ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ
ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ | |
---|---|
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงมหาดไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2566 | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2537–2539) ความหวังใหม่ (2539–2543) ไทยรักไทย (2543–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ หรือชื่อที่สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า ชูวิทย์ กุ่ย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต 7 สังกัดพรรคเพื่อไทย เจ้าของธุรกิจสวนเสือตระการ[2] ประธานสโมสรฟุตบอลอุบล ไทเกอร์ และเขาเป็นอดีตแกนนำกลุ่มชักธงรบของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ในจังหวัดอุบลราชธานี
ประวัติ
[แก้]ชูวิทย์ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ที่อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี[3] เป็นบุตรนายคิมหมง นางเสี่ยมเค็ง แซ่เต็ง ด้านครอบครัวสมรสกับนางจันทนา พิทักษ์พรพัลลภ มีบุตร 2 คน ได้แก่นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี และนางสาวสุชาวดี พิทักษ์พรพัลลภ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การตลาด[4]
สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) วิชาเอกอุตสาหกรรมศิลป์ จากวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
การทำงาน
[แก้]เขาประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว เจ้าของสวนเสือตระการ กระทั่งในปี พ.ศ. 2538 จึงได้เข้ามาสู่งานการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และในปี พ.ศ. 2544 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย, พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย (ตามลำดับ)
เขาเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง ได้แก่ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (เสนาะ เทียนทอง) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ชูชีพ หาญสวัสดิ์) รองประธานกรรมาธิการติดตามงบประมาณ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ทำหน้าที่เลขานุการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์) และในปี พ.ศ. 2545 เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์)
เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการปกครองส่วนท้องถิ่นในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24
เขาเป็นหนึ่งในผู้ที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินออกหมายเรียกเนื่องจากอาจมีส่วนรู้เห็นกับการเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากเป็นแกนนำของกลุ่มร่วมกับสุพล ฟองงาม แต่ท้ายที่สุดก็ได้มีการตัดสินคดีลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมาย[5] โดยมิได้เกี่ยวข้องกับเขาแต่อย่างใด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มติครม. แต่งตั้งพรึบ ชัยเกษม-สงคราม ไขก๊อกส.ส. รับที่ปรึกษานายกฯ มีชื่อนิพัทธ์-พิชัย
- ↑ สวนเสือตระการ
- ↑ https://hris.parliament.go.th/ss_detail.php?sapa_id=82&ssp_id=21125&lang=th
- ↑ สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 27 กุมภาพันธ์ 2567
- ↑ แดงเผาศาลากลาง โทษหนัก ศาลฎีกาให้ประหาร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2506
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋ว
- บุคคลจากอำเภอตระการพืชผล
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี