ชุมาทิ
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ชุมาทิ | |
---|---|
เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์[1] | |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ครามเทวดา กุลเทวดา เทพารักษ์ รุกขเทวดา |
ที่ประทับ | มนุษย์โลก |
อาวุธ | พระขรรค์ ระฆัง (ฆัณทา) |
พาหนะ | สิงโต |
คัมภีร์ | วิญญาณนิยมพราหมณ์ ฮินดู ศาสนาพื้นบ้านพราหมณ์ ฮินดู ศาสนาท้องถิ่นพราหมณ์ ฮินดู |
ชุมาทิ (กันนาดา: ಜುಮಾದಿ) เป็นเทพเจ้ากะเทยหรือมีทั้งสองเพศรวมกัน ทรงมีลักษณะความเป็นเพศชายและเพศหญิงรวมกัน หรือไม่แสดงออกทางเพศตามแบบแผนในศาสนาฮินดู โดยพระองค์ทรงพระพักตร์เป็นเพศชาย แต่ทรงมีปทุมถันอย่างเช่นเพศหญิง และพระองค์มักได้การอัญเชิญเข้าทรงจากบรรดาม้าทรงของรัฐกรณาฏกะ ในอินเดียภาคใต้[2]
พระองค์เป็นเทพจำพวกในคติท้องถิ่นฮินดูที่ได้รับการสักการะบูชาในแถบ พุตโกฬ (Buta Kola) ในรัฐกรณาฏกะในอินเดียภาคใต้ และถูกรวมรวมกับศาสนาฮินดูตามคติพหุเทวนิยมในฐานะอวตารกำลังของพระอรรธนารีศวร โดยทั่วไปชุมาทิถือเป็นเทพยดาอันชนในแถบนี้อัญเชิญมาแต่แห่งสรวงสวรรค์ที่เสด็จลงมายังภูมิภาคตูลูนาฑู (Tulunadu) เพื่ออุปถัมป์ค้ำจุนเกื้อหนุนนแก่บรรดาชนทั้งหลาย[3]
ตำนานต่าง ๆ ที่แพร่หลายในภูมิภาคนี้กล่าวถึงเทพปกรณัมต่าง ๆ ของพระองค์และการก่อตั้งลัทธิของตนท่ามกลางชุมชนพุนต์ (Bunt community)ที่มีอิทธิพล ลัทธิของเทพองค์นี้ได้รับการเชิดชูยิ่งขึ้นจากการบูชาที่ได้รับจากราชวงศ์โจว์ตา (Chowta) ของมูทพิทริ (Moodabidri) โดยได้รับการสถาปนาเซ่นสรวงและรับการประดิษฐานภายในเทวาลัยของพระราชวังโจวตรอารามเน (Chowtara Aramane Palace)[4]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://kannada.oneindia.com/news/udupi/rishabh-shetty-believes-in-neelkanta-maha-babbu-swamy-daiva-located-in-udupi-272772.html
- ↑ https://ommeodinodi.wordpress.com/2015/01/15/%E0%B2%AD%E0%B3%82%E0%B2%A4%E0%B2%BE%E0%B2%B0%E0%B2%BE%E0%B2%A7%E0%B2%A8%E0%B3%86/
- ↑ Kamila, Raviprasad. "Kantheri Jumadi pad-dana in English". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 5 October 2017.
- ↑ Brückner, Heidrun (2009). On an Auspicious Day, at Dawn: Studies in Tulu Culture and Oral Literature. Otto Harrassowitz Verlag. p. 67. ISBN 978-3-447-05916-9. สืบค้นเมื่อ 2011-12-29.