Online Collections Database
- Badge Collectors' Circle