ซน กี-จ็อง
ซน กี-จ็อง ใน ค.ศ. 1936 | ||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อพื้นเมือง | 손기정 | |||||||||||
สัญชาติ | ญี่ปุ่น (ต่อมาเกาหลีใต้) | |||||||||||
เกิด | 29 สิงหาคม ค.ศ. 1912 ชินอึยจู เฮอังโฮกูโด โชเซ็ง ประเทศญี่ปุ่น (ปัจจุบัน ชินอึยจู ประเทศเกาหลีเหนือ) | |||||||||||
เสียชีวิต | 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 โซล ประเทศเกาหลีใต้ | (90 ปี)|||||||||||
ส่วนสูง | 1.70 m (5 ft 7 in) | |||||||||||
น้ำหนัก | 60 kg (132 lb) | |||||||||||
ชื่อเกาหลี | ||||||||||||
ฮันกึล | ||||||||||||
ฮันจา | ||||||||||||
อาร์อาร์ | Son Gijeong | |||||||||||
เอ็มอาร์ | Son Kijŏng | |||||||||||
กีฬา | ||||||||||||
กีฬา | กรีฑา | |||||||||||
กำลังฝึกสอน | ฮัม กี-ย็อง, ซู ยุน-บ็อก | |||||||||||
รายการที่ประสบความสำเร็จ | ||||||||||||
รอบชิงชนะเลิศ โอลิมปิก |
| |||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
|
ซน กี-จ็อง (เกาหลี: 손기정, Sohn Kee-chung; เสียงอ่านภาษาเกาหลี: /son.kidʑʌŋ/; 29 สิงหาคม ค.ศ. 1912[1][2] – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002) เป็นนักกีฬาโอลิมปิกและนักวิ่งทางไกล เขาเป็นชาวเกาหลีชาติพันธุ์ที่ได้รับเหรียญในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนคนแรก โดยได้รับเหรียญทองในกีฬามาราธอนที่โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เขาเป็นชาวเกาหลี แต่ต้องแข่งขันในฐานะผู้แทนประเทศญี่ปุ่น เพราะ ณ ขณะนั้น ประเทศเกาหลีตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของญี่ปุ่น[3] โดยใช้ชื่อญี่ปุ่น คิเต ซง[3][4] ซนตั้งสถิติการแข่งขันมาราธอนโอลิมปิกใหม่ที่เวลา 2 ชั่วโมง 29 นาที 19.2 วินาที[4]
เขาได้รับหมวกคอรินเทียนที่สร้างขึ้นเมื่อ 8 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ จากการชนะการแข่งขันมาราธอน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการโอลิมปิกสากลเชื่อว่า การมอบรางวัลอันทรงคุณค่าแก่เขาอาจละเมิดกฎนักกีฬาสมัครเล่น หมวกคอรินเทียนถูกวางไว้ที่พิพิธภัณฑ์รัฐเบอร์ลินเป็นระยะเวลา 50 ปี จากนั้นจึงส่งมอบแก่ซนใน ค.ศ. 1986[5][6] ซนบริจาคหมวกให้พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเกาหลีซึ่งเป็นสมบัติแห่งชาติลำดับที่ 904 และสมบัติแห่งชาติเกาหลีจากตะวันตกเพียงหนึ่งเดียว[7] ในการแข่งขันมาราธอน ซน กี-จ็อง ค.ศ. 2006 มีแผนที่จะมอบหมวกจำลองเป็นรางวัลแก่ผู้ชนะ[8] แต่พวกเขาได้รับโอกาสเพียงแค่สวมมันเท่านั้น[9]
ซนใช้ชีวิตที่เหลือจากอาชีพของเขาที่ประเทศเกาหลีใต้โดยฝึกสอนนักวิ่งที่มีชื่อเสียงอย่าง ซู ยุน-บ็อก ผู้ชนะการแข่งขันบอสตันมาราธอน ค.ศ. 1947[3] ฮัม กี-ย็อง ผู้ชนะการแข่งขันเดียวกันใน ค.ศ. 1950 และ ฮวัง ย็อง-โจ ผู้ชนะเหรียญทองการแข่งขันมาราธอนโอลิมปิกฤดูร้อน 1992 ซึ่งซนเดินทางไปถึงบาร์เซโลนาเพื่อเข้าชมการแข่งขันของเขา ต่อมาซนเป็นประธานคณะกรรมการโอลิมปิกและกีฬาเกาหลี ที่โอลิมปิกฤดูร้อน 1988 ในกรุงโซล เขาได้รับเกียรติให้ถือเพลิงโอลิมปิกในสนามกีฬาระหว่างพิธีเปิดงาน[3][10]
ซนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 ด้วยอายุ 90 ปี จากปอดบวม ร่างของเขาฝังอยู่ที่สุสานแห่งชาติแทจ็อง สวนสาธารณะรำลึก ซน กี-จ็อง ถูกสร้างขึ้นในโซลเพื่อให้เกียรติแก่เขา[10] หลังการเสียชีวิต เขาได้รับเหรียญราชอิสริยาภรณ์กีฬาชั้นประถมาภรณ์ (Grand Cordon)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lewis, Mike (November 29, 2002). "Sohn Kee-chung: Korean athlete whose Olympic protest made him a national hero". The Guardian. สืบค้นเมื่อ April 24, 2013.
- ↑ "World Marathon Rankings for 1935". Association of Road Racing Statisticians. September 20, 2009. สืบค้นเมื่อ November 15, 2010.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Son Gi-Jeong. www.sports-reference.com
- ↑ 4.0 4.1 Longman, Jeré (November 14, 2009). "Korean Olympic Hero Championed Liberty". The New York Times. สืบค้นเมื่อ July 27, 2021.
- ↑ James Markham (August 18, 1986). "GERMANS LOOK BACK, GINGERLY, TO THE '36 GAMES". New York Times.
- ↑ Marathon Winner in '36 Berlin Games Will Be Given Prize—50 Years Late. Reuters. August 10, 1986
- ↑ "Ancient Greek Bronze Helmet". National Museum of Korea. สืบค้นเมื่อ 2020-04-28.
- ↑ "손기정 평화마라톤 우승자에 '청동투구' 수여 (Korean)". The Hankyoreh. September 20, 2006.
- ↑ "'손기정 평화마라톤' 임진각서 열려 (Korean)". Media Daum/Yonhap News Agency. November 11, 2006.
- ↑ 10.0 10.1 "Sohn Kee-chung". Korea Times. สืบค้นเมื่อ November 4, 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | ซน กี-จ็อง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สถิติ | ||||
ยาซูโอะ อิเกนากะ | ผู้ถือตำแหน่งสถิติโลกมาราธอนชาย (3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1935 – 19 เมษายน ค.ศ. 1947) |
ซู ยุน-บ็อก | ||
ราเฟอร์ จอห์นสัน | ผู้ถือคบเพลิงโอลิมปิกฤดูร้อน ร่วมกับ ช็อง ซุน-มัน และ คิม ว็อน-ตัก (โซล 1988) |
อันโตนิโอ เรโบโล |