ซูมะ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ซูมะ (ญี่ปุ่น: 須磨; โรมาจิ: Suma; ซูมะ) เป็นบทที่ 12 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุระซะกิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท
ที่มาของชื่อบท ซูมะ
[แก้]หาดซูมะ (須磨; Suma) ปัจจุบันตั้งอยู่ในเมืองโกเบ จังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นหาดทรายขาวริมทะเล ด้านหลังเป็นภูเขา ที่เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวบริเวณภูมิภาคคันไซ เป็นที่นิยมในช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะการอาบแดด เป็นชายหาดที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีญี่ปุ่น เช่น ตำนานเก็นจิ ตำนานเฮเกะ ตำนานอิเสะ นอกจากนี้ สุมะ ยังเป็นชื่อสถานที่ ที่นิยมในการเอ่ยอ้างถึง เปรียบเทียบถึง ในโคลงประเภท วะกะ ของญี่ปุ่น[1]
หาดสุมะ เป็นสถานที่ที่ อะริวะระ โนะ ยุกิฮิระ ( ค.ศ.818-893) ถูกเนรเทศ และเป็นตัวอย่างและเหตุผล ให้เก็นจิคิดเนรเทศตัวเองไปสู่หาดสุมะ
บท สุมะ ในตำนานเก็นจินี้ เต็มไปด้วยการเอ่ยอ้างถึงบทกวีแบบจีน โดยเฉพาะบทกวีของ 2 กวีผู้ถูกเนรเทศ กวีจีนสมัยราชวงศ์ถัง ไป๋จวีอี้ และ ขุนนางผู้ปรีชาสามารถของญี่ปุ่นในยุคเฮอัน สุงาวาระ โนะ มิจิซาเนะ (ค.ศ. 846-903)
อะริวะระ โนะ ยุกิฮิระ
[แก้]อะริวะระ โนะ ยุกิฮิระ (在原行平, ariwara (no) yukihira,ค.ศ. 818-893) เป็นขุนนางในราชนัก เฮอันเคียว ผู้ผ่านตำแหน่งหน้าที่มาอย่างหลากหลาย เขาเคยดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองฮะริมะ เมืองบิเซ็น เมืองชินะโนะ และ เมืองบิตชู อีกทั้งยังเคยมีตำแหน่ง จูนะกอน (中納言, chūnagon) เจ้ากรมมหาดไท (มินบุเคียว 民部卿, minbukyō) และตำแหน่งผู้ตรวจการ (อะเซะจิ) ประจำจังหวัดมุสึ และ เดะวะ
นอกจากนี้ อะริวะระ โนะ ยุกิฮิระ ยังเป็นกวี ผลงานของเขาได้รับการเผยแพร่ร่วมกับ น้องชายของเขา อะริวะระ โนะ นะริฮิระ เขาเคยก่อตั้งวัทยาลัยเรียกว่า โชะกะกุอิน เพื่อให้การศึกษากับบุตรหลานสกุล อะริวะระ ด้วย[2]
อะริวะระ โนะ ยุกิฮิระ ขัดแย้งกับตระกูลฟุจิวาระ อันเรืองอำนาจ จนต้องถูกเนรเทศไปที่หาดสุมะ เขาแต่งกวีเรือง การถูกเนรเทศ จนกลายเป็นแบบอย่างของการแต่งกวีเกี่ยวกับการเนรเทศในชั้นต่อมา [3]
สุงาวาระ โนะ มิจิซาเนะ
[แก้]สุงาวาระ โนะ มิจิซาเนะ (菅原道真 Sugawara no Michizane 845 - 26 มีนาคม 903) หรือ รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า คัน โชโจ (菅丞相 Kan Shōjō) เป็นหลานของ สุงาวาระ โนะ คิโยโตะ(770-842) (รู้จักกันในนาม โอะวะริโนะสุเกะ และ ไดกะคูโนะคะมิ ) มิจิซะเนะ เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต นักการเมืองการปกครอง ในยุคเฮอัง อีกทั้งยังเป็นกวีเอกผู้เชี่ยวชาญด้านบทกวีแบบจีนด้วย
มิจิซะเนะ พุ่งสู่จุดรุ่งเรืองที่สุดในชีวิตในรัชสมัยของจักรพรรดิอุดะ แต่ในปี ค.ศ. 901 เขาตกหลุมพรางของศัตรู ฟุจิวะระ โนะ โตะกิฮิระ จนถูกย้ายไปประจำ ณ ชนบทห่างไกล และลดชั้นเป็นเพียงขุนนางชั้นผู้น้อยในแคว้นดะไซฟุ ในคิวชู จังหวัด จิคุเซ็น และเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยว หลังจากการเสียชีวิตของเขา เกิดโรคระบาดใหญ่และทุพภิกขภัย จนพระราชโอรสของจักรพรรดิไดโกะ สวรรคตในเหตุการณ์ครั้งนี้ ตำหนักชิชินเด็ง ท้องพระโรงของพระราชวังเกียวโต โดนฟ้าฝ่าหลายต่อหลายครั้ง เมืองหลวงถูกน้ำท่วมกว่าสัปดาห์ กล่าวกันว่าเป็นเพราะวิญญาณอาฆาตของ สุงาวาระ โนะ มิจิซาเนะ ที่ถูกเนรเทศอย่างไม่เป็นธรรม ทางสำนักราชวังจึงสร้างศาลเจ้า คิตาโนะเท็มมังงู ขึ้นเพื่อสถิตวิญญาณของมิจิซะเนะ อีกทั้งยังคืนตำแหน่งทั้งหมดให้หลังจากการเสียชีวิตแล้ว และลบล้างประวัติการโดนเนรเทศทิ้งไป ซุกะวาระ โนะ มิจิซะเนะ ได้รับการยกย่องให้เป็น เท็นจินซามะ หรือ เทพแห่งการศึกษา ปัจจุบันมีศาลเจ้าในลัทธิชินโตมากมาย ที่อุทิศแด่เขา [4]
ตัวละครหลักในบท
[แก้]- เก็นจิ : อายุ 26 ถึง 27
- ฮะนะจิรุซะโตะ : น้องสาวของอดีตพระชายาตำหนักเรเค หนึ่งในคนรักของเก็นจิ
- ฟุจิตสึโบะ : อดีตจักรพรรดินีในองค์จักรพรรดิคิริสึโบะอิน
- ยูงิริ : บุตรชายของเก็นจิ อายุ 5 ถึง 6 ปี
- อดีตสะไดจิน : เสนาบดีฝ่ายซ้าย พ่อตาของเก็นจิ ลาออกจากตำแหน่งเมื่ออายุ 59 ขณะที่เก็นจิอายุ 25 ปัจจุบันอายุ 60 ถึง 61
- โทโนะจูโจ : ได้รับตำแหน่ง ซังงิ- ขุนนางขั้น 4 ศักดินา ครึ่งโจ - 1 โจ( 町) คือกรรมสิทธิในที่ดินประมาณ 14,400 ตารางเมตร) สหายสนิทและพี่ชายภรรยาที่เสียชีวิตไปแล้วของเก็นจิ
- จูนะกอน : นางกำนัลของอดีตสะไดจิน
- องค์หญิงโอมิยะ : มารดาของโทโนะจูโจ และ อะโอะอิ ภรรยาของอดีตสะไดจิน
- ไซโช : พี่เลี้ยงของยูงิริ
- วิญญาณขององค์จักรพรรดิคิริสึโบะอิน ผู้วายชนม์
- องค์ชายโฮะตะรุหรือโซะจิ : น้องชายต่างมารดาของเก็นจิ ดำรงตำแหน่งพระอุปราช
- อดีตพระชายาตำหนักเรเค
- โชนะกอน : พี่เลี้ยงชองมุระซะกิ
- โอะโบะโระซึกิโยะ : ธิดาคนที่ 6 ของอุไดจิน นางในราชสำนักตำแหน่งไนชิโนะคะมิ(นางสนองพระโอษฐ์ ) อีกนัยหนึ่งคือพระสนมของ จักรพรรดิสุซะคุ
- โอเมียวบุ : นางกำนัลของฟุจิตสึโบะ
- องค์รัชทายาท : โอรสของฟุจิตสึโบะ ( บุตรชายลับๆของเก็นจิ )อายุ 8 ถึง 9 ปี
- โยะชิคิโยะ : ผู้ติดตามของเก็นจิ เป็นบุตรชายของเจ้าเมืองเมืองฮาริมะ
- เจ้าเมืองเซ็ตสึ : หนึ่งในผู้ติดตามของเก็นจิ
- อดีตพระชายาแห่งโระคุโจ ( โระคุโจโนะมิยะสุโดะโคะโระ ) : อายุ 33 ถึง 34
- อุไดจิน : เสนาบดีฝ่ายขวา ตาของจักรพรรดิสุซะคุ บิดาของพระราชชนนีโคกิเด็ง และ โอะโบะโระซึกิโยะ
- จักรพรรดิสุซะคุ : พระชนมายุ 28 ถึง 29
- โคะเระมิตสึ : คนสนิท และพี่น้องร่วมแม่นมเดียวกับเก็นจิ
- นักบวชแห่งอะคะชิ : อายุ 59 ถึง 60
- อะคะชิโนะคิมิ : บุตรีของนักบวชแห่งอะคะชิ อายุ 17 ถึง 18
- มารดาของอะคะชิโนะคิมิ : อายุต้น 50
เรื่องย่อ
[แก้]เรื่องอื้อฉาวระหว่างเก็นจิกับโอะโบะโระซึกิโยะ นำเก็นจิมาสู่สถานการ์อันเลวร้าย และมีทีท่าว่าเขาจะต้องถูกเนรเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงการลงทัณฑ์ที่หนักหนาไปยิ่งกว่านี้ เก็นจิจึงคิดเนรเทศตัวเองไปที่หาดสุมะในเดือนมีนาคม ก่อนออกเดินทาง เขาไปเยี่ยมพ่อตาในตอนกลางคืนด้วยเกี้ยวอันต่ำต้อยสานด้วยเปลือกสนหยาบๆ เพื่อไม่ให้ฝ่ายตรงข้าม พระชนนีโคกิเด็ง ผิดสังเกต เก็นจิสนทนากับพ่อตาและโทโนะจูโจเรื่องความหลัง และคร่ำครวญกับความอนิจจังของชีวิต ลูกชายตัวน้อย ยูงิริ ทำให้พวกเขาต้องหลั่งน้ำตา เขาค้างคืนกับจูนะกอน นางกำนัลคนหนึ่งของพ่อตา ยามพระจันทร์ตกเมื่อรุ่งสาง เขาตื่นนอนและนั่งพิงราวระเบียง ชมดอกซะกุระร่วงโปรย จูนะกอนตามมาส่งเขาที่ประตู
โทโนะจูโจและองค์ชายโฮะตะรุน้องชายต่างมารดาของเก็นจิ เดินทางมาพบ เก็นจินั้นไร้ยศถาบรรดาศักดิ์แล้ว เขาจึงเปลี่ยนมาแต่งกายด้วยชุดผ้าไหมเรียบๆไม่มีลวดลาย เขามองกระจกหวีผมและพบว่าตัวเองซูบลงไปมาก แม้จะซูบลงแต่กลับขับความงามของเก็นจิให้เพิ่มพูน มุระซะกิ นั่งแอบอยู่หลังเสาเรือน เฝ้ามองเขาด้วยน้ำตา เก็นจิมองไม่เห็นดวงหน้าเปื้อนนำตาของนาง เขากล่าวกับนางว่า
ข้าจำต้องเนรเทศตัวเองไปแสนไกล แต่เงาของข้ายังคงอยู่ในกระจกเพื่ออยู่เคียงข้างเจ้า
องค์ชายโฮะตะรุลากลับไปตอนค่ำคืน
คืนก่อนการเดินทาง ก่อนเก็นจิจะไปกราบไหว้หลุมฝังพระศพของพระบิดาในคิตะยะมะ เขาไปพบอดีตจักรพรรดินีฟุจิตสึโบะ ดวงจันทร์ลอยสูงบนท้องฟ้า เขาเริ่มออกเดินทางบนหลังม้าพร้อมผู้ติดตามเพียง 5-6 คน ระหว่างทางเขาหยุดเพื่อสักการะศาลเจ้าชิโมะคะโมะ พงหญ้ารกร้างขึ้นสูงระหว่างทางสู่สุสาน อีกทั้งยังเป็นป่าทึบ เก็นจิครำครวญกับหลุมพระศพว่า คำสั่งเสียขององค์คิริสึโบะอินได้ถุกละเมิดแล้ว ทันใดนั้น ดวงจันทร์พลันโดนเมฆบังจนมืดมิด ร่างขององค์คิริสึโบะอินปรากฏขึ้นให้เก็นจิเห็นราวกับยังมีพระชนม์ชีพอยู่
เก็นจิออกเดินทางสู่สะมะในยามมืด เขาแต่งกายด้วยชุดล่าสัตว์อย่างหยาบ เมื่อเดินทางถึง ฟุชิมิ พวกเขาเปลี่ยนจากการเดินทางทางบก ไปลงเรือที่แม่นำโยะโดะ สู่นะนิวะ ใช้เวาลจากเกียวโต 1 วันถึงนะนิวะ วันต่อมา เขาเริ่มเดินทางสู่เขตสุมะ เก็นจิคิดถึงมุระซะกิมาก เนื่องจากไม่เคยเดินทางไกลจากเมืองหลวงขนาดนี้มาก่อน ทัวทัศนะและสิ่งต่างๆระหว่างการเดินทางล้วนเป็นประสบการณ์แปลกใหม่ กระแสลมที่พอเหมาะ พาเขาสู่สุมะในประมาณตี 4 ของวันที่สองของการเดินทาง
บ้านหลังใหม่ของเขาอยู่ไม่ห่างจากที่ๆ อะริวะระ นะริฮิระ เคยอาศัยอยู่ ห่างไกลจากชายหาดเพียงนิดเดียว ในเขตภูเขาเปล่าเปลี่ยว รั้วและหลังคาทำจากหญ้าและไม้ไผ่ โยะชิคิโยะ ผู้ติดตามคนสนิท มอบหมายให้คนท้องถิ่นดูแลทำงานที่จำเป็นต่างๆ ตัวเขาเองเฝ้ารับใช้เรื่องเล็กๆน้อยๆจิปาถะ
ณ หาดสุมะ สายลมที่แห่งเศร้าสร้อยพัดโบก ในสวนมีดอกไม้บานดาษดา เก็นจิมองเห็นทิวทัศน์ชายทะเลจากโถงทางเดินอย่างชัดเจน เขาสวมชุดสีเข้มเรียบง่าย อุทิศตนให้พระศาสนา พร่ำบ่นสวดมนต์ ช่างเป็นภาพที่งดงามจนน่ากลัว แว่วเสียงชาวประมงร้องเพลงจากชายฝั่ง นกทะเลโผบินเหนือทะเลอันอ้างว้าง เก็นจิเช็ดน้ำตาเมือได้ยินเสียงห่านฟ้ากระพือปีกอยู่เหนือศีรษะช่างคล้ายเสียงกรรเชียงเรือ ภาพของมืองดงามเก็นจิที่ถือลูกประคำสีเข้มนั้นงดงามจนทำให้คนของเขาค่อยคลายทุกข์จากการพลัดพรากจากครอบครัว ยามนอนฟังเสียงลมและคลื่นทะเล เก็นจิไม่อาจข่มกลั้นหยาดน้ำตาได้ หลายคืนที่ไม่อาจข่มตาหลับ เขาลุกขึ้นมาเล่นโกะโตะ ยามกลางวันเขาแต่งบทกวีและวาดภาพเพื่อลืมเลือนความเจ็บปวด
พระราชชนนีโคกิเด็งมีคำสั่งห้ามทุกคนเขียนสาส์นถึงเก็นจิ เก็นจิต้องมีวันเวลาอันยากจะทน เห็นเห็นควันลอยมา คงจะเป็นควันจากการทำเกลือ ที่จริงแล้วเป็นควันจากการเผากิ่งไม้ เขารู้สึกอดสูที่จำต้องมาใช้ชีวิตท่ามกลางเหล่าไพร่
แม้พระชนนีโคกิเด็งผู้ทรงอำนาจจะสั่งห้ามข้าราชสำนักติดต่อกับเก็นจิ ทว่า โทโนะจูโจ สหายรักของเขาฝ่าบัญชาโดยไม่เกรงอาญาแผ่นดิน เดินทางไปเยี่ยมเก็นจิถึงหาดสุมะ ทั้งสองพบกันอีกหลังจากไม่ได้เจอกันนาน ต่างดื่มสุราพลางสนทนากันอย่างมีความสุข
ในยามมะเส็งของเดือน 3 เป็นวันดีในการปัดเป่าความวิตกกังวล เก็นจิเรียกพระมาปัดรังควาน เมื่อเก็นจิลอยตุ๊กตาลอยเคราะห์ลงแม่น้ำ เขามองเห็นตุ๊กตาเป็นตัวเอง จึงวิงวอนต่อสวรรค์ว่า ไยคนที่ไร้ความผิดเช่นเขาต้องโดนลงโทษ ทันใดนั้นท้องฟ้าก็เกิดอาเพศมืดมัว เกิดฟ้าแลบฟ้าร้องและพายุฝนฟ้าคะนองโหมกระหน่ำไม่ยอมหยุด ในคืนหนึ่ง เก็นจิฝันว่า ราชามังกรเชิญเขาไปเป็นเขยขวัญที่ตำหนักใต้สมุทร เหตุใดเขาถึงไม่ไป ความฝันนี้ทำให้เก็นจิตื่นตระหนกมาก[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ " Suma-ku, Kobe". วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ.
- ↑ " Ariwara no Yukihira". วิกีพีเดียภาษาอังกฤษ.
- ↑ " Ariwara no Yukihira" เก็บถาวร 2007-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. the Japan 2001 Waka Website .
- ↑ "Sugawara no Michizane". วิกีพีเดียภาษาอังกฤษ.
- ↑ "สุมะ" เก็บถาวร 2009-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.The Tale of Genji .Unesco Global Heritage Pavilion.