ข้ามไปเนื้อหา

ดารัตน์ ช่างปลูก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดารัตน์ ช่างปลูก
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ดารัตน์ ช่างปลูก
วันเกิด 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 (36 ปี)
สถานที่เกิด ไทย จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
ส่วนสูง 164 ซม.[1]
ตำแหน่ง กองหลัง
กองกลาง
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
หมายเลข 2
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
ทีมชาติ
ไทย
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ดารัตน์ ช่างปลูก ชื่อเล่น เหมี่ยว เกิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เป็นนักกีฬาฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย[2] ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการทำหน้าที่กองรับ โดยมีความโดดเด่นด้านการแย่งบอล และความฉลาดในการอ่านเกมของคู่ต่อสู้[3]

ประวัติ

[แก้]
ดารัตน์ ช่างปลูก ขณะร่วมกิจกรรมถ่ายภาพ

ดารัตน์ ช่างปลูก เริ่มเล่นกีฬาตั้งแต่เด็ก โดยเริ่มการเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลของโรงเรียน และสามารถทำหน้าที่ได้ดีในกีฬาเกือบทุกชนิด เนื่องด้วยมีพื้นฐานในการเล่นกีฬา และเมื่อครั้งที่เพื่อนของเธอได้ชักชวนให้เล่นกีฬาฟุตบอล เธอก็สามารถสร้างผลงานได้ไม่น้อยกว่ากีฬาอื่น ๆ จนเกิดความชอบและจริงจังต่อกีฬาฟุตบอลนับจากนั้น[3]

เมื่ออายุ 16 ปี เธอได้รับการทาบทามให้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนศึกษานารีพร้อมกับสุนิสา สร้างไธสง และเมื่อดารัตน์เข้ารับการฝึกได้เพียง 1 เดือน ก็สามารถเข้าร่วมทีมเยาวชนทีมชาติไทยรุ่น 17 ปี โดยได้เข้าแข่งขันศึกฟุตบอลเยาวชน 17 ปีชิงแชมป์เอเชีย ที่ประเทศเกาหลีใต้ ของตำแหน่งเซ็นเตอร์ฮาล์ฟในขณะนั้น[3]

พ.ศ. 2553 ดารัตน์ ช่างปลูก เคยเข้าแข่งขันฟุตบอลประเภททีมหญิง สังกัดนครราชสีมา ในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 39 (ชลบุรีเกมส์)[4]

หลังจากนั้น เธอได้ร่วมทำหน้าที่ให้แก่ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยมาโดยตลอด โดยเป็นนักเตะที่มีประสบการณ์ในระดับประเทศ ที่ซึ่งเธอทำหน้าที่แบ็กขวา และเป็นตัวเลือกแรกของการจัดผู้เล่นลงสู่สนาม[3] อาทิ ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555 เธอได้มีส่วนร่วมในการทำหน้าที่แก่ทีมชาติไทย ในการแข่งเอเอฟเอฟ วีเมนส์ แชมเปียนชิพ 2012 ที่จัดขึ้น ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม เมื่อครั้งที่พบกับทีมชาติพม่าในรอบรองชนะเลิศ[5][6] และวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เธอเป็นหนึ่งในนักฟุตบอลทีมชาติไทยในการแข่งขันฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2014 รอบคัดเลือก ที่ซึ่งเป็นฝ่ายชนะทีมชาติฟิลิปปินส์ที่ 1 ประตูต่อ 0 [7] รวมถึงได้ร่วมทำหน้าที่ปีกขวาให้แก่ทีมชาติไทยในการแข่งขันเอเอฟเอฟ วีเมนส์ แชมเปียนชิพ 2013 ที่จัดขึ้น ณ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 9 ถึง 22 กันยายน พ.ศ. 2556 [8][9][10][11] โดยเธอได้รับบาดเจ็บในนัดอุ่นเครื่อง[12] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 9 กันยายน ดารัตน์เกือบช่วยให้ทีมชาติไทยได้จุดโทษเมื่อครั้งที่พบกับทีมชาติเวียดนาม ซึ่งเธอได้ส่งบอลไปยังเสาสอง และผู้รักษาประตูของเวียดนามได้ปัดบอลไปโดนแขนของนักฟุตบอลทีมเดียวกัน แต่ผู้ตัดสินปล่อยให้เดินเกมต่อ โดยนัดดังกล่าวเสมอกันที่ 0 ประตูต่อ 0 [13][14][15] และในวันที่ 17 กันยายน ที่ซึ่งทีมของเธอได้พบกับทีมชาติมาเลเซีย[16]

ดารัตน์ เคยเข้าแข่งขันซีเกมส์ 2005 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ และซีเกมส์ 2007 ที่จังหวัดนครราชสีมา โดยได้รับรางวัลเหรียญทองแดงและเหรียญทองตามลำดับ ส่วนในการแข่งซีเกมส์ 2009 ที่ประเทศลาว เธอไม่ได้เข้าแข่งขันเนื่องด้วยมีอาการบาดเจ็บ และในการแข่งขันซีเกมส์ 2013 ที่ประเทศพม่า จตุพร ประมลบาล ซึ่งเป็นผู้ฝึกสอน ได้ให้เธอทำหน้าที่ในตำแหน่งกองกลางตัวตัดเกม หลังจากที่เธอทำหน้าที่ในตำแหน่งแบ็กขวามาโดยตลอดในช่วงก่อนหน้า[3] ซึ่งเธอผ่านการคัดเลือกเป็นนักเตะตัวจริง และได้ทำการฝึกซ้อมอย่างหนัก 6 วันต่อสัปดาห์[17]

เกียรติประวัติ

[แก้]

ทีมชาติ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ยลโฉม 20 แข้งสาวไทยชุดสู้ศึกซีเกมส์เมียนมาร์ -ข่าวกีฬาซีเกมส์ สยามกีฬา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-01-11.
  2. "ข่าวแบโผ 20 แข้งหญิงสู้เอเอฟเอฟ - Siamrath.co.th". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-08-15.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 "เหมี่ยว ดารัตน์ ช่างปลูก ภารกิจใหม่ ! ตัวตัดเกมทัพช้างศึกสาวไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-02. สืบค้นเมื่อ 2013-11-29.
  4. ดารัตน์ ช่างปลูก - ชลบุรีเกมส์ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 39[ลิงก์เสีย]
  5. ทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยแพ้พม่า-ชวดป้องกันแชมป์อาเซียน : ข่าวสด[ลิงก์เสีย]
  6. "สาวไทยดวลพม่าวันนี้ เน้นรับก่อนโต้กลับเร็ว - ไทยโพสต์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-15. สืบค้นเมื่อ 2013-11-29.
  7. “แข้งสาวไทย” เฉือนปินส์ โอกาสเข้ารอบสุดท้ายใส - Sport - Manager Online[ลิงก์เสีย]
  8. แบโผ 20 แข้งสาวลุยศึกอาเซียน-′มาดามแป้ง′กร้าวนำแชมป์กลับไทย - มติชน[ลิงก์เสีย]
  9. หนังสือพิมพ์บ้านเมือง » กลางโผ 20 เนื้อนิ่ม[ลิงก์เสีย]
  10. "หนังสือพิมพ์บ้านเมือง » สาวไทยประเดิมดวล 'เวียดนาม'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-18. สืบค้นเมื่อ 2013-11-29.
  11. สาวไทยประเดิมดวล'เวียดนาม' บอลเอเอฟเอฟลั่นขอซิวแชมป์
  12. ปัญหาเดิมลามทีมหญิง นักเตะเจ็บ-สนามซ้อม : ข่าวสดออนไลน์[ลิงก์เสีย]
  13. สาวไทยประเดิมเจ๊าญวน 0-0 ศึกชิงแชมป์อาเซียน - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
  14. "Sport Classic:เว็บข่าวกีฬาและสุขภาพ » แข้งสาวไทยประเดิมเจ๊าญวน 0-0". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-12. สืบค้นเมื่อ 2021-09-22.
  15. "แข้งสาวไทยประเดิมเจ๊าเวียดนามศึกอาเซียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-11-29.
  16. โค้ชจุ่นมั่นใจส่งสาวไทยอัดมาเลย์ สู้เต็มที่หวังเข้าตัดเชือก - ฟุตบอล[ลิงก์เสีย]
  17. 20 แข้งเนื้ออ่อนลงตัวพร้อมลุยซีเกมส์ - เดลินิวส์
  18. "ประกาศ ! ผลสอบแข้งสาวไทย ภารกิจเหรียญทองซีเกมส์ 2013". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-17. สืบค้นเมื่อ 2014-01-11.
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๐๘, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]