ซิมโฟนีหมายเลข 3 (เบทโฮเฟิน)
ซิมโฟนีหมายเลข 3 ในบันไดเสียง อี แฟลต เมเจอร์ (อังกฤษ: Symphony No. 3 in E flat major) ของลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน รู้จักกันในชื่อ อีรอยกา ซิมโฟนี (Eroica Symphony; Eroica มาจากภาษาอิตาลี หมายถึง "heroic", วีรบุรุษ) เป็นผลงานซิมโฟนีของเบทโฮเฟินที่บางครั้งถูกอ้างถึงว่าเป็นจุดสิ้นสุดของดนตรียุคคลาสสิก และเป็นจุดเริ่มต้นของดนตรียุคโรแมนติก [ต้องการอ้างอิง]
เบทโฮเฟินเริ่มแต่งซิมโฟนีบทนี้ด้วยความเลื่อมใสในตัวนโปเลียน โบนาปาร์ต (1769-1821) ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เดิมเมื่อเริ่มแต่ง เขาอุทิศผลงานชิ้นนี้ให้กับนโปเลียน พร้อมกับตั้งชื่อให้ว่า Bonaparte เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 1803 แล้วเสร็จเมื่อต้นปี ค.ศ. 1804
ต่อมาเมื่อนโปเลียนสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิ พระนามว่า จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1804 เบทโฮเฟินผิดหวังในความมักใหญ่ใฝ่สูงของนโปเลียน ถึงกับใช้มีดกรีดกระดาษโน้ตเพลงต้นฉบับเพื่อขูดชื่อโบนาปาร์ตออก จนทำให้ต้นฉบับเป็นรอยฉีกขาด [1] เบทโฮเฟินได้เปลี่ยนชื่อซิมโฟนีบทนี้เป็น Sinfonia eroica, composta per festeggiare il sovvenire d'un grand'uomo ("heroic symphony, composed to celebrate the memory of a great man") หรือเรียกสั้นๆ ว่า Sinfonia eroica [2]
ซิมโฟนีบทนี้ออกบรรเลงครั้งแรกเป็นการภายในต่อเจ้าชายล็อพโควิทซ์ ผู้อุปถัมภ์เบทโฮเฟิน และแสดงรอบปฐมทัศน์ที่ Theater an der Wien กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1805
ซิมโฟนีบทนี้แบ่งออกเป็น 4 ท่อน ได้แก่
- I. Allegro con brio
- II. Marcia funebre: Adagio assai in C minor
- III. Scherzo: Allegro vivace
- IV. Finale: Allegro molto
มูฟเมนต์ที่ 2 มีชื่อเรียกว่า funeral march นิยมใช้บรรเลงในงานศพ หรืองานรำลึกถึงบุคคลที่เสียชีวิต เช่นในงานศพของเฟลิคส์ เม็นเดิลส์โซน [3]. พิธีรำลึกถึงตัวอาตูโร ตอสกานินี [4] แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ [5] และพิธีรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากโศกนาฏกรรมที่มิวนิกในช่วงโอลิมปิกฤดูร้อน 1972
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Steinberg, Michael. "The Symphony: a listeners guide". p. 12. Oxford University Press, 1995.
- ↑ Eroica, Napoleon Series.
- ↑ Wilfrid Blunt, On Wings of Song, a biography of Felix Mendelssohn, London 1974.
- ↑ "Music and Arts". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-08. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
- ↑ "American Heritage". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-02. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ฟังผลงาน Symphony No.3 in E flat major Op.55 ที่ มิวโซเพน
- Program notes for the San Francisco Symphony (Ries anecdote) เก็บถาวร 2008-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Complete Eroica Discography
- A site about Eroica. เก็บถาวร 2010-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Full Score of Beethoven's Third Symphony.
- Program notes for the Philadelphia Orchestra.
- โน้ตเพลงเสรีของ Symphony No. 3 ที่โครงการห้องสมุดดนตรีนานาชาติ (IMSLP)
- Lists of live performances at Bachtrack
- บันเทิง:
- Eroica website from SF Symphony's 'Keeping Score' with Analysis, Background and Commentary by Michael Tilson Thomas (needs Flash).
- Discovering Music, BBC Radio 3. Videos of an analysis and complete performance of the symphony. The analysis is by Stephen Johnson and the symphony is performed by the BBC National Orchestra of Wales, under Christophe Mangou. Listening notes for the symphony are also available here.