ข้ามไปเนื้อหา

ซิมโฟนีหมายเลข 9 (เบทโฮเฟิน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน:
ซิมโฟนีหมายเลข 9
ในบันไดเสียง ดี ไมเนอร์ โอปุส 125 *
  ความทรงจำแห่งโลกโดยยูเนสโก
โน้ตดนตรีต้นฉบับของเบทโฮเฟิน
ที่เก็บรักษาหอสมุดแห่งรัฐ เบอร์ลิน,
บ้านเบทโฮเฟิน,
หอจดหมายเหตุการแพร่สัญญาณเยอรมัน
ประเทศ เยอรมนี
ภูมิภาค **ยุโรปและอเมริกาเหนือ
อ้างอิง[1]
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2001/2544
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีความทรงจำแห่งโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ซิมโฟนีหมายเลข 9 ในบันไดเสียง ดี ไมเนอร์ (เยอรมัน: 9. Sinfonie in d-Moll) ของลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน รู้จักกันในชื่อ คอรัลซิมโฟนี (อังกฤษ: Choral Symphony) เป็นผลงานซิมโฟนีชิ้นสุดท้ายที่เบทโฮเฟินแต่งได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ เริ่มแต่งเมื่อราว ค.ศ. 1818 แล้วเสร็จออกแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1824 ที่เวียนนา ในแค็ตตาล็อกผลงานของเบทโฮเฟินระบุหมายเลขโอปุส 125 (Opus 125) ถูกใช้เป็นเพลงประจำสหภาพยุโรปมาตั้งแต่ ค.ศ. 1993[1][2] และสภายุโรป[3] ตั้งแต่ ค.ศ. 1972[4]

คอรัลซิมโฟนีเป็นผลงานที่ใช้เสียงร้องเป็นส่วนหนึ่งของดนตรี โดยในมูฟเมนต์ที่ 4 ใช้เสียงนักร้องโซโล 4 คน ประกอบกับการร้องประสานเสียง คำร้องที่ใช้นำมาจากโคลงภาษาเยอรมัน Ode an die Freude ("Ode to Joy") ของฟรีดริช ชิลเลอร์

ซิมโฟนีบทนี้แบ่งออกเป็น 4 ท่อน ได้แก่

  • I. Allegro ma non troppo, un poco maestoso
  • II. Scherzo: Molto vivace - Presto
  • III. Adagio molto e cantabile - Andante Moderato - Tempo Primo - Andante Moderato - Adagio - Lo Stesso Tempo
  • IV. Presto; Allegro molto assai (Alla marcia); Andante maestoso; Allegro energico, sempre ben marcato

อ้างอิง

[แก้]
  1. EUROPA - The EU at a glance - The European Anthem
  2. Emblemes Council of Europe
  3. http://www.coe.int/t/dgal/dit/ilcd/Historical_Content/hymn/kalergi1.pdf Letter to Paul Levy, 3 August 1955
  4. "The European Anthem". Europa.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]