ข้ามไปเนื้อหา

ฐานรอง (มุทราศาสตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฐานรองโล่ (มุทราศาสตร์))

ฐานรอง (อังกฤษ: Compartment) ในมุทราศาสตร์ “ฐานรอง” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏภายใต้โล่บนตราอาร์มที่เป็นที่อาจจะเป็นหิน, ลานหญ้า หรืออื่นๆ ที่เป็นที่ตั้งหรือรองรับประคองข้าง ซึ่งทำให้ต้องใช้ความพิจารณาในการแยกระหว่าง “ฐานรอง” ที่แท้จริงจากสิ่งที่อยู่บนฐานที่ใช้สำหรับเป็น “ประคองข้าง” หรือในกรณีพิเศษเช่นในตราแผ่นดินของเบลีซที่เหนือโล่ดูเหมือนต้นมาฮอกานีแต่อันที่จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของฐานรองที่งอกออกมาจากฐาน บางครั้งก็กล่าวกันว่าฐานรองคือแผ่นดินของผู้เป็นเจ้าของตรา ฐานรองเป็นองค์ประกอบที่ล่ากว่าองค์ประกอบอื่นๆ ของตราอาร์ม ที่มาจากความจำเป็นในการใช้ประคองข้างที่แสดงความแตกต่างกันของตราของแต่ละครอบครัวหรือของแต่ละบุคคล และบางครั้งก็จะได้รับการนิยามต่างหากจากประคองข้าง

ฐานรองตกแต่งที่ใช้ในการวางมักจะวางใต้เท้า ขา หรืออุ้งเท้าของประคองข้างที่ทำกันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 บางทีก็เรียกว่า “gas bracket” แต่ก็เป็นคำที่ไม่เป็นที่ยอมรับใช้กัน

บางครั้งประคองข้างก็อาจจะยืนบนแถบคำขวัญเช่นในตราแผ่นดินของโมนาโค

ตามปกติแล้วเมื่อตราอาร์มมีประคองข้างก็จะมีฐานรองประกอบแต่ก็ไม่เสมอไป และบางครั้งที่ไม่บ่อยนักฐานรองก็อาจจะเป็น “เพิ่มเกียรติ” (Augmentation of honour) ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของตราได้รับมอบให้เพิ่มในตราอาร์มเพื่อเป็นเกียรติยศ ซึ่งเป็นภาพของหมีและกวางยืนบนภูมิทัศน์ที่เป็นป่า ยอดเขา และรวงข้าวสาลีที่ออกแบบโดยรอน เซบาสเตียน บางครั้งฐานก็อาจเป็นภูมิทัศน์ของสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเช่นฐานรองของเคนยาคือ ภูเขาเคนยา หรือฐานรองของ Arbeláez, Cundinamarca ของโคลัมเบียเป็นลูกโลก[1]) ฐานรองที่แปลกออกไปก็ได้แก่ฐานรองที่เป็นกำแพงของเทศบาลมณฑลคัมเบอร์แลนด์[2] หรือฐานรองที่เป็นสะพานข้ามลำน้ำของสถาบันวิศวกรรมแห่งแคนาดา[3]

ตัวอย่าง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Columbia flags
  2. Civil Heraldry - The arms of the Cumberland County Council
  3. Archieves of Canada - Academy of Engineering coat of arms

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ฐานรอง