ชูกัน กุลวงษา
ชูกัน กุลวงษา | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | ชวลิต วิชยสุทธิ์ |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
ก่อนหน้า | ไพจิต ศรีวรขาน อลงกต มณีกาศ |
ถัดไป | ชวลิต วิชยสุทธิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 มกราคม พ.ศ. 2500 |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2550–2561) พลังประชารัฐ (2561–2564) ภูมิใจไทย (2564–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | หัน กุลวงษา |
บุตร | 3 |
ชูกัน กุลวงษา (เกิด 15 มกราคม พ.ศ. 2500) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม เขต 4 สังกัดพรรคภูมิใจไทย และรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม[1]
ประวัติ
[แก้]ชูกัน กุลวงษา เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2500 เป็นบุตรของนายเกาะ และนางชาลี กุลวงษา มีพี่น้อง 4 คน สมรสกับนางหัน มีบุตร 3 คน
งานการเมือง
[แก้]เริ่มเข้าสู่วงการการเมืองจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม ตามลำดับ
ต่อมา พ.ศ. 2554 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนมเป็นครั้งแรก สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับการเลือกตั้ง โดยเอาชนะนายอลงกต มณีกาศ อดีต ส.ส. จากพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน นายชูกันเป็นที่รู้จักในนาม"นักการเมืองคนยาก"[2]
ใน พ.ศ. 2561 ชูกันได้ย้ายจากพรรคเพื่อไทยมาสังกัด พรรคพลังประชารัฐ เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครพนมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3]
ใน พ.ศ. 2566 ชูกันได้ย้ายจากพลังประชารัฐมาสังกัด พรรคภูมิใจไทย เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครพนมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 และได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม เขต 4
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ชูกัน กุลวงษา ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคภูมิใจไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ “ชูกัน” ยันไม่ลาออก รองนายกอบจ.นครพนม ขอทำงานคู่ขนานกับการสร้างฐาน ภูมิใจไทย
- ↑ ญาติมิตรคนใกล้ชิด แสดงความยินดีต่อ ว่าที่ ส.ส. เขต4 นครพนม พรรคเพื่อไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นายชูกัน กุลวงษา เก็บถาวร 2018-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายชูกัน กุลวงษา), ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง