ฌัก เอแบร์
ฌัก เอแบร์ | |
---|---|
เลขานุการที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 กันยายน 1792 – 23 มีนาคม 1794 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ฌัก-เรอเน เอแบร์ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1757 อาล็องซง, ฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 24 มีนาคม ค.ศ. 1794 ปารีส, ฝรั่งเศส | (36 ปี)
ศาสนา | อเทวนิยม |
อาชีพ | บรรณาธิการ, นักหนังสือพิมพ์, นักเขียน, นักการเมือง |
ลายมือชื่อ | |
ฌัก-เรอเน เอแบร์ (ฝรั่งเศส: Jacques-René Hébert) เป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ ลาแปร์ดูว์แชน (Le Père Duchesne) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ลัทธิหัวรุนแรงในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส[1] และทำให้เขาเป็นผู้นำของกลุ่มเอแบร์ (Hébertist)
ในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1791 เขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมการชุมนุมที่ช็องเดอมาร์สในกรุงปารีสเพื่อร่วมลงนามเรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ลงจากบัลลังก์ และเกิดการสังหารหมู่ที่นำโดยกองทหารของลาฟาแย็ต หลังวันนั้น หนังสือพิมพ์ ลาแปร์ดูว์แชน ได้เขียนโจมตีลาฟาแย็ต, มีราโบ และบายี อย่างรุนแรง ต่อมาหลังแผนหลบหนีสู่วาแรนของพระเจ้าหลุยส์ล้มเหลว เอแบร์ก็เขียนโจมตีทั้งพระเจ้าหลุยส์และพระสันตะปาปาปิอุสที่ 6
ระหว่าง 31 พฤษภาคม-2 มิถุนายน ค.ศ. 1793 คณะผู้ประท้วงที่นำโดยเอแบร์ ได้เดินทางไปประท้วงด้านนอกของสภา เรียกร้องให้มีการกวาดล้างระบบการเมืองและระบบราชการแบบเดิม และเรียกร้องให้ลดราคาขนมปังลง ด้วยการสนับสนุนจากกองทัพ ก็ได้ส่งทหารเข้าจับกุม 31 ผู้นำของกลุ่มฌีรงแด็งซึ่งรวมถึงฌัก ปีแยร์ บรีโซ ภายหลังการจับกุมครั้งนี้ก็ทำให้สโมสรฌากอแบ็งเข้ามามีอำนาจควบคุมคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมในวันที่ 10 มิถุนายน เป็นจุดเริ่มต้นการปกครองแบบเบ็ดเสร็จ[2] ไม่กี่เดือนต่อมา เอแบร์ได้ต่อต้านแนวคิดเทวัสนิยมของรอแบ็สปีแยร์ เขาได้ทำการเคลื่อนไหวเพื่อขจัดอิทธิพลของคริสตจักรออกไปจากสังคม โดยต่อต้านกิจกรรมของศาสนาคริสต์ทุกรูปแบบ เอแบร์ได้เริ่มเขียนโจมตีรอแบ็สปีแยร์
หลังขัดแย้งกับรอแบ็สปีแยร์รวมถึงสมาชิกฌากอแบ็งหลายคน พวกฌากอแบ็งในรัฐบาลก็ได้สั่งทหารเข้าจับกุมผู้นำกลุ่มเอแบร์ทั้งหมดในคืนวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1794 ทั้งหมดถูกพิพากษาประหารชีวิต การประหารโดยกิโยตีนมีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1794[3] เอแบร์เป็นลมหลายครั้งระหว่างเส้นทางไปยังแท่นประหาร[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Doyle, William (1989); The Oxford History of the French Revolution; Clarendon Press; ISBN 0-19-822781-7. See p.227: "[Hébert] was himself a journalist... producer of the increasingly popular Père Duchesne."
- ↑ Faria, Miguel (15 July 2004). "Bastille Day and the French Revolution, Part I: The Ancien Régime and the Storming of the Bastille". Hacienda Publishing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 24 October 2007.
- ↑ Doyle (1989); p.270. |"The trial took place on 21–4 March, its result a foregone conclusion. Among those who went to the scaffold with Pere Duchesne on the afternoon of the twenty-fourth were Vincent, Ronsin, and the leader of section Marat, Momoro."
- ↑ Page 27 BBC History Magazine, September 2015